- คำนำ
- ตำนานเสภา
- คำอธิบาย
- อธิบายบทเสภา เล่ม ๓
- ตอนที่ ๑ กำเนิดขุนช้างขุนแผน
- ตอนที่ ๒ พ่อขุนช้างขุนแผน
- ตอนที่ ๓ พลายแก้วบวชเณร
- ตอนที่ ๔ พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม
- ตอนที่ ๕ ขุนช้างขอนางพิม
- ตอนที่ ๖ พลายแก้วเข้าห้องนางสายทอง
- ตอนที่ ๗ พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม
- ตอนที่ ๘ พลายแก้วถูกเกณฑ์ทัพ
- ตอนที่ ๙ พลายแก้วยกทัพ
- ตอนที่ ๑๐ พลายแก้วได้นางลาวทอง
- ตอนที่ ๑๑ นางพิมเปลี่ยนชื่อวันทอง ขุนช้างลวงว่าพลายแก้วตาย
- ตอนที่ ๑๒ นางศรีประจันยกนางวันทองให้ขุนช้าง
- ตอนที่ ๑๓ พลายแก้วได้เป็นขุนแผน ขุนช้างได้นางวันทอง
- ตอนที่ ๑๔ ขุนแผนบอกกล่าว
- ตอนที่ ๑๕ ขุนแผนต้องพรากนางลาวทอง
- ตอนที่ ๑๖ กำเนิดกุมารทองบุตรนางบัวคลี่
- ตอนที่ ๑๗ ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยา
- ตอนที่ ๑๘ ขุนแผนพานางวันทองหนี
- ตอนที่ ๑๙ ขุนช้างตามนางวันทอง
- ตอนที่ ๒๐ ขุนช้างฟ้องว่าขุนแผนเป็นขบถ
- ตอนที่ ๒๑ ขุนแผนลุแก่โทษ
- ตอนที่ ๒๒ ขุนแผนชนะความขุนช้าง
- ตอนที่ ๒๓ ขุนแผนติดคุก
- ตอนที่ ๒๔ กำเนิดพลายงาม
- ตอนที่ ๒๕ เจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทองแก่พระพันวษา
- ตอนที่ ๒๖ พระเจ้าเชียงใหม่ชิงนางสร้อยทอง
- ตอนที่ ๒๗ พลายงามอาสา
- ตอนที่ ๒๘ พลายงามได้นางศรีมาลา
- ตอนที่ ๒๙ ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
- ตอนที่ ๓๐ ขุนแผนพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
- ตอนที่ ๓๑ ขุนแผนพลายงามยกทัพกลับ
- ตอนที่ ๓๒ ถวายนางสร้อยทอง สร้อยฟ้า
- ตอนที่ ๓๓ แต่งงานพระไวยพลายงาม
- ตอนที่ ๓๔ ขุนช้างเป็นโทษ
- ตอนที่ ๓๕ ขุนช้างถวายฎีกา
- ตอนที่ ๓๖ ฆ่านางวันทอง
- ตอนที่ ๓๗ นางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๘ พระไวยถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๙ ขุนแผนส่องกระจก
- ตอนที่ ๔๐ พระไวยแตกทัพ
- ตอนที่ ๔๑ พลายชุมพลจับเสน่ห์
- ตอนที่ ๔๒ นางสร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ
- ตอนที่ ๔๓ จระเข้เถรขวาด
คำนำ
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยทุกเพศทุกวัยเป็นเวลาช้านาน ด้วยเหตุผลตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จว่า “...เอาเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมาอ่านเล่นในเวลาว่าง เห็นว่าเป็นเรื่องดี และแต่งดีอย่างเอกทีเดียว เคยอ่านมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนก็ยังอ่านสนุกไม่รู้จักเบื่ออยู่นั่นเอง มารู้สึกว่ามีประโยชน์อยู่ในหนังสือเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่ง”
เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับกวีแห่งราชสำนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ตอนขุนแผนขึ้นเรือนของขุนช้างและเข้าห้องนางแก้วกิริยา และตอนนางวันทองหึงกับนางลาวทอง พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงพระราชนิพนธ์ตอนขุนช้างขอนางพิม และตอนขุนแผนพานางวันทองหนี สุนทรภู่แต่งตอนกำเนิดพลายงาม นอกจากนั้นยังมีกวีอื่นๆ ช่วยกันแต่งอีกมาก เนื่องด้วยความงดงามในการใช้ถ้อยคำของกวีเอกในครั้งนั้น วรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยกย่องวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนว่าเป็นยอดแห่งกลอนเสภา
อนึ่ง ในการพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำ “ตำนานเสภา” และ “ว่าด้วยชำระหนังสือเสภา” พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมารวมพิมพ์ไว้ด้วย
กรมศิลปากรหวังว่า เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน จักอำนวยคุณประโยชน์แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจโดยทั่วกัน
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร