- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๒๔
สถานที่ที่พระพุทธองค์ปฏิเสธโลกทั้งสิ้น (ตรัสรู้).
และสถานที่ที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
จากสถานที่นี่ไปทางทิศตะวันออก ๔ โยชน์, เป็นสถานที่ที่พระรัชทายาทส่งนายฉัณฑกะกับม้าขาวกลับ.๒๖๓ ณ ที่นี้มีสตูปสร้างขึ้นไว้องค์หนึ่ง.
จากสถานที่นี้ต่อไปอีก