๖
๏ ในขณะนั้นพระยาลแวกแต่งพลมาลาดทั้งทางบกทางเรือเปนหลายครั้ง, แลเสียชาวจันทบุรี, แลชาวระยอง, ชาวฉเชิงเทรา, ชาวนาเริ่งไปแก่ข้าศึกลแวกเปนอันมาก. ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๐ ปีมเมียสัมฤทธิศก, สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว, ก็ให้สมเดจ์พระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเปนเจ้า, อันเปนสมเดจ์พระโอรสธิราชขึ้นไปเสวยราชสมบัติณเมืองพระพิศณุโลกย์. ขณะนั้นพระชนม์ได้สิบหกพรรษา, แต่สมเดจ์เอกาทศรฐผู้เปนพระราชอนุชาสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้านั้น, สมเดจ์พระราชบิดาเอาไว้ ณพระมหานครศรีอยุทธยาด้วย. ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๑ ปีมแม เอกศก, พระเจ้าหงษาวดียกช้างม้ารี้พลโยธาไปเอาเมืองล้านช้าง, กำหนดให้สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานคร แลสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จขึ้นไปด้วย, แต่สมเดจ์เอกาทศรฐอันเปนตรุณราชบุตร, พระราชบิดาดำรัศให้อยู่รักษาพระนคร. ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว, กับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็ยกช้างม้ารี้พลไปถึงตำบลหนองบัว, ในจังหวัดเมืองล้านช้าง. ขณะนั้นสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระประชวรทรพิศ. พระเจ้าหงษาวดีตรัสให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชา, กับพระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จคืนมายังพระนครศรีอยุทธยา. ครั้งนั้นพระเจ้าล้านช้างป้องกันรักษาเมืองเปนสามารถ, ทัพหงษาวดีจะหักเอาพระนครมิได้, ภอจวนเทศกาลวสันตะรดู, ก็ยกทัพกลับไป. ๚ะ
๏ ฝ่ายพระยาลแวกยกมาจะใกล้ถึงปากน้ำพระประแดง, เจ้าเมืองธนบุรีแลกรมการทั้งหลายรู้ข่าวว่า,พระยาลแวกยกมาก็บอกขึ้นไปให้กราบทูล. ส่วนเรือทัพน่าพระยาลแวกก็ไล่ตามเรือซึ่งกระเวนทเลนั้นติดเข้ามาเมืองธนบุรี, แลกรมการทั้งหลายมิทันแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมือง, ต่างคนต่างก็เอาครัวหนี. พระยาลแวกก็ยกทัพเข้ามาตั้งในปากน้ำพระประแดง, ก็ให้ลาดจับชาวเมืองธนบุรี, ชาวเมืองชลบุรีไปเปนชเลย. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว, ก็ตรัสให้เอาเมืองยโสธรราชธานีเปนนายกอง แล้วจัดขุนหมื่นทั้งหลายกับพลทหารสองพัน, แลเครื่องสาตราวุธบันทุกเรือสิบลำให้ยกลงไปถึงเมืองธนบุรี, ก็ภบเรือข้าศึกได้รบพุ่งกันเปนสามารถ, ข้าหลวงก็พ่ายแก่ข้าศึกลแวก, แลเสียหมื่นราชามาตย์, ข้าศึกได้เปนเอาไปถวายพระยาลแวก. เมืองยโสธรราชธานีแลข้าหลวงทั้งปวงก็พ่ายขึ้นมายังพระนคร. พระยาลแวกก็ให้จับคนทั้งจังหวัดเมืองธนบุรีได้มากแล้ว, ก็ยกขึ้นมายังพระนคร, ตั้งทัพณขนอนบางตนาวศรี. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้ท้าวพระยาทั้งหลายตรวจตราจัดพลทหารขึ้นประจำน่าที่กำแพงพระนคร, แล้วแต่งการที่จะรบพุ่งกันพระนคร. พระยาลแวกก็ยกทัพเรือขึ้นมาเข้าแฝงอยู่ข้างวัดพแนงเชิง, ให้แต่งเรืออันเปนทัพน่าประมาณสิบลำ, เข้ามาปล้นณตำบลนายไก่.ขณะนั้นสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในหอราชคฤห์ตรงเกาะแก้ว,แล้วท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายชุมนุมกันในที่นั้น. ครั้นเรือข้าศึกเกือบเข้ามา, จึ่งวางปืนใหญ่ณป้อมนายการต้องพลข้าศึกตายเปนอันมาก. แล้วตรัสให้พลทหารเอาเรือออกไปฬ่อข้าศึก, ข้าศึกทั้งปวงก็พ่ายลงไป. พระยาลแวกเหนจะปล้นพระนครมิได้, ก็เลิกทัพคืนลงไปตั้งอยู่ปากน้ำพระประแดง. แล้วก็แต่งให้ขึ้นไปลาดจับคนถึงสาครบุรี, ได้ขุนหมื่นกรมการแลไพร่ชายหญิงอพยบมาเปนอันมาก, จึ่งให้เอารูปเทพารักษสำฤทธิ์ทั้งสององค์, ชื่อท้าวแสนตา แลบาทสังฆังกรอันมีมเหศรศักดานุภาพ, ซึ่งอยู่ณเมืองพระประแดง,ขุดได้แต่ครั้งสมเดจ์พระรามาธิบดีนั้นไปด้วย,พระยาลแวกก็เลิกทัพกลับไปเมือง ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๒ ปีวอกโทศก, พระยาลแวกแต่งพระยาอุเพษราช, แลพระยาจีนจันตุยกทัพเรือมา, พลประมาณสามหมื่นจะเอาเมืองเพชรบุรี, แลกรมการทั้งหลายแต่งการรบพุ่งป้องกันเปนสามารถ, แลข้าศึกยกเข้าปล้นเมืองเปนสามวัน, รี้พลข้าศึกต้องสาตราวุธเจ็บป่วยเปนอันมาก, จะปล้นเอาเมืองเพชรบุรีมิได้, พระยาอุเพษราช, แลพระยาจีนจันตุก็เลิกทัพคืนไปเมืองลแวก. ขณะนั้นพระยาจีนจันตุให้ทานบลแก่พระยาลแวกว่า, จะเอาเมืองเพชรบุรีให้ได้. ครั้นมิได้เมืองเพชรบุรีพระยาจีนจันตุก็กลัวว่า, พระยาลแวกจะเอาโทษ, พระยาจีนจันตุก็ภาครัวอพยบทั้งปวงหนีเข้ามายังพระนครศรีอยุทธยา สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาแก่พระยาจีนจันตุ, ตรัสให้พระราชทานเปนอันมาก ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุก็มิได้สวามีภักดี,ลอบตบแต่งสำเภาที่จะหนีจากพระนคร. ๚ะ
