- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจำเริญทางพระราชไมตรี มาถึงพระเจ้านครตังเกี๋ย
ด้วยแต่งให้ $\left. \begin{array}{}\mbox{จิ๋วิแหว้} \\\mbox{จิ๋วิเชียง} \\\mbox{จิ๋วิเกวียน} \\\mbox{จิ๋วิถึด} \\\mbox{จิ๋วิมัญ} \\\mbox{จิ๋วิทงควร}\end{array} \right\}$ จำทูลพระราชสาส์น คุมขนจามจุรีเปนเครื่องราชบรรณาการ มาจำเริญทางพระราชไมตรีแลไมตรีถามฃ่าวกล่าวความศุขสวัสดิมงคลนั้น ขอบพระไทยเจ้าตังเกี๋ยหนักหนา แลซึ่งว่าแต่ก่อน เมืองเวียงจันท์ เมืองพวน เมืองคำเกิด เมืองนคร ๔ เมืองนี้ เคยขึ้นแก่เมืองตังเกี๋ยแล้วมิได้ไปขึ้น ความข้อนี้ ถึงกรุงมหานครศรีอยุทธยา ยกไปตีได้เมืองเวียงจันท์ เมืองพวน แลเมืองลาวทั้งปวงมาเปนฃ้าขอบขันธเสมา พระเจ้าเวียงจันท์องค์เก่าถึงแก่พิราไลยแล้ว กรุงพระมหานครศรีอยุทธยามีความเมตตากรุณามิให้เสียราชประเพณี ทำนุบำรุงปลูกเลี้ยงตั้งเจ้านันทเสนผู้เปนราชบุตร ให้คืนมาครองเมืองเวียงจันทบุรีสืบตระกูลสุริยวงษต่อไป แลกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จะได้กำหนดห้ามปรามเมืองลาวทั้งปวงให้ละขนบธรรมเนียมประเพณีบุราณเสียหามิได้ แลเมืองพวนกับเมืองเวียงจันท์เกิดอริวิวาทรบพุ่งกัน แล้วเมืองเวียงจันท์แต่งกองทัพไปตีเมืองพวนอิก และกองทัพเมืองเงอานยกมารบกับกองทัพเมืองเวียงจันท์ แล้วยกมาตีเมืองเวียงจันท์ก็ดี ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาหาแจ้งเหตุผลไม่ ต่อมีศุภอักษรเจ้านันทเสนบอกลงไป ว่าเจ้าตังเกี๋ยแต่งกองทัพมาตีเมืองเวียงจันท์จึงแจ้งเหตุ ให้กองทัพยกขึ้นไปหวังจะใคร่พบกับกองทัพตังเกี๋ย เจรจาดูให้รู้เหตุผลเปนประการใด ครั้นไปถึงเมืองเวียงจันท์ ก็หาทันกองทัพเมืองตังเกี๋ยไม่ ต้องยกไปถึงเมืองพวน ครั้นจะติดตามไปเล่า เกรงว่าจะล่วงเกินขนธเสมาราชธานี จึงยกกองทัพกลับมา ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานี้ ดำรงทศพิธราชธรรมอันเสมอมิได้คิดเบียดเบียนแก่บ้านเมืองใหญ่น้อยลูกค้าวานิชนานาประเทศ มีแต่เมตตาเปนต้น อุปมาดุจดังเขาพระสุเมรุราชแลมหาสาครสมุทอันเปนที่พำนักนิ์อาไศรยแก่เทวามนุศย์แลฝูงมัจฉาชาติทั้งปวง มิดังนั้นเสมือนหนึ่งมหาพฤกษาชาติต้นใหญ่ เปนที่อาไศรยแก่ฝูงนกทั้งปวงอันเข้าพึ่งพักกระทำรวงรังฟักไข่ ครั้นสกุณโปฎกขนปีกหางบริบูรณ์แล้วก็บินไปทั่วทิศานุทิศ โดยความปราถนาผาศุกแห่งตน แลซึ่งครั้งก่อนองเชียงสือแตกจากเมืองโลกหน่าย หนีเข้ามาพึ่งกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ก็ทำนุบำรุงเลี้ยงให้เปนศุขโดยตระกูลกระษัตริย์สุริยวงษ แล้วกลับคืนไปเมืองโลกหน่าย อุปไมยเหมือนสกุณปักษาอันมีขนปีกหางบริบูรณ์แลบินไปสู่ประเทศแห่งตนโดยปราถนาหาไภยอันตรายมิได้ ก็เปนที่ยินดีแห่งกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาโดยกรุณาหารังเกียจมิได้ แลซึ่งว่าองเชียงสือไม่อยู่แต่เมืองโลกหน่าย ยกกองทัพไปรุกรบตีบ้านน้อยเมืองใหญ่ จนแดนเมืองตังเกี๋ย ๆ แต่งกองทัพตีองเชียงสือแตกคืนมานั้น ความข้อนี้เปนระยะท่าทางไกล ยังหาแจ้งเหตุผลตระหนักไม่ แลซึ่งว่ากองทัพเมืองตังเกี๋ยจะยกมาตีองเชียงสือ ขอให้กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแต่ง กองทัพไปตั้งอยู่ปลายด่านแดน ถ้าองเชียงสือแตกมาให้ช่วยจับกุมส่งให้เจ้าตังเกี๋ย จะตอบแทนสนองคุณนั้น ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเปนมิรู้ที่จะเจรจาเลย ด้วยเหตุทว่าเปนคุณแล้วจะให้กลับเปนโทษดังนี้ ผิดราชประเพณีธรรม ประการหนึ่งกิติศับท์จะฦๅไปนานาประเทศเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงว่ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเหนแก่ลาภสการเมืองตังเกี๋ยเท่านั้น ช่วยจับกุมองเชียงสือส่งไปให้ ไม่มีความเมตตากรุณาเลย จะคะระหาติเตียนข้อนี้ปรากฎอยู่ฟ้าดินดูมิบังควร อันกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จะประพฤติการ จะทำได้ก็แต่โดยคลองทศพิธราชธรรมตามประเพณี เจ้าตังเกี๋ยกับองเชียงสือเปนฆ่าศึกกัน ถ้าจะให้รงับว่ากล่าวทั้งสองฝ่ายพอจะเจรจาได้ อนึ่งซึ่งว่าขอให้กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแต่งกองทัพไปตั้งอยู่ปลายแดนนั้น จะยากอะไรมี แต่ทว่ากองทัพองเชียงสือแลกองทัพเมืองเว้เมืองเง้ก็เปนญวนเหมือนกัน ฝ่ายไทยมิได้กำหนดรูปพรรณสัญญา เกลือกจะเกิดอริวิวาทรบพุ่งกัน ก็จะหมองคลองพระราชไมตรีแลไมตรีไป อันประเพณีกระษัตราธิราชเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ก็ย่อมรู้จักกำหนดขอบขันธเสมาราชธานีเขตรแดนซึ่งกันแลกันอยู่สิ้น เจ้าตังเกี๋ยก็ทรงปัญญาดำรงไพร่ฟ้าฃ้าแผ่นดิน ให้ดำริห์จงชอบนั้นเถิด ทางพระราชไมตรีแลไมตรีทั้งสองพระนครจะได้วัฒนาการมั่นคงสืบไป