- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
๏ ศรีสวัศดิสุภอักษรวสิฐ พิพิทรัตนอรรถธรรมรัศสิกอธิกธิโรตมโชตยสัมปชัญ อนันตคุณคณาธารสังคามวชิตสิทธิสุนธรบวรธรรมไมตรี อันมีในอรรคมหาเสนาธิบดีศรีสุรพงษจตุรงคนิกรบวรบริณายกรัตนามาตย อันเปนสมิปวาศในบาทมูลแห่งพระศรีสรรเพฯชสมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราช พระเจ้ารามาธิบดีบรมจักรพรรดิษรบวรราชาธิบดินทรหริหรินทราดาธิบดี สวิบูลยคุณรุจิตรฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพตรี ภูวนาธิเบศโลกเชฐวิสุทธ มกุฎประเทศคตามหาพุทธังกูร บรมนารกบรมบพิตร พระพุทธเจ้ากรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมย มีมฤธุดาปราโมชจิตรสินิทสันทวะสหะปฏิวากย มาถึงอรรคมหาเสนาธิบดีแห่งพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตวิสุทธิรัตนราชธาณีบุรีรมย ด้วยพญาสุทธจิตรมงคล แลท้าวแก้วเพลา ถือศุภอักษรแลเครื่องคารวะบรรณาการมาจำเริญทางพระราชไม้ตรีแลไม้ตรีนั้น ครั้นได้แจ้งในลักษณศุภอักษรนั้นแล้วจึ่งนำเอากิจานุกิจท้งงนี้ปฤกษา ด้วยเสนาพฤทธามาตยราชกระวิ มนตรีมุกขลูกขุนท้งงปวงปฤกษาพร้อมกันว่า แต่ในกาลก่อนกรุงศรีอยุทธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต เปนแผ่นสุวรรณปัตพีเดียวเคยไปมาจำเริญทางพระราชไม้ตรีแลไม้ตรีต่อกันมิได้ขาด แลครั้นอยู่มาเปนเวรานุเวรแห่งกรุงศรีอยุทธยา แลกรุงศรีสัตนาคนหุตให้บังเกิดมีปัจจามิตรข้าศึกมาเบียดเบียนท้งงสองฝ่าย จึ่งขาดทางพระราชไม้ตรีแลราชประเวณี ดูจหนึ่งมีสุภอักษรอัคมหาเสนาธิบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตลงมา แลครั้งนี้ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอุษาหะเสดจได้ปราบอรินราชศัตรูหัวเมือง $\left. \begin{array}{}\mbox{ใหญ่} \\\mbox{น้อย}\end{array} \right\}$ แว่นแคว้นแดนกรุงเทพมหานคร นน้นก็ปลงพระไทยทำนุกอำรุงเพื่อจให้กระทำตามคลองบุรราชปรเพณีซึ่งมีมาแต่ก่อน แลเดชเดชานุภาพบารมี เพื่อจให้ประจักแก่ไพร่ฟ้าปรชากร ยกไปปราบปรามอริราชศัตรูหัวเมือง$\left. \begin{array}{}\mbox{ใหญ่} \\\mbox{น้อย}\end{array} \right\}$ แว่นแคว้นแด่นกรุงเทพมหานคร นั้นก็ได้โดยสดวกง่ายอยู่สิ้นแล้ว แลบัดนื้มีศุภอักษรอัคมหาเสนาธิบดีณะกรุงศรีสัตนาคนหุต ลงมาจำเริญทางพระราชไม้ตรีแลไม้ตรีนั้น ควรให้รับเปนไม้ตรีสืบไปตามทางบูรพราชประเพณีซึ่งมีมาแต่ในกาลก่อน แลสืบดูกฎหมายอย่างธรรมเนียมกรุงศรีอยุทธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต ซึ่งเปนทางพระราชไม้ตรีแลไม้ตรีกันแต่ก่อนนน้น ได้เนื้อความว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงศรี$\left. \begin{array}{}\mbox{อยุทธยา} \\\mbox{สัตนาคนหุต}\end{array} \right\}$ แต่ก่อนสองฝ่ายฟ้าย่อมจำเริญทางพระราชศรีสวัสดิเปนสุวรรปัตพีเดียวสืบพระราชวงษากันมา แลครั้งนี้ขอให้มีพระราชสารแลศุภอักษรขึ้นไปว่ากล่าวตามบูรพราชประเพณี ซึ่งมีมาแต่ในกาลก่อนนน้น จได้เปนพระราชศรีสวัศดิในกรุงศรีอยุทธยาปรดุจหนึ่งพลอยพระมหาเพฯชรัตนอันสถิตยอยู่ณเริอนพระธำมะรงชมภูนุชธรรมชาติชาตรี ถ้าแลอรรคมหาเสนาธิบดีผู้$\left. \begin{array}{}\mbox{ใหญ่} \\\mbox{น้อย}\end{array} \right\}$ ณ กรุงศรีสัตนาคนหุตเหนด้วยดูจหนึ่งเสนาพฤทธามาตยณกรุงศรีอยุทธยาปฤกษานี้แล้วกให้ช่วยทำนุกอำรุงนำเอาขึ้นกราบบังคมทูลสมเดจพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ฯ จขอพระราชบุตรีมาเศกไว้ในที่อรรคมเหษีณกรุงศรีอยุทธยา สองฝ่ายฟ้าจได้พึ่งพระเดชเดชานุภาพพระบารมีเปนที่พึ่งพำนักนิแก่เสนาพฤทธามาตย แลอณาประชาราษฎรดูจหนึ่งเสวตรฉัตรแก้วแห่งท้าวมหาพรหมอันกางกั้นร่มเอย็นไปทั่วทิศศานุทิศ จึงนำเอาคำลูกขุนปฤกษานน้นขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาแต่พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันมหาประเสริด ทรงพระมหากรุณาดำหรัดเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าให้ทำตามปฤกษาแลให้แต่ง$\left. \begin{array}{}\mbox{ราชทูต} \\\mbox{อุปทูต} \\\mbox{ตรีทูต}\end{array} \right\}$ จำทูลพระราชสาร แลศุภอักษร แลเครื่องมงคลราชบรรณาการขึ้นมาให้แจ้งจงทุกประการ แลบัดนี้แต่งให้$\left. \begin{array}{}\mbox{พระสุนธรไม้ตรีราชทูต} \\\mbox{หลวงภักดีวาจาอุปทูต} \\\mbox{ขุนพจนาพิมลตรีทูต}\end{array} \right\}$ จำทูลพระราชสาร ขึ้นมาจำเริญทางพระราชไม้ตรีแลไม้ตรีตามราชปรเพณียซึ่งมิมาแต่ในกาลกอร ตามซึ่งลูกขุนปฤกษาเหนพร้อมกันนั้น แต่ข้อซึ่งว่ามีปัจจามิตฆ่าศึกมาเบิยดเบิยนกรุงศรีสัตนา คนหุต แลจขอเจ้าพญานครราชสิมาไว้ช่วยราชการนัน พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทรงพระคุณอันมะหาประเสริด ได้มีราชสารขึ้นมาแจ้งอยู่ทุกประการแล้ว แลข้อซึ่งว่าขอหลวงวังแลใทมอรลาวม่วงหวาน ๒๐ ครัวไว้เปนคนใช้สอยไปมาจำเริญทางพระราชสัมพันทมิตรไม้ตรีนั้น เนื้อความข้อนี้มิควร ไม่ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวหามิได้ ถ้าแลอรรคมหาเสนาธิบดี ณกรุงศรีสัตนาคนหุตทำนุกบำรุงกรุงท้งงสองฝ่ายฟ้า ได้เปนบรมกัลยานิมิตรสนิจเสน่หาดูจนึ่งกาลก่อนแล้ว ถึงจเอาหลวงวังแลลาวม่วงหวานซึ่งขอไว้นั้นก็ได้อยู่ อนึ่งราชการบาลเมิองกรุงศรีอยุทธยาทุกวันนี้ จใด้คิดอ่านการสงครามตอบแทนแก่กรุงรัตนบุระอังวะเปนการใหญ่ แลจต้องการม้าใหญ่ศอกนิ้ว ๓๐๐ ม้าแลให้อรรคมหาเสนาธิบดีณกรุงศรีสัตนาคนะหุตช่วยทำนุกบำรุงจัดม้าส่งลงมาให้ได้ตามซึ่งต้องการนั้น จเปนราคาประการใดให้ช่วยทดรองจึงจเบิกเงินณพระคลังส่งขึ้นมาให้ครบตามซึ่งได้ทดรองนัน แลแต่ก่อนกรุงศรีอยุทธยากับกรุงศรีสัตนาคนะหุตยังมิได้เปนพันธุมิตร แลบัดนี้กรุงท้งงสองใด้เปนพันธุมิตรสนิทเสน่หาจำเริญพระราชสัตยาณุสัตยต่อกันอยู่แล้ว มาถแม้นกรุงศรีอยุทธยาจมีกิจการณรงสงครามปรการใดให้เปนภาระทุระแห่งอรรคมหาเสนาธิบดีณกรุงศรีสัตนาคนหุต ถ้าแลกรุงศรีสัตนาคนหุด จมิการนรงสงครามปรการใด กจเปนพาระทุระแห่งกรุงศรีอยุทธยา แลเมิองท้งงสองฝ่ายฟ้าใดเปนทิพกัลยานิมิตรสนิจเสน่หาต่อกันดูจหนึ่งแต่ก่อรอยู่แล้ว ถ้าจมีการนรงสงครามปรการใดให้ช่วยกันอย่าให้ละวาง กันเสียตามบุราณราชประเพณี ซึ่งมีมาแต่ในกาลก่อน เครื่องมงคลราชบรรนาการให้ขึ้นมาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต พระวิสูดพื้นเหลิองระใบปักทองยีปุ่นเคริอต้นไม้ผืนหนึ่ง อานม้าพื้นดำลายทองเครื่องตะกูทองผู้แดง จามจุรีสำรับนึ่ง แพรกระบวนพื้นม่วงผุดทองตาตักกะแตนม้วนนึ่ง แพรกระบวรพืนแดงดอกพุดตานม้วนนึงปืนสั้นแฝดหญ่างยิปุ่นองคนึง ห้าสิ่งเปนเครื่องราชบรรณาการ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวส่งสิ่งของให้ขึ้นมานอกเคริ่องราชบรรณาการในี แพรพื้นน้ำเงินใหมกี่งไม้สองม้วน แพรพื้นดำลายทองสองม้วน แพรพื้นดำผุดใหมกี่งไม้สองม้วร ผ้าขาวม่ารสาบสองตรา ผ้านำกีงลายสอง ศรีต่างกันเก้าพับ ผ้านำกี่งขาวแปดพับ แพรจินศรีต่างกันแปดพับ ผ้านำกึงดอกคำแปดพับ เจียมลายสองพื้นเหลิองรูปใกฟ้าผืนนึ่ง ชามเบญรงสามหย่างสิสิบใบ ถ้วยเบญรงกลิบบัวสองหย่างสี่สิบใบ ช้างพลายพังสิบช้าง เบี้ยคิดเปนเงินห้าชั่ง พระราชทานเสนาบดีคิดเปนเงินห้าชัง เข้ากันเปนเงินสิบชั่ง แลซึ่งเสนาบดีให้ทองห้อยลงไปถึงเราสองลิมนั้น เราจัดได้ผ้าขาวตรา แลแพรขึ้นมาแก่เสนาบดีในีแพรพื้นแดงผุดลายกิ่งไม้สองม้วน แพรพื้นแดงผุดใหมเหลิองลายกึ่งไม้ม้วนนึ่ง แพรลิ้นลายศรีต่างก้นสามพับ ผ้าขาวยาวสามสิบแขน คงปักสองตรา แลเบี้ยซึ่งให้ขึ้นมานั้น ช้างทิส่งลงไปนั้นน้อย ให้ขึ้นมาไว้แก่พญานครใชศรีเมิองบัวชุมให้เสนาบดีแต่งช้างแลคนลงมารับ เอาเบิ่ยต่อพญานครใชสินนเมิองบัวชุมเถิด ศุภอักษรมาณวัน ๓ ๒ฯ ๖ ค่ำจุลศักราช ๑๑๓๓ ปีเถาะตรีนิศก ๚๛