- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๓๓
เขาคุรุปทฺ โครงร่างอัฏฐิของพระกัศยปพุทธะอยู่ที่นี่.
ฟาเหียนเดินทางจากสถานที่นี่ลงไปทางทิศใต้ ๖๐ เส้น, ก็ถึงภูเขาแห่งหนึ่งนามว่า คุรุปท,๓๔๖ ซึ่งพระมหากัศยปได้กระทำสถานที่ภายในแห่งหนึ่งไว้เรียบร้อยปรากฏอยู่จนเดี๋ยวนี้. โดยท่านได้กระทำให้เป็นซอก (เข้าไปในลูกเขา), แล้วและลงไปอยู่ภายในนั้น, ซึ่งแม้ (เดี้ยวนี้) ก็ยอมรับกันอยู่ว่า ไม่มีใครสักคนเดียวจะเข้าไปได้. มีสถานที่ลึกเข้าไปไกลมากแห่งหนึ่ง, ณ ที่นั้นเป็นช่องอยู่เบื้องบนด้านหนึ่ง, มีโครงร่างกายของพระกัศยปโดยครบถ้วนบริบูรณ์ตั้งอยู่. ภายนอกช่อง (ที่เข้าไป) เป็นพื้นดินที่ท่านกระทำการล้างมือของท่าน.๓๔๗ เมื่อชาวบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ แถบนั้นผู้ใดมีอาการปวดศีรษะ, เขาก็ไปเอาดินจากที่นั้นมาเล็กน้อยปิดลงบนศีรษะ, จะรู้สึกทันทีโดยไม่ต้องลำบากยากเย็นอย่างไรเลย,๓๔๘ บนภูเขาแห่งนี้, เดี๋ยวนี้ดุจเดียวกับแต่ก่อน, เป็นสถานที่ที่พระอรหันต์ทั้งหลายมาอยู่พักอาศัย. ผู้ที่เคร่งครัดด้วยธรรมวินัยอย่างของเรา (ฟาเหียน), จากในแว่นแคว้นแห่งนครต่าง ๆ ไปมาที่ภูเขาแห่งนี้อยู่ตลอดปี, เพื่อกระทำการถวายเครื่องสักการบูชาพระกัศยป. ในตอนกลางคืนพระอรหันต์ทั้งหลายจะมาสู่สำนักที่ที่พวกมีใจเคารพนับถืออย่างมั่นคงเหล่านั้นพัก, และสนทนากับเขาทั้งหลาย, โดยแสดงความเห็นและวิสัชนากันทั้งสองฝ่าย, แล้วภายหลัง (เสร็จการสนทนา) ก็อันตรธานหายลับตาไปทันที.
บนภูเขานี้มีต้นเฮเซิลส์เกิดขึ้นดาดดื่นรกเต็มไปหมด และเป็นบริเวณที่ชุกชุมด้วยสิงห์ เสือ และสุนัขป่า. ดั่งนั้น ผู้คนที่ท่องเที่ยวไม่มีใครเลยที่จะไม่ต้องระวังตัว.
-
๓๔๖. เขาตีนไก่. เพราะมียอด ๓ ยอดคล้ายกับตีนลูกไก่. ห่างจากพุทธคยาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว ๓๐๐ เส้น. Eitel (หน้า ๕๘) กล่าวไว้ว่า พระมหากัศยปสำนักอาศัยอยู่ในภูเขาแห่งนี้. แต่ความตามในบทนี้ไม่ได้กล่าวถึงว่าพระมหากัศยปมาอยู่ กล่าวเพียงว่าร่างกายของท่านมีอยู่ในซอกภูเขาลูกนี้. Hardy (M. B. หน้า ๙๗) กล่าวว่า ร่างกายของพระกัศยปพุทธะนั้นเมื่อได้เผาเสร็จแล้ว, อัฏฐิที่เหลืออยู่กลับควบคุมกันเข้าปรากฏเป็นร่างโครงโดยเรียบร้อย. พระกัศยปพุทธะที่ Hardy กล่าวนี้ไม่ใช่ศิษย์ซึ่งมีชื่อเสียงขององค์พระศากยมุนี. แต่ Hardy เรียกมหากัศยปะหมือนกัน จึงเป็นที่แย้งกันอยู่. (ดูนามว่า มหากัศยป กับ กัศยปพุทธะ ที่ได้บรรยายไว้แล้วในโน๊ตก่อน ๆ) ↩
-
๓๔๗. เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่ล้างมือด้วยดิน, ดุจเดียวกับที่พบบ่อย ๆ ซึ่งล้างกันด้วยทรายกระนั้นหรือ ? ↩
-
๓๔๘. หายปวดทันทีกระมัง ? ↩