- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๒) พระราชสาส์นเจ้าเมืองญวน
พระราชสาส์นเจ้าเมืองญวนมาเยียนเจ้าน้องกรุงไทยให้ทราบ
ด้วยทูตนำ $\left. \begin{array}{}\mbox{นายแก้ว} \\\mbox{นายพรมมา} \\\mbox{นายทัพสัตุ}\end{array} \right\}$ พระราชสาส์นกับแพรมังกรออกมาเปนทางพระราชไมตรี เราจึงถามฃ่าวถึงเจ้ากรุงไทยทั้งสองพระองค์จำเริญมั่นคง วัดวาอารามรุ่งเรืองสุกใสยิ่งกว่าแต่ก่อนบุราณสืบมา เรามีความยินดีด้วยเจ้ากรุงไทยหนักหนา แลว่าเมืองเวียงจันท์ปีก่อนทำไม่ดี ยกกองทัพมาตีเมืองพวน จับเจ้าเมืองพวนกับเจ้าหัวเมืองลาวทั้งปวงแลไพร่พลเมืองหนี้มาเมืองเงอาน ว่าแก่เจ้าเมืองเงอาน ๆ จึงบอกหนังสือมาถึงเรา ๆ จึงให้กองทัพยกขึ้นมาถามโทษเจ้าเวียงจันท์ ๆ รู้ว่ากระทำผิด ปล่อยเจ้าลาวทั้งปวงคืนบ้านเมืองตามเก่าแล้ว เจ้าลาวทั้งปวงเคยเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่เมืองญวนตามอย่างแต่ก่อนทั้งนี้ เราจึงโปรดยกโทษความผิดไม่ว่าแล้ว แต่ก่อนเราคิดว่าเจ้าเวียงจันท์อาไศรยเจ้ากรุงไทยคิดทำร้ายตีบ้านเมืองทั้งปวง บัดนี้เราเห็นในพระราชสาส์นว่าเจ้ากรุงไทยชุบเลี้ยงเจ้านันท์ให้ขึ้นมาครองเมืองเวียงจันท์สืบตระกูลมาหาได้ห้ามปรามตามอย่างแต่ก่อนมาหาไม่ เราจึงแจ้งว่าเจ้ากรุงไทยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมหนักหนา อนึ่งเวียนจุงเมืองญวนกับกรุงไทย หนทางระยะห่างไกลกันข่าวคราวหารู้แจ้งไม่ แต่ก่อนเจ้าชมภูเมืองพวน เจ้าฦๅคำรฎเมืองหลวง ทูลเราว่าเวียนจุงมาอยู่ด้วยเจ้ากรุงไทย ๆ ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยง แก้วเวียนจุงคิดอกตัญญ เก็บเอาเครื่องสาตราอาวุธยกกองทัพออกไป มันคิดการทั้งนี้โทษมีแก่เมืองโนัน แลครั้งก่อนเรามีราชสาส์นมาถึงกรุงไทย ว่าเวียนจุงแตกหนีเข้ามา ขอกองทัพจับไว้ บัดนี้มีพระราชสาส์นมาถึงเราจึงแจ้งราชการ เราคิดว่าไพร่ไหน ๆ ก็เปนไพร่ฟ้า ผู้ใด ๆ เปนเจ้าครองเมือง จะใคร่เอาใจราษฎรให้อยู่เยนเปนศุขเปนต้น ไพร่พลเมืองญวนก็เหมือนไพร่พลเมืองไทย เราได้เปนเจ้าพึ่งไพร่ฟ้าราษฎรทั้งปวง จึงสร้างเมืองญวนขึ้นใหม่ $\left. \begin{array}{}\mbox{กว้าง} \\\mbox{ขวาง}\end{array} \right\}$ ได้แว่นแคว้นแผ่นดินถึงหมื่นโยชน์ ทำไมกับเวียนจุงจะละเสียก็ได้ เหตุด้วยเวียนจุงทำร้ายกวนราษฎรฝ่ายเดียว คิดว่าจะยกกองทัพไปจับสัตว์ในป่า ไพร่ราษฎรจะได้ความยากแค้นเดือดร้อน ครั้นจะไม่ทำมันวันนี้มันจะไปลวงเมืองนี้พรุ่งนี้มันจะไปลวงเมืองโน้น ให้เกิดศึกรบพุ่งกันต่อ ๆ สืบไป ไพร่ฟ้าราษฎรจะได้ความยากจน จะฟังคำไว้มันนั้นผิดด้วยประเวณี เราคิดว่าเจ้าเมืองไทยจะไม่แจ้งเหตุผลมันอย่างนั้น บัดนี้แต่งทูตไปมา เมืองเรากับเมืองไทยได้แจ้งน้ำใจกันอยู่แล้ว เจ้ากรุงไทยทรงสัจธรรม จงทรงดำริห์ให้อาณาประชาราษฎรเมืองญวนกับเมืองไทยได้อยู่เยนเปนศุข ทางพระราชไมตรีจะได้วัฒนาการสืบไป ถ้าได้อย่างนั้นเรายินดีหนักหนา ให้เจ้ากรุงไทยทั้งสองพระองค์จำาเริญยิ่ง ๆ ต่อขึ้นไป วัดวาอารามจะได้รุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อน เมืองญวนกับเมืองไทยท่าทางไกลกัน ให้ราชสาส์นมาเหมือนกับตัวเราได้มาปราไศรยกัน ราชสาส์นมาทั้งนี้เหมือนกับน้ำใจเรา
ราชสาส์นมาณวัน ๘ฯ ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ สัพศก