๏ ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสี่ค่ำ ปีรกาตรีศก, เพลาค่ำประมาณสองนาฬิกา, พระยาจีนจันตุก็ภาครัวลงสำเภาหนีล่องลงไป. ขะณะนั้นสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกย์เสด็จอยู่ในวังใหม่. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็เสด็จยกเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น, แล้วตรัสให้เรือประตูเรือกัน, แลเรือท้าวพระยาทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุ, แลได้รบพุ่งกันเปนสามารถ. พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภากลางน้ำรบต้านทานรอลงไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า,ก็ตรัสให้เอาเรือคู่เรือกันเข้าจับจนท้ายสำเภาพระยาจีนจันตุ. ให้พลทหารปีนสำเภาขึ้นไป, แล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสำเภา, แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน. พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนกลับมาต้องวางปืนต้นอันทรงนั้นแตก. พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเปนสามาท, พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้. พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภารุดหนีลงไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็เสด็จตามรบพุ่งลงไปถึงเมืองธนบุรี. พระยาจีนจันตุก็ให้เร่งโลสำเภาออกไปพ้นปากน้ำตกฦก. ฝ่ายสมเดจ์พระราชบิดาเสด็จหนุนทัพสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ลงไปถึงเมืองพระประแดง, ภอสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ยกกลับขึ้นมาภบเสด็จพระราชบิดาทูลการทั้งปวงให้ทราบ. สมเดจ์พระราชบิดากับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็เสด็จคืนมายังพระนคร. ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๔ ปีจอจัตวาศก, สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวให้แต่งพระนคร, ให้ขุดคูขื่อน่า. ฝ่ายทิศบูรพ์ป้อมมหาไชยวังน่าลงไปบันจบบางกะจะ, กว้างสิบวาฦกสามวา, แล้วให้ยกกำแพงออกไปตั้งริมน้ำขอบนอกพระนครบันจบป้อมมหาไชย, แต่ป้อมมหาไชยลงไปบันจบป้อมเพชร์ ในปีนั้นเกิดขบถพระยาพิเชียรเปนจลาจลในจังหวัดแขวงหลวง, แลพระยาพิเชียรนั้นสำแดงคุณโกหก, กระทำการอันพิปริตสำแดงแก่ชาวชนบทประเทศนั้น, แลซ่องสุมเอาเปนพวกได้มาก, พระยาพิเชียรก็มาซ่องสุมคนในตำบลบ้านยี่ลัน, ขุนศรีมงคลแขวงส่งข่าวขบถนั้นเข้ามาถวาย. จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง, ก็มีพระราชโองการตรัสใช้เจ้าพระยาจักรี, ให้ยกพลทหารออกไปจับพระยาพิเชียรเปนขบถ. เจ้าพระยาจักรี, แลขุนหมื่นทั้งหลายยกออกไปตั้งทัพ ณตำบลบ้านมหาดไทย์. พระยาพิเชียรรู้ดั่งนั้น, ก็คุมสมักพักพวกทั้งปวงยกมารบเจ้าพระยาจักรี. ส่วนชาวมหาดไทย์อันยืนน่าเจ้าพระยาจักรีนั้น, ก็กลับเปนพวกพระยาพิเชียรครั้นได้รบพุ่งกัน, พันไชยทูตปีนท้ายช้างขึ้นฟันเจ้าพระยาจักรีตายกับฅอช้าง, ไพร่พลอันไปด้วยเจ้าพระยาจักรีนั้นก็แตกฉาน, เสียขุนหมื่นตายในที่รบนั้นเปนหลายคน. ๚ะ
