- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาผู้ใหญ่
(๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาผู้ใหญ่ มาถึงพระเจ้ากรุงเวียดนาม ด้วยแผ่นดินเมืองญวนซึ่งเปนเสี้ยนหนามหลักตออยู่นั้น พระเจ้ากรุงเวียดนามอุสาหกระทำความเพียรสำเร็จราชการ แผ่ขอบขันธเสมากว้างขวางเปนศุขอยู่แล้ว แต่กรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงอังวะยังเปนประจามิตรฆ่าศึกกันอยู่ แลณเดือนหกปีชวดฉศก ให้ทัพเมืองเชียงใหม่ เมืองนคร เมืองน่าน ยกไปตีเมืองเชียงแสน ฝ่ายพม่าลาวเมืองเชียงแสนต่อรบพุ่งเปนสามารถ กองทัพเราตั้งล้อมประชิดเมืองเชียงแสนอยู่เดือนเสศ จึงเข้าหักเอาเมืองเชียงแสนได้ มยุง่วนแม่ทัพพม่าซึ่งมารักษาเมือง ถูกปืนตายในที่รบ แต่อ้ายนาขวาเจ้าเมืองพาพรรคพวกอพยบหนีข้ามแม่น้ำของไป กองทัพตามจับได้สิ้น แล้วทำลายกำแพงเผาบ้านเมืองเสีย กวาดเอาครัวอพยบชายหญิงใหญ่น้อยเปนคนสองหมื่นสามพันเสศ เห็นพม่าจะมีความเจ็บแค้น ณเดือนอ้ายเดือนญี่ จะยกกองทัพมากระทำตอบแทนบ้างฤๅประการใดยังไม่ได้เนื้อความ ถ้าทัพพม่าไม่ยกมาในปีชวดฉศกนี้ พระมหานครศรีอยุทธยาคิดจะยกไปกระทำแก่กรุงอังวะ แต่ถ้าว่าเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองเมาะตมะ เมืองย่างกุ้ง สี่เมืองนี้เปนเมืองชายชเล ถ้าแต่กำลังทัพบกเราจะไปตี มันรวนเรอุดหนุนช่วยกันได้ จำจะคิดทัพเรือ ไปกันทัพเรือพม่า ทั้งจะได้ตัดเสบียงอาหาร จึงจะเอาไชยชำนะได้โดยสดวก คิดไว้คนเมืองไชยา เมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองถลาง บางคลี เมืองตกั่วกุ้ง เมืองตกั่วป่า แปดเมือง กับแขกเมืองไทร เมืองตานี จะเปนกองทัพเรือ แต่ทว่าไม่สู้สันทัดนัก จะขอกองทัพเรือพระเจ้ากรุงเวียดนามสองร้อยสามร้อยลำ ให้สรัพไปด้วยปืนไหญ่น้อยเครื่องสาตราวุธพร้อม คิดดูมรสุมลมเดือนอ้ายมาจากเมืองญวนเดือนญี่ถึงมลากา เดือนญี่ปลายเดือน เดือนสามข้างขึ้นเปนลมสำเภา เลี้ยวขึ้นไปทางเกาะหมากไปถึงเมืองไทร เมืองถลางเหนได้สดวกอยู่ ถึงว่าอังกฤษซึ่งตั้งอยู่ณะเกาะหมากนั้น ถ้าทัพญวนจะได้มาเมื่อใด ก็จะมีหนังสือแต่งคนออกไปบอกราชการเสียแล้วก็จะไม่มีวิวาทสิ่งใดหามิได้ กำหนดจะได้ยกเปนกระทำแก่เมืองพม่าปีใดเดือนใด จึงจะมีพระราชสาส์นบอกมาให้แจ้ง
พระราชสาส์นมาณวันพฤหัศบดีเดือนเก้าขึ้นสิบค่ำ จุลศักราช ๑๑๖๖ ปีชวดฉศก