- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
๏ วัน ๖ ๑ฯ ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๒ ปีมะเมียโทศก หมื่นสวัสดิ์อักษร จาฤกพระราชสาส์นไปกรุงเวียดนาม ด้วยกระดาษฝรั่ง ๔ แผ่นเปนอักษร ๔๖ บันทัด ปิดตราโลโตประจำศกตรามังกรคาบแก้วประจำต่อตรา $\left. \begin{array}{}\mbox{ไอยราพต } \\[1.4ex]\mbox{มังกรหก }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ปิดครั่งข้างละดวงประจำปากบอกดวง ๑ ปากถุงดวง ๑ ก้นถุงดวง ๑ พระราชสาส์นใส่พานสองชั้นประดับแว่นฟ้าถุงแพรเหลืองระใบแดง ๒๚
(๒) ๏ พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จำเริญพระราชไมตรีมาแจ้งแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ด้วยองไลโบเสนาบดีผู้ใหญ่มีหนังสือเข้าไปว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระไทยวิตกถึงการทื่จะถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐเมื่อใดเปนแน่ให้กำหนดออกมาให้แจ้งนั้นขอบพระไทยยิ่งนัก บัดนี้ได้ให้เจ้าพนักงานเร่งรัดทำเครื่องประดับแลพระเมรุทุกวัน จะได้เชิญเสด็จพระบรมศพออกมาถวายพระเพลิง ณเดือนห้าข้างแรมเดือนหกข้างขึ้น อนึ่งองค์จันทร์บุตรองค์เอง ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอภิเศกให้เปนพระรามาธิบดีครอบครองแผ่นดินเขมรตามลำดับสกูลวงษ์ แลพระรามาธิบดีถึงแก่พิราไลยแล้ว องค์จันทร์องค์อิ่มองค์สงวนผู้บุตรยังเยาว์นัก ก็บำรุงเลี้ยงรักษามาจนค่อยวัฒนาจำเริญใหญ่ จึงเศกองค์จันทร์เปนพระอุไทยราชาธิราชให้ครองสมบัติแทนพระรามาธิบดี แต่องค์อิ่มองค์สงวนผู้น้องยังหาได้ยศศักดิ์สิ่งใดไม่ จึงเศกขึ้นครั้งหลังเปนวังหลังวังน่า หวังจะให้ช่วยกันทำนุบำรุงอนาประชาราษฎร รักษาแผ่นดินเมืองกัมพูชาโดยประเพณี แลพระอุไทยราชามีความรังเกียจอิจฉาองค์สงวนองค์อิ่มผู้น้อง ให้จับพระยาจักรี พระยากลาโหมซึ่งเปนเสนาผู้ใหญ่ฆ่าเสียโดยจิตรพยาบาท จะได้มีศุภอักษรเข้าไปยังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาก็หาไม่ นำเอาแต่ความมิจริงแกล้งผูกพันมาทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ว่าพระยาจักรีพระยากลาโหมกระทำให้ไพร่ได้ความเดือดร้อนกะเกณฑ์กองทัพ จะให้เข้าไปช่วยกรุงพระมหานครศรีอยุทธยารบพม่าฆ่าศึก แลยุยงให้พี่น้องเปนสองแผ่นดินเมืองกะพงสวายซึ่งขึ้นแก่เมืองกัมพูชา ตระเตรียมกองทัพจะยกมาสู้รบ จึงทูลขอกองทัพไปรักษาเมือง สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามด้วยยังหาทราบเหตุประการใดไม่ จึงจัดกองทัพให้โดยเมตตา แลดินเตงกรันคำทรายเจิงเกอหั้นลูถูซื่อหึงจันเฮา ขึ้นไปตั้งอยู่ณกะพงหลวงนั้น ให้ขุนนางญวนถือหนังสือไปถึงพระยาอภัยภูเบศร์เปนเนื้อความในหนังสือหลายประการ อนึ่งว่านักถีภรรยาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์เก่าเปนมารดาภรรยาเจ้าเมืองเขมรให้ส่งลงมาโดยเร็ว ครั้นพระยาอภัยภูเบศร์จะขัดขืนไว้ เกลือกจักวิวาทขัดเดืองกัน จึงให้นักถีมาด้วยขุนนางญวนผู้ถือหนังสือ อันครอบครัวเมืองปัตะบองก็ระส่ำระสายไปเปนอันมาก เพราะพระอุไทยราชา มาก่อ เกิดความอิจฉารังเกียจองค์สงวนองค์อิ่มผู้น้องซึ่งร่วมมารดาบิดาเดียวกัน ให้เสียประเพณีธรรมเนียมกระษัตริย์ แล้วมิหนำซ้ำกล่าวมารยา ขอกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ไปรักษาเมืองให้ลำบากแกรี้พล ครั้นกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจะให้ออกมารงับว่ากล่าวตามผิดแลชอบ เกลือกดินเติงกรันคำทรายเจิงเกอหั้นลูถูซี่อหึงจันเฮาซึ่งมาช่วยรักษาเมืองกัมพูชานั้นจะมิปรกติผ่อนปรนกัน ทางพระราชไมตรีก็จะมัวหมอง ด้วย สองพระนครร่วมศุขร่วมทุกข์โดยสัจสุจริตยิ่งนัก แต่พม่ายกมากระทำแก่กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามยังทรงพระวิตกจะให้กองทัพเข้าไปช่วย ก็ยินดีขอบพระไทยเปนที่หวังอยู่ บัดนี้องค์จันทร์กระทำดังนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามจะไม่ช่วยทรงพระโกรธบ้าง ข้าขอบขันธเสมาเมืองขึ้นทั้งปวงก็ยังมีอยู่เปนอันมาก ด้วยกรุงเวียดนามก็สิ้นเสี้ยนหนามเปนบรมศุขอยู่แล้ว แต่กรุงพระมหานครศรีอยุทธยายังกระทำสงครามกับพม่าอยู่ ยากที่จะผ่อนปรนจึงให้พระยาพิพัฒโกษาราชทูตพระยาราชวังสรรอุปทูต พระยานราราชมนตรีตรีทูต$\left. \begin{array}{}\mbox{ขุนวิเศษวารี } \\[1.4ex]\mbox{ขุนศรีธากร }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ล่าม จำทูลพระราชสาส์นออกมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้าเวียดนามให้ทราบที่สิ่งใดโดยใจสุจริต ได้สั่งมาแต่ทูตานุทูตทุกประการ ฉันใดกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนามอันหาความรังเกียจมิได้ พระราชไมตรีอันสนิทร่วมรักมาแต่ก่อน ขอสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามทรงดำริห์ให้พระเกียรติขจรไปแก่ท้าวพระยานา ๆ ประเทศทั่วแหล่งหล้า ให้ปรากฎไว้คู่ฟ้าแลดิน
พระราชสาส์นมาณวันศุกรเดือนสามขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราชพันร้อยเจ็ดสิบสองปีมะเมียนักษัตโทศก ๚ะ๛