๏ ครั้นเสียเจ้าพระยาจักรีแล้วชาวชนบทนั้น,ก็เข้าเปนพวกพระยาพิเชียรแต่ชายสกรรธ์เปนคนประมาณสามพัน. พระพิเชียรตั้งพันไชยทูตเปนพระยาจักรี, ตั้งหมื่นศรียี่ล้นชื่อพระยาเมือง, แลพระยาพิเชียรคิดจะเอาเมืองลพบูรี, ก็ยกไปยังเมืองลพบูรี.ฝ่ายพระยาศรีราชเดโช, ซึ่งพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว, ดำรัศให้ขึ้นไปซ่อมแปลงกำแพงเมืองลพบูรีนั้น. ครั้นแจ้งข่าวว่าพวกกระบถพระยาพิเชียรยกมาเมืองลพบูรี, ก็ตกแต่งที่จะรบพุ่งป้องกันเมืองไว้. ฝ่ายพระยาพิเชียรก็ยกไปถึงเมืองลพบูรี ขี่ช้างเข้าไปยืนอยู่ตำบลหัวตรีแล้วให้พักพวกเข้าปล้นที่นั้น. พระยาศรีราชเดโชก็มายืนช้างให้รบพุ่งป้องกัน. จึ่งชาวประเทศชื่ออมรวดี, แฝงต้นโพธิยิงปืนกลับไปต้องพระยาพิเชียร, ซบลงกับฅอช้าง. พวกขบถทั้งปวงแตกฉานพ่ายออกไป, แลต่างคนต่างกระจัดพรัดพรายไปทุกตำบล. พระยาศรีราชเดโชก็เอาอมรวดีซึ่งยิงขบถตายนั้นเข้ามาถวาย. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวให้พระราชทานแก่อมรวดีนั้นมากนัก. แล้วตรัสให้พวกข้าหลวงออกไปจับพวกกระบถทั้งปวงนั้นได้มาก. บันดาจะลงพระราชอาชาไซ้เหตุด้วยพระองค์ทรงทศพิธราชธรรม, ก็มิให้ลงพระราชอาชา, แลให้ศักหมายหมู่เข้าประสมหมู่โดยโทษ. ๚ะ
๏ ครั้นถึงเดือนสามพระยาลแวกก็ยกทัพเรือมา, พลประมาณเจ็ดหมื่น.มาเอาเมืองเพชรบูรี. ในขณะนั้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสให้เมืองยโสธรราชธานี,เมืองเทพราชธานี. ออกไปรั้งเมืองเพชรบุรี. จึ่งพระศรีสุรินทฦๅไชยเจ้าเมืองเพชรบุรี, เมืองยโสธรราชธานี, เมืองเทพราชธานี, ก็ช่วยกันตกแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมือง. ครั้นพระยาลแวกยกมาถึง, ก็ให้ยกพลขึ้นล้อมเมืองเพชรบุรี, อยู่สามวันแล้วให้ยกเข้าปล้นเมืองเพชรบูรีให้พลทหารเอาบันไดพาดปีนกำแพงเมือง.แลชาวเมืองเพชรบุรีป้องกันเมืองเปนสามารถ ข้าศึกชาวละแวกต้องสาตราวุธตายเปนอันมาก. จะปีนป่ายปล้นเอาเมืองมิได้, ก็พ่ายออกไป. แต่พระยาลแวกยกเข้าไปปล้นดังนั้นถึงสามครั้ง,ก็มิได้เมือง. แล้วดำริหว่าจะปล้นอีกครั้งหนึ่ง, ถ้ามิได้ไซ้จะเลิกทัพคืนไป. ขณะนั้นเมืองเพชรบุรี, แลเมืองยโสธรราชธานี,เมืองเทพราชธานี, มิได้สมักสมานด้วยกัน,ต่างคนต่างบังคับบัญชาแล้วอยู่ป้องกันน่าที่ซึ่งได้เปนพนักงาร, ป้องกันรักษานั้น มิได้พร้อมมูลคิดอ่านด้วยกัน, ซึ่งจะแต่งการป้องกันข้าศึก. ครั้นณวันแปดค่ำพระยาลแวกยกเข้าปล้นตำบลคลองกะแซง, แลประตูบางจาน ชาวเมืองต้านทานเปนสามารถ. ข้าศึกเผาหอรบทลายลงแล้ว, ปีนกำแพงเข้าได้ในที่นั้น, ก็เสียเมืองเพชรบุรีแก่พระยาลแวก, แล้วเสียเจ้าเมืองเพชรบุรี. เมืองยโสธรราชธานี, เมืองเทพราชธานีตายในที่นั้น. พระยาลแวกก็กวาดครัวอพยบเลิกทัพคืนไปเมือง ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๕ ปีกุนเบญจศกเดือนสิบเอ็ด สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกย์. สถิตย์อยู่ในวังใหม่. ขณะนั้นพระยาลแวกแต่งทัพพระทศราชา, พระสุรินทราชาให้ยกช้างม้า, แลพลประมาณห้าพันมาลาศถึงหัวเมืองฝ่ายตวันออก. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าตรัสรู้ข่าวดังนั้น, ก็เอาช้างเร็วม้าเร็วแลพลทหารล้อมพระราชวังสามพันเสด็จไป, ตรัสให้เมืองไชยบุรี, แลขุนหมื่นเข้ามาเอาพลทหารห้าร้อยไปเปนทัพน่าให้รุดออกไปด้วยทัพเมืองศรีถมอรัตน, เอาพลเข้าซุ่มอยู่สองข้างทางที่ข้าศึกจะมานั้น พลหัวน่าศึกก็ยกมาประมาณพันหนึ่งถึงที่เมืองไชยบูรี, แลเมืองศรีถมอรัตน์ซุ่มอยู่นั้น. ครั้นข้าศึกเกินเข้ามา เมืองศรีถมอรัตน์เมืองไชยบุรีก็ยกพลออกมารบข้าศึก, ข้าศึกก็แตกพ่ายหนีไป. จึ่งเมืองไชยบุรี, เมืองศรีถมอรัตน์ตามตีข้าศึกไปจนถึงทัพใหญ่, แลได้ฟันแทงข้าศึกตายเปนอันมาก. พระทศราชา, พระสุรินทราชาก็เลิกทัพหนีคืนไปยังเมืองลแวก สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จไปถึงเมืองไชยบาดานแจ้งว่า, ข้าศึกพ่ายหนีไปแล้ว, ก็เสด็จกลับคืนมายังพระนคร, เฝ้าสมเดจ์พระราชบิดา, ทูลแจ้งเหตุซึ่งเขมรพ่ายไปนั้นเสรจ์สิ้นทุกประการ. แล้วก็ถวายบังคมคืนขึ้นไปเมืองพระพิศณุโลกย์. ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๒๖ ปีชวดฉศก, สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระประชวร. ครั้นถึงณวันเสารเดือนยี่ขึ้นเจ็ดค่ำ,เสด็จสวรรคต. พระชนม์ได้ ๖๕ พรรษา แต่เสด็จอยู่ในราชสมบัติสามสิบห้าพรรษา. มังเอิงราชบุตรผู้เปนพระมหาอุปราชาได้ผ่านสมบัติกรุงหงษาวดี. ตรัสให้มังสามเกลียดราชบุตรเปนมหาอุปราชา, สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเสวยราชใหม่, บ้านเมืองยังมิปรกติ. ฝ่ายเมืองรุมเมืองคังก็แขงเมือง ข่าวนั้นแจ้งมาถึงสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, พระนเรศวรเปนเจ้าก็เสด็จลงมาณกรุง กราบทูลสมเดจ์พระบรมราชบิดาตามข้อความซึ่งแจ้งมานั้นทุกประการ, จะฃอถวายบังคมลาขึ้นไปช่วยการสงครามเมืองหงษาวดี, จะได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองหงษาวดีด้วย. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็ถวายบังคมลากลับคืนมาเมืองพระพิศณุโลกย์, ให้ตรวจเตรียมรี้พลช้างม้าโดยกระบวนพยุหบาตราทัพพลสะกรรลำเครื่องแสนหนึ่ง, ช้างเครื่องแปดร้อยม้าพันห้าร้อย. ครั้นได้ศุภฤกษก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง, ยกทัพหลวงขึ้นไปถึงตำบลพระตำหนักไม้ไผ่ใกล้เมืองหงษาวดี, สามเวนก็ภักพลอยู่ที่นั้น, จึ่งบอกหนังสือเข้าไป. พระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ดีพระไทย. จึ่งให้แต่งเสบียงอาหารแลเครื่องเสวยลงมาถวาย, แล้วก็นำเสด็จขึ้นเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี. พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสว่า, ซึ่งพระเจ้าหลานเรายกขึ้นมาครั้งนี้, มีความยินดีนัก. แลแจ้งการซึ่งเมืองรุมเมืองคังแขงเมืองนั้นให้ฟังทุกประการ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทูลว่า, ข่าวแจ้งลงไปข้าพระองค์จึ่งยกขึ้นมาช่วยการพระราชสงคราม. พระเจ้าหงษวดีตรัสให้พระนเรศวรเปนเจ้า, กับพระมหาอุปราชา, แลพระสังขทัศ, ยกไปเอาเมืองรุม,เมืองคังจงได้ ทั้งสามพระองค์ก็ถวายบังคมลายกไปถึงเมืองรุม, เมืองคัง. ให้ตั้งค่ายแลปลูกราชสันถาคาระไว้ณถ้ำกลาง เสด็จปฤกษาราชการพร้อมกันทั้งสามพระองค์ พระมหาอุปราชาจึ่งตรัสว่า, ซึ่งจะยกเข้ารบพร้อมกันทั้งสามทัพนั้น, ไพร่พลจะตลุมบอนกัน, จะผลัดกันเข้ารบทัพลวัน. ๚ะ
๏ ครั้นปฤกษาพร้อมกันแล้ว, พระมหาอุปราชายกขึ้นไปรบ, ณวันจันทรเดือนเจ็ดขึ้นเจ็ดค่ำเพลาสี่ทุ่มเดือนตก. ฝ่ายข้าศึกก็คัดก้อนสิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก, ขึ้นไปมิได้เพลาจวนรุ่งก็ถอยลงมา. ครั้น ณวันอังคารเดือนห้าขึ้นแปดค่ำ, ทัพพระสังขทัศยกขึ้นไปรบ, ข้าศึกก็คัดก้อนสิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก, จะหักเอามิได้ก็ถอยลงมา. ครั้นณวันพุทธเดือนห้าขึ้นเก้าค่ำเพลาตีสิบเอ็ดทุ่ม, สมเดจ์พระนเรศวรผู้เปนเจ้า, ก็ยกทหารปีนหนี่ขึ้นไป. ให้พลปืนปีนเข้าแซงทั้งสองข้าง,แลทางกลางนั้นให้พลอยู่แต่ตีนเขาให้ห่าง, แล้วโห่ร้องกระทำอาการดุจปีนขึ้นทางนั้น. ชาวเมืองก็สำคัญว่าข้าศึกขึ้นมาทางนั้น, ก็กลิ้งก้อนสิลาลงมา,ก็มิได้ถูกผู้ใด. ฝ่ายพลซึ่งแซงขึ้นไป,ก็ยิงระดมไปต้องชาวเมืองล้มตายป่วยเจ็บเปนอันมาก, แตกระส่ำระสายเพลาเช้าสามโมงก็ได้เมือง, จับได้ตัวเจ้าเมืองรุมเจ้าเมืองคังลงมาค่าย. ทั้งสามพระองค์ก็เลิกทัพคุมเอาเจ้าเมืองรุมเมืองคังมายังเมืองหงษาวดี, แล้วทูลตามซึ่งได้ไชยชำนะ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดียินดี, ตรัสชมฝีพระหัตถแลความคิดสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, แล้วพระราชทานพานทองคำใส่ภูษาองค์หนึ่ง, ทองหนักห้าชั่งจำหลักเปนรูปเทวดา. พระมหาอุปราชาน้อยพระไทยแก่พระนเรศวรเปนเจ้านัก. ๚ะ
๏ ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ทูลลาพระเจ้าหงษาวดี, ๆ ก็ตรัสให้มังทูมังอันมังอบารจอถาง, สมิงพระตะเบิดลงไปอยู่หัวเมืองรายทาง, ให้จ่ายเสบียงเลี้ยงดูไพร่พลไปกว่าจะถึงแดนพระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จกลับลงมาถึงเมืองพระพิศณุโลกย์, แล้วก็เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวายพระชินราช, พระชินสีห์เจ้า, ให้กระทำสับทสมโพชการมหรสพสามวัน,แล้วเสด็จลงมาเฝ้าสมเดจ์พระราชบิดา ณกรุงเทพมหานคร,จึ่งเอาการซึ่งได้รบพุ่งมีไชยชำนะข้าศึกนั้นกราบทูลให้ทราบ. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระไทยยินดีนัก,ให้แต่งการสมโพชสมเดจ์พระอัคโอรสาธิราชเจ้าเจ็ดวัน, แล้วพระราชทานปูนบำเหน็จทแกล้วทหารทั้งปวงโดยสมควร. ครั้นเสร็จการสมโพชแล้ว, สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า,ก็กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปสถิตยอยู่ยังเมืองพระพิศณุโลกย. ๚ะ
๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีนั้นมิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดำริหว่า, พระนเรศวรประกอบไปด้วยปัญญาหลักแหลมฦกซึ้ง,ทั้งการสงครามก็องอาจกล้าหาร, นานไปเหนจะเปนเสี้ยนสัตรูต่อเมืองหงษาวดีเปนมั่นคง, จำจะคิดเทครัวอพยบหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงมาไว้เปนกำลังในเมืองหงษาวดี, การศึกพระนเรศวรก็จะถอยกำลังลง. ครั้นดำริห์แล้วจึ่งตรัสให้นันทสุ, กับราชสงครามถือพลหมื่นหนึ่งไปตั้งทำยุ้งฉางอยู่ณเมืองกำแพงเพชร, นันทสุกับราชสงครามก็ยกไปตั้งทำการอยู่ณเมืองกำแพงเพชรตามรับสั่ง. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีคิดเปนกลอุบาย, ให้มีศุภอักษรไปถึงพระนเรศวรว่า, บัดนี้กรุงบุรรัตนอังวะเปนกระบถแขงเมืองต่อพระนครหงษาวดี, ให้เชิญพระนเรศวรยกมาช่วยการสงครามตีกรุงบุรรัตนอังวะ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าแจ้งดั่งนั้นสำคัญว่าจริง, ก็เสด็จลงไปทูลลาสมเดจ์พระราชบิดา. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็กราบถวายบังคมลาขึ้นมายังเมืองพระพิศณุโลกย์, จึ่งกำหนดให้ตรวจเตรียมพลสกรรธ์สำเครื่องแสนหนึ่ง, ช้างเครื่องแปดร้อยม้าพันห้าร้อยไว้ให้พร้อม. ๚ะ
๏ ครั้น ณวันอาทิตยเดือนสามแรมหกค่ำปีฉลูสัปตศก, เพลาสิบเอ็ดทุ่มเก้าบาทกอบด้วยเพชรฤกษ, เสด็จทรงพระคชาธารพร้อมด้วยพยุหแสนยากร, ทอดพระเนตรเหนพระสาริริกะบรมธาตุเสด็จปราฎิหารแต่บูรพทิศ, ผ่านพระคชาธารไปโดยประจิมทิศเท่าผลมพร้าวปอกแล้ว, จึ่งเสด็จยาตราทัพหลวงออกไปโดยประตูไชยแสน, ไปถึงตำบลวัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชรเพลาบ่ายห้าโมง, เกิดวาตะพยุฝนตกห่าใหญ่แผ่นดินไหวเปนอัษจรรย์. ครั้นรุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองกำแพงเพชร์, ตั้งประทับแรมอยู่ตำบลหนองปลิงสามเวน, แล้วก็ไปโดยทางเชียงกุมตะเหมาะ.ขณะนั้นพระยากำแพงเพชรสั่งข่าวไปถวายว่า,ไทยใหญ่เวียงเลือตวันเกียกกาย, ขุนปลัดมังทราง มังนิวายลองกับนายม้าทั้งปวง, อันอยู่ณเมืองกำแพงเพชรภาครัวอพยบหนี, พม่ามอญแตกแก่ไทยใหญ่ทั้งปวง, ๆ ยกไปทางเมืองพระพิศณุโลกย์.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทราบดั่งนั้น,ก็ให้ม้าเร็วไปบอกแก่หลวงโกษา. แลลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพระพิศณุโลกย์ว่า.ซึ่งไทยใหญ่หนีมานั้นเกลือกจะไปเมืองอื่น,ให้แต่งอายัดด่านเมืองเพชร์บูรณ, เมืองนครไทยชาตระการแสเฝ้าให้มั่นคงไว้, อย่าให้ไทยใหญ่ออกไปรอด. หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงทราบดั่งนั้น,ก็ออกไปกำชับด่านทางทั้งปวงตามรับสั่ง. ฝ่ายไทยใหญ่ก็ภาครอบครัว ตรงเข้ามายังเมืองพระพิศณุโลกย์, หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงก็รับพิทักษรักษาไว้. นันทสุกับราชสงคราม, มีหนังสือมาให้ส่งไทยใหญ่. หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงผู้อยู่รักษาเมืองพระพิศณุโลกย์ก็มิได้ส่ง. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, เสด็จยกพยุหแสนยากรไปถึงเมืองแครง, ณวันพฤหัศเดือนหกขึ้นสิบค่ำ. ๚ะ
๏ ขณะนั้นรู้ข่าวไปถึงซักแซงยอถางเจ้าเมืองแคลง, ให้ปลัดเมืองออกมาทูลว่า, ขอเชิญเสด็จพักพลอยู่แต่นอกเมืองแครงก่อน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ให้ภักพลอยู่ใกล้อารามพระมหาเถรคันฉ่อง, แล้วตรัสให้ข่าวขึ้นไปถึงพระเจ้าหงษาวดีว่า, ยกทัพมาถึงเมืองแครงแล้ว. พระเจ้าหงษาวดีทรงทราบดั่งนั้นก็มีความยินดีว่า, ครั้งนี้จะสมคิดแล้ว, จึ่งให้กองทัพหมื่นหนึ่ง,ออกไปสุ้มไว้ต่อทางพระนเรศวรจะขึ้นมานั้น, ไกลเมืองหงษาวดีวันหนึ่ง. แล้วตรัสให้พระยาเกียรติ, พระยาพระรามลงไปรับ, ถ้าพระนเรศวรยกขึ้นมาแล้ว, เราจะยกทัพหลวงออกตีน่า, ให้พระยาเกียรติพระยาพระรามเอากองทัพทั้งนี้ตีกระหนาบหลัง, จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตรเสียให้จงได้. เมืองหงษาวดีจึ่งจะเปนอิศรภาพไพสาฬกว่าพระนครทั้งปวง, พระยาเกียรติ, พระยาพระรามก็ถวายบังคมลายกทัพไปยังเมืองแครง, ก็ทูลสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าว่า, พระเจ้าหงษาวดีให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้มารับเสด็จขึ้นไป. ทูลเท่าดั่งนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาไปนมัสการพระมหาเถรคันอ่องผู้เปนพระอาจาริย, แจ้งความซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดทำการทั้งปวงนั้น, ให้พระมหาเถรคันฉ่องฟังทุกประการ. พระมหาเถงคันอ่องแจ้งดั่งนั้น, มีใจกรุณาแก่สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, เพื่อว่าหาความผิดมิได้. อนึ่งพระราชกฤษฎาพินิหารบารมีสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, จะได้บำรุงพระบวรพุทธสาศนาแลประชาราษฎร, ให้ถาวรวัฒนาการสืบไป. ครั้นเพลาค่ำมหาเถรคันฉ่องก็ภาพระยาเกียรติ,พระยาพระรามเข้าไปเฝ้าสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, แลถวายพระพรว่า, พระยาเกียรติ, พระยาพระรามนี้เปนษานุสิษรูปมาบอกว่า, พระเจ้าหงษาวดีคิดปทุฐร้ายต่อพระองค์ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าแจ้งดั่งนั้น, ก็ตรัสถามพระยาพระราม,พระยาเกียรติว่า, เหตุผลประการใดพระเจ้าหงษาวดีจึ่งคิดจะทำร้ายเรา, พระยาพระราม, พระยาเกียรติก็กราบทูลตามความซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดแลสั่งนั้นถวายทุกประการ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าได้ทรงทราบดั่งนั้นก็น้อยพระไทย, คิดอาฆาฎแก่พระเจ้าหงษาวดี. จึ่งตรัสแก่พระมหาเถรคันฉ่องว่าซึ่งพระองค์เมตาบอกเหตุการแก่ข้าพระเจ้าทั้งนี้พระคูณนั้นหาที่สุดมิได้. อันพระองค์อยู่ในเมืองมอญนี้พระเจ้าหงษาวดีแจ้ง, อันตรายก็มิเปนมั่นคง. ข้าพเจ้าจะนำพระองคกับพระยาเกียรติ, พระยาพระราม. แลญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่ณกรุงมหานครศรีอยุทธยา, ปติการะสนองคุณพระองค์. แลจะปลูกเลี้ยงพระยาเกียรติ, พระยาพระรามโดยกตะเวทีธรรมประเวณี. พระมหาเถรคันฉ่อง, แลพระยาเกียรติ, พระยาพระรามก็พร้อมโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ตรัสแก่มุขมาตยาโยธาหารทั้งปวงว่า, ความผิดเราหามิได้. ซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดร้ายต่อเราก่อนนั้น, อันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุทธยา, กับแผ่นดินหงษาวดี, ขาดทางพระราชไมตรีกัน. เพราะอกุศลกรรมนิยมสำหรับที่จะให้สมณพราหมณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน. แล้วพระหัตถก็ทรงสุวรรณภิงคารหลั่งอุทกธาราลงเหนือพื้นพระสุธาดล, จึ่งออกพระโอษฐตรัสประกาศแก่เทพยเจ้าทั้งหลาย อันมีมหิทธิฤทธิแลทิพจักษุทิพโสตร, ซึ่งสถิตย์อยู่ทุกทิศานุทิศ, จงเปนทิพยาน. ด้วยพระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัติยประเพณีเสียสามัคคีรศธรรม, ประพฤติพาลทุจริตคิดจะทำภยันตรายแก่เรา. ตั้งแต่นี้ไปกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา, กับหงษาวดีมิได้เปนสุวรรณปัถพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อน, ขาดจากกันแต่วันนี้ไปกราบเท่ากัลปาวสาน. ครั้นพระราชบริหารประกาศ,เปนฉินทภาคยไภยันตรายเสร็จแล้ว, ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงว่า, เราจะยกกลับลงไปพระนครครั้งนี้, จะภาพระมหาเถรคันฉ่อง, แลญาติโยม, กับพระยาพระราม, พระยาเกียรติไป. แล้วจะตีกวาดครอบครัวรามัญหัวเมืองรายทางไปด้วย. ๚ะ
๏ ครั้นณวันศุกรเดือนหกแรมสามค่ำ, เพลาสิบเบ็ดทุ่มให้เอาพระคชาธารเทียบเกย, ทอดพระเนตรเหนพระสาริริกบรมธาตุเสด็จปราฎิหารแต่ประจิมทิศ, ผ่านพระคชาธารไปโดยบูรพทิศ. จึ่งเสด็จพยุหบาตราทัพออกจากเมืองแครง, พระมหาเถรคันฉ่อง, พระยาพระราม, พระยาเกียรติ, แลญาติโยมก็มาโดยเสด็จ. ฝ่ายนายทัพนายกองทั้งปวงก็แยกย้ายกันตีครัวต้อนครัวมาได้ประมาณหมื่นเสศ, ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำสโตง, ก็เที่ยวเก็บเรือหาไม้ผูกพ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้าทั้งปวงถึงฟากน้ำสิ้นก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย. ภอพระเจ้าหงษาวดีแจ้ง, ก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลแสนหนึ่ง, สุระกรรมาเปนกองทัพน่า, ตามมาถึงแม่น้ำสโตงฟากหนึ่ง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทอดพระเนตรเหนดั่งนั้น, ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉ่อง, กับครองครัวรีบยกออกไปก่อน, แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้น, ยังรออยู่ริมฝั่ง. ตรัสให้ทหารปืนหามแล่นนกสับคาบชุดยิงระดมไป, ทหารยิงระดมไปเปนอันมากก็มิได้ถึง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ. ยิงไปต้องสุระกรรมาตายตกจากฅอช้าง. รี้พลมอญทั้งนั้นเหนก็อัษจรรย์, แม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน, กลัวพระเดชเดชาณุภาพ, แลพระมหาอุปราชามิอาจจะตามมาเลิกทัพกลับไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็ยกมาโดยทางเมืองกาญจน์บุรี. ๚ะ
๏ ครั้นถึงพระนครศรีอยุทธยา, ก็กราบทูลเรื่องยุบลกิจทั้งปวง, ถวายให้ทรงทราบทุกประการ. สมเดจ์พระราชบิดาแจ้งดั่งนั้นแล้วก็ตรัสว่า, เราไม่มีผิด, พระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่ในคลองธรรม์เสียสัตยานุสัจ, ประพฤติพาลทุจริตอิจฉาเปนวิสมโลภต่อเราฉนี้, ก็เพราะผลวิบากแห่งสัตวเปนสำหรับกาลกระลียุค, ตั้งแต่นี้ไปมอญกับไทยจะเปนปะระปักข์แก่กัน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็กราบทูลว่า, พระเจ้าหงษาวดีจะยกพยุหแสนยากรข้าศึกมาเท่าใดก็มิได้เกรง, ข้าพเจ้ายังมีชีวิตรอยู่, จะสนองพระคุณมิให้เคืองฝ่าพระบาท. สมเดจ์พระราชบิดากับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ดำริห์การเสร็จแล้ว. จึ่งโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องอยู่ณวัดมหาธาตุ, พระราชทานสัปะทนกันชิงคานหามคนหาม, จันหันนิจพัตรเครื่องสมณบริขารต่าง ๆ. ฝ่ายพระยาเกียรติ, พระยาพระรามนั้น, ก็พระราชทานเจียดทอง, เต้าน้ำทอง, กระบี่บั้งทอง, เงินตราเสื้อผ้าพรรณนุ่งห่ม, แลเครื่องอุประโภคเปนอันมาก. แลครอบครัวมอญซึ่งกวาดลงมานั้น,ก็พระราชทานให้พระยาพระราม, พระยาเกียรติควบคุมว่ากล่าวด้วย. แลพระยาเกียรติ, พระยาพระรามนั้น, ให้อยู่ตำบลบ้านขมิ้นวัดขุนแสน. ญาติโยมพระมหาเถรคันฉ่องนั้น, อยู่ตำบลบ้านหลังวัดนก. แล้วสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า,ก็กราบถวายบังคมลากลับขึ้นมายังเมืองพระพิศณุโลกย์, เสดจ์เข้าไปถวายนมัศการพระชินราช, พระชินสีห์, จึ่งทรงพระราชศรัทธาเปลื้องเครื่องสุวรรณอลังกาขัติยาภรณ์ ออกจากองค์กระทำสการบูชา, แล้วเสด็จออกพร้อมด้วยมุขมาตยมนตรี. ๚ะ
๏ ขณะนั้นหลวงโกษา, แลลูกขุนทั้งปวงผู้อยู่รักษาเมืองนั้น, ก็นำน่าบันดานายไทยใหญ่เข้าเฝ้า, จึ่งบังคมทูลว่า, มีหนังสือนันทสุ, ราชสงคราม, ซึ่งมาตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชร, มาให้ส่งไทยใหญ่, แลครัวซึ่งหนีมาอยู่ณเมืองพระพิศณุโลกย์, พระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จอยู่, ซึ่งจะส่งไปนั้นมิได้. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทราบดั่งนั้น, ก็ตรัสให้มีหนังสือตอบไปว่า, ธรรมดาพระมหากษัตราธิราชผู้ดำรงทศพิธราชธรรมนั้น, อุประมาดั่งร่มพระมหาโพธิอันใหญ่, แลมีผู้มาพึ่งพระราชสมภาร, หวังจะให้พ้นจากไภยอันตรายต่างๆ, ซึ่งนันทสุกับราชสงครามจะให้ส่งไทยใหญ่ไปนั้นไม่ควร, ด้วยล่วงขัติยราชประเพณีธรรม. ฝ่ายนันทสุกับราชสงครามแจ้งดั่งนั้น, ก็ปฦกษากันว่า, สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ยกพยุหบาตราทัพขึ้นไปเมืองหงษาวดีครั้งนี้,เหตุไฉนจึ่งไม่กลับโดยทางเมืองกำแพงเพชรเล่า. บัดนี้ก็มีหนังสือเปนคำฉกรรจ์องอาจมาดั่งนี้, เหนประหลาดนักเราอยู่มีได้. จำจะเลิกครอบครัวเมืองกำแพงเพชรอพยบไปเมืองหงษาวดี,จึ่งจะมีความชอบ แลข่าวดั่งนี้ก็แจ้งไปเมืองพระพิศณุโลกย์.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ให้ประชุมท้าวพระยามุขมนตรีปฤกษาว่า, ซึ่งเราจะละให้เมืองกำแพงเพชรฉิบหาย, พรัดพรากจากภูมลำเนานั้นมิชอบ. เราจะยกไปตีนันทสุกับราชสงคราม, มิให้เอาครัวเมืองกำแพงเพชรไปได้. ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงก็เหนโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ก็ตรัสให้ข้าหลวงไปกุมเอาตัวพม่ามอญ,ซึ่งมาอยู่ประจำหัวเมืองฝ่ายเหนือ,ส่งลงไปณกรุงเทพมหานครสิ้น. แล้วกำหนดไปแก่พระยาสวรรคโลกย์,พระยาพิไชย, ให้โดยเสด็จจะยกไปเอานันทสุ กับราชสงคราม, จึ่งให้ตรวจรี้พลช้างม้า. ครั้นณวันพฤหัศเดือนแปดขึ้นเจ็ดค่ำเพลาชายแล้วห้าบาท, ก็เสด็จพยุหบาตราทัพจากเมืองพระพิศณุโลกย์, ไปเมืองกำแพงเพชร. ๚ะ
๏ ฝ่ายนันทสุกับราชสงครามรู้ข่าวว่า, สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จมา,ก็เลิกรี้พลช้างม้าหนีไปจากเมืองกำแพงเพซร.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงทราบ, ก็ตรัสให้พระยาไชยบูรณ ขุนพะศรี, แลพระหัวเมืองทั้งปวง,ยกกรีธาพลช้างม้าเปนกองทัพน่าล่วงตามไป. พระยาไชยบูรณตามมาทันถึงตำบลแมรกา.นันทสุกับราชสงคราม, ก็ยกรี้พลช้างม้ารบพุ่งพระยาไขยบูรณข้าหลวงทั้งปวงเปนสามารถ. ในขณะนั้นพระยาไชยบูรณขี่ช้างพลายปืนพระราม, ได้ชนช้างนันทสุสู้, ช้างนันทสุได้ล่าง, ช้างพระยาไชยบูรณเลือกเสียทีเปรไป, นันทสุจ้วงฟันไปด้วยฃอง้าว, ต้องนิ้วชี้พระยาไชยบูรณกระทบข้อขาด. ช้างพระยาไชยบูรณกลับได้ล่างค้ำถนัด, ช้างนันทสุทานกำลังไม่ได้ขวางพ่ายไป. ขุนพะศรีขี่ช้างพลายศัตรูพินาศ, ได้ชนด้วยช้างราชสงครามเปนสามารถ, ช้างราชสงครามก็พ่ายแก่ข้าหลวงทั้งสอง. แลนันทสุกับราชสงครามหนีไปโดยทางเมืองเชียงทอง. ครั้งนั้นไทยใหญ่, ชาวแสนหวีอันมาอยู่ณเมืองเชียงทองสกรรธ์แลครัวอพยพมาประมาณสองหมื่นเสศ. แต่ผู้มีบันดาศักดิ์เจ้าฟ้าเมืองจี, เจ้าฟ้าเมืองลองแจไหม่, เมืองปากสมิงดีมายาเยือ, แลไทยใหญ่ช้างม้าทั้งปวง, ก็เอาครัวอพยบออกมาสู่พระราชสมภาร. จึ่งแต่งช้างม้ารี้พลทแกล้วทหารช่วยตามตีนันทสุ, กับราชสงคราม, ถึงตำบลแมงรางซาง, แล้วกลับคืนมายังทัพหลวงตำบลเชียงทอง. ๚ะ
๏ ฝ่ายพระยาพิไชยข้าหลวงเดิมแจ้งว่า, สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, กับพระเจ้าหงษาวดีเปนประปักข์แก่กัน, ก็คิดการกระบถ. ครั้นแจ้งพระราชกำหนดก็มิได้ยกไปโดยเสด็จ. จึ่งซ่องสุมชาวเมืองกวาดครอบครัวของตัว, แลครัวชาวเมืองทั้งปวง, ซึ่งเข้ามาด้วยกันนั้น, ไปณเมืองสวรรคโลกย์, แจ้งความทั้งปวงแก่พระยาสวรรคโลกย์, ๆ ก็ลงใจด้วยกัน, จะยกไปตีเอาเมืองพระพิศณุโลกย์. แต่หลวงปลัด, แลขุนยกกระบัต, ขุนนรนายกไซ้มิได้ลงใจด้วย. พระยาทั้งสองก็ให้คุมเอาหลวงปลัด, แลขุนยกกระบัต, ขุนนรนายกไว้. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า,แจ้งว่า พระยาทั้งสองเปนขบถ จึ่งยกทัพหลวงเสด็จจากเชียงทองไปเมืองสวรรคโลกย์, เสด็จไปทางศุโขไทย, ก็ตั้งทัพหลวงตำบลวัดฤาษีชุม. จึ่งทรงพระกรุณาบัญชาตรัสให้ชาวพ่อชุมนุมพรหมณาจารย, เอาน้ำในบ่อพระสยมภูวนารถ, แลเอาน้ำตระพังโพยศรี, มาตั้งบูชาโดยกิจพิธีกรรมเปนน้ำสัตยาธิฐาน, แลเอาพระศรีรัตนไตรยเจ้าเปนประธาน, ให้ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทหารทั้งหลายกินน้ำสัตยาแล้ว. ครั้นรุ่งทัพหลวงก็เสด็จขึ้นไปโดยทางเขาคับ, ถึงเมืองสวรรคโลกย์ ณวันศุกร์เดือนแปดขึ้นห้าค่ำ,ตั้งทัพหลวงตำบลวัดไม้งาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า, ทรงพระกรุณาแก่พระยาทั้งสอง, ตรัสให้ข้าหลวงเข้าไปร้องประกาษว่า, ให้พระยาทั้งสองออกมาถวายบังคม, ทรงพระกรุณามิได้เอาโทษ. แลพระยาพิไชย, พระยาสวรรคโลกย์มิได้โดยพระราชโอวาท, ทำอุกอาจตวาจตราจัดไพร่พลเมืองขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินป้องกันเมืองไว้. แลพระยาทั้งสองก็ฆ่าหลวงปลัด, ขุนยกกระบัต, ขุนนรนายก, ซึ่งมิลงใจด้วยนั้นไซ้, ตัดเอาศีศะซัดออกมาให้ข้าหลวง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระพิโรธ. ครั้นเพลาค่ำก็ตรัสให้ยกพลทหารเข้าปล้นเมือง, ตำบลประตูสามเกิดแห่งหนึ่ง, ประตูม่อแห่งหนึ่ง ประตูสะภานจันแห่งหนึ่ง, ปล้นแต่ค่ำจนเที่ยงคืน, แลเผาป้อมชั้นนอก, ประตูสามเกิดก็เข้ามิได้. จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามโหราจาริย์ว่า, ยังจะได้เมืองสวรรคโลกย์ฤๅ, โหราจาริย์บังคมทูลว่าจะได้, แต่ซึ่งปล้นข้างประตูสามเกิดนี้, เหนจะได้ด้วยยาก, ถ้าปล้นข้างทิศอุดมแหลมไซ้, เหนจะได้โดยง่าย. เพราะทิศข้างนั้นเปนอริแก่เมือง. จึ่งมีพระราชโองการตรัสให้พระยาไชยบูรณ, ขุนหลวงธรรมไตรยโลกย์, ขุนราชรินทรยกพลจากประตูสภานจัน, มาตั้งข้างประตูดอนแหลม. แล้วให้เร่งแต่งการอันจะเข้าปล้นเอาเมือง. อนึ่งที่ประตูสามเกิด, แลประตูม่อ, แลให้ตั้งพลทหารเข้ารบพุ่งจนสว่างก็ยังมิได้. ๚ะ