- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
๏ กรุงศรีสัตนาคนหุต ๏ ศรีสุวรสัตยา วะจะนิยะปิยามะนาปา พิสิดถะนารถพิสาลพิสุทธาพิรมย พรมสุจริตหิดตัดถะสัชนาการสุจถะหัษนัดถะสัมคาไมยภัยนรวิรหิตา ในอัคมหาเสนาธิบดีศรีสุชนสัปรุศชุติสามีปวาษบาทมุลิกากรบวรรัตนามาตย แห่งพระบาทบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงพระมหานครบวรศรีสัตนาคนหุตวิสุทธรัตนราชธาณีบุรีรมย มีมธุระจิตรสนิทเสน่หา มาถึงอัคมหาเสนาธิบดีศรีสุรชาติอันเปนบาทมุลิกากรบวรรัตนามาตยแห่งพระบาทสมเด็จเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย ด้วยวุฒิสวัศดิษรดั่งพระบวรพุทธสาศนาปรชานาราษฎร สัตรนิกรนัครวาศรีในกรุงพระมหานคร บวรศรีสัตนาคนหุตวิสุทธิรัตนราชธาณีบุรีรมย ก็ยังสวัศดิวิเสษด้วยเดชะพระรัตนไตรยคุณบุญสำภาราทานบารมีศิลาพระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทุกสิ่งทุกปรการ ดั่งพระมหานครบวรราชราชธาณีท้งงสองหากเปนกะดาดทองทิพยอันเดิยวกัน แต่พระมหากระสัตราธิราชเจ้าท้งงสองกรุงหากได้สำพันทสัจปฏิญาณเอาพระศรีรัตนไตรยสหธาตุเจดียถานเปนสักขีพญาณ เท้าห้าพันพระวัดษาเปนปริยเสฏแต่ในอดิตกาลเมิ่อก่อน ดั่งกรุงเทพมหานครก็หากเปนแต่เวรนุเวรก็จึ่งเปนจุลาจลกุลาหล แก่อนาประชาราษฎรข้าขอบขันทเสมากรุงศรีสัตนาคนหุตก็เปนข้ากบถขัดสนซองทางเปนนิรันตรมิได้ขาด ในปีศักราชสามร้อยสิบเบดตัว จึงได้ให้อุปหาชสงครามมีอักษรไปถึงเจ้าพญานครราชศรีมา แลกรมการท้งงปวง เข้ามากระทำราชการช่วย ค่อยท้งงหลายอัคมหาเสนาพร้อมกัน กระทำฟาดตีเสียยังข้ากบถฝูงนั้นเขาก็ปราไชยพ่ายแพ้แตกไปต้งงอยู่ดอนมดแดง จึ่งหวะหวางซอกทางจึ่งได้รู้แจ้ง สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ทรงทศมิตรราชธรรม์เปนอันยิ่ง จึ่งปไคหะเลิกยกวรพุทธสาศนาอณาประชาราษฎรได้อยู่เอย็นเปนศุขปรกะติดังเก่า ว่าด่งงนี้สมเดจบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงศรีสัตนาคนหุตกทรงพระโศรมนัศพิรมยในพระราชหฤๅไทยเปนอันยิ่งนักหนา จึ่งทรงพระราชจินดาพิรมย ถึงทำนองคลองพระราชประเพนีบให้ขาดราชไม้ตรี ในสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานครเปนอันยิ่ง จึ่งเปสนานัตพญาไทรทรงยศทศบุรี พญาศรีรัตนาธิเดชไม้ตรีทูลจ่านำสุพรรณบัตรัตนราชสาร แลเครื่องศุภมงคลบรรณาการมาวัฒนะสวัศดา พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุริรมย เพื่อขอดทางพระราชไม้ตรีสืบ ๆ ไป ภายหน้ากับพระวษาเปนปริยเสฏสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งทรงพระกรุณาใส่หัวค่อยท้งงหลายอรรคมหาเสนาแต่งพญาสุทธจิตรมงคล ท้าวแก้วเพลานำศุภอักษรมาถึงอรรคมหาเสนาธิบดิในกรุงเทพมหานคร โดยทำนองคลองราชประเวณีให้เปนเอกฉันทสะมัคคากัลยานิมิตรอันหนึ่งอันเดียวกัน ผี้แลกรุงศรีสะตะนาคนหุตหากเกิดมีเหตุการ กอย่าให้อรรคมหาเสนาธิบดีปะวาง เหตุการหากเกิดมีในกรุงเทพมหานครดั่งนั้น ค่อยท้งงหลายกบ่ปะวาง ปรการหนึ่งเจ้าพญานครราชศรีมา แลกรมการซอไว้ให้ช่วยทำราชการก่อนแลดั่งข้าไทมอญอันเข้ามาทำราชการอยู่ในมุกคาตาแสงแห่งกรุงศรีสัตะนาคนหุตนั้น ราชการหากสำเรจธิแล้วบริบวรเมื่อใด ค่อยท้งงหลายอรรคมหาเสนากจพรอมกันให้เมือใส้บ้านเมิองเลิกยกยอวรพุทธสาศนาประชาราษฎรข้าขอบขันธเสมามลฑลกรุงเทพมหานครปรกดิดั่งโบราณราชประเพณี แลดังหลวงวังแลไพร่ลาวมวงหวานญิ่สิบครัวนั้น ขอกับอรรคมหาเสนาธิบดีไว้เปนผู้ใช้ท่องเที่ยวไปมาจำเริญทางพระราชไม้ตรี ให้เปนเชื้อบ้านสายเมือง ฉันใดสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวท้งงสองพระองค จทรงพระราชกัลยานีมิตรสนิทเสน่หา สถิตยเสถียรเคิยลคาอย่าให้เปนจลาวิจไลไปมาเพื่อให้อุภัยรัษฐาราชธานีท้งงสองคามคำโชตนาวรพุทธสาศนา สมณพราหมณาจารยปรชานาราษฎรสัตวนิกรนัครวาสี จได้อยู่เอย็นเปนศุขาภิรมยไซ้ไว้ในญาณวิสุทธิอุดมปัญาอัคมหาเสนาธิบดีท้งงปวงในกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูริรมยจงทุกปรการ สุพรรณบัตหนักห้อยเบี้ยอูบสุพรรณหนักเจ็ดบาทสวินหมากหูดถุงหนักห้าบาทสุวรรณคำรักษสามห้อยงาช้างสองคู่สาดเวียนสองผืนเปนเครืองศุภมงคลราชบรรณาการคำสองหลิ้มหนักสองห้อย เปนบรรณาการอัคมหาเสนาศุภอักษร ๚ะ๛