- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๒๗ เห็นจะเปนฉบับที่แก้แล้วมีไป)
(๒๗ เห็นจะเปนฉบับที่แก้แล้วมีไป) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจำเริญไมตรีมาแจ้งแต่พระเจ้ากรุงเวียดนาม ด้วยองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรให้กองทัพล่วงด่านแดนเข้าไปจะตีเมืองปัตบอง พระยาพระเขมรณเมืองปัตบอง กับข้าหลวงไทยได้ห้ามปรามหลายครั้งก็มิฟัง พระยาอภัยภูเบศรบอกเข้าไปยังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับหัวเมืองซึ่งอยู่ใกล้ เจ้าเมืองกรมการรู้ต้องยกมาเปนหลายเมือง กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา แจ้งความมีวิตกจึงให้พระยารองเมืองออกมาห้ามปรามดูผิดแลชอบ กองทัพไทยซึ่งออกมานั้นยังมิทันถึงเมืองปัตบอง เกิดรบพุ่งกันขึ้นก่อน ผู้คนล้มตายทั้งสองฝ่ายมิควรเลย กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาคิดว่าทางพระราชไมตรีกรุงเวียดนาม กับกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานี้ เหมือนกับภูเขาอันใหญ่มิได้หวาดไหวมั่นคงนัก ยากที่ผู้ใดจะรื้อถอนทำลายได้ ถ้าวงษ์ทั้งสองยังจำเริญอยู่ ไมตรีทั้งสองพระนครก็ยังมิได้ขาด ศุขทุกข์สิ่งใดจะได้พึ่งกัน กรุงพระมหานครศรีอยุทธยายังเปนแผ่นดินใหม่ กับพม่าก็ยังทำศึกกันอยู่ แผ่นดินกรุงเวียดนามสิ้นเสี้ยนหนามราบคาบอยู่แล้ว ผู้คนเหลือใช้เสียอิก เมืองเขมรนิดหนึ่งเท่านี้ องค์จันทร์เล่าเปนเด็กจะขัดได้ฤๅ คิดว่าจะรักใคร่ช่วยทำนุบำรุงกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาบ้าง จึงวางพระไทยมา กรุงเวียดนามผ่อนตามใจองค์จันทร์อยู่ บัดนี้องค์จันทร์กลับมาตีเมืองปัตบองอิกเล่า ใช่ว่าเมืองปัตบอง เมืองเสียมราฐ เมืองสวายจิก สามเมืองนี้จะเกี่ยวข้องในองค์จันทร์ ได้ว่ากล่าวเหมือนเมืองเขมรทั้งปวงก็หาไม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จัดแจงเศกองค์เองออกมาครองเมืองกัมพูชา ยกเอาพระยาอภัยภูเบศรเข้าไปอยู่ณเมืองปัตบอง ได้ปันเขตรแดนให้ขึ้นกับกรุงเด็ดขาดแล้ว กรุงเวียดนามก็รู้อยู่ เจ้าเมืองเขมรก็เปนข้าพึ่งสองพระมหานครอันใหญ่ องค์ทวายก็มาอยู่ดูผิดแลชอบ องค์จันทร์บังอาจทำล่วงเกินถึงเพียงนี้ เห็นผิดด้วยกันทั้งแผ่นดิน ซึ่งองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรอันน้อย บังอาจทำดังนี้หมายใจแต่จะให้กรุงเวียดนามรับเอาวิวาท จะทำให้ไมตรีสองกรุงใหญ่ร้าวฉานเสีย ถ้ากรุงเวียดนาม ยังคิดถึงทางพระราชไมตรี มีความรักใครในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาอยู่ องค์จันทร์ยังเปนดังนี้ จะให้กรุงพระนครศรีอยุทธยาผ่อนปรนประการใด ก็ให้ดำริห์ดูเถิด อนึ่งมอญมัตะมะขบถต่อใอ้พม่ายกครอบครัวหนีมา ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา แจ้งความว่าเจ้าอังวะแต่งทูตให้ถือราชสาส์น มายังกรุงเวียดนาม ความซึ่งมอญว่าข้อนี้เท็จจริงประการใด กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจะใคร่แจ้งความ อนึ่งแต่เมืองเขมรเกิดความมาจนทุกวันนี้ หาเหมือนแต่ก่อนไม่ ล่ำฦๅว่าญวนจะไปตีเมืองไทยไทยจะมาตีเมืองญวน พูดจาต่าง ๆ กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาก็มิได้เชื่อ อันกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานี้ แต่ที่จะคิดเบียดเบียฬขอบขันธเสมากรุงเวียดนามนั้นหาไม่ ถึงกรุงเวียดนามจะไม่รักใคร่ในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเลย แต่มิได้ทำสิ่งใดแล้ว กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ก็คงจะรักษาสุจริตอยู่ มิให้นา ๆ ประเทศล่วงติเตียนได้ แลการทั้งปวงนี้ ครั้นจะไม่แจ้งความมา เหมือนมีรังเกยจแก่กัน จึงแจ้งความมาจะได้เห็นความจริง รู้น้ำพระไทยทั้งสองฝ่าย
พระราชสาส์นมา ณวัน ฯ ค่ำปีกุญสัพศก ๚ะ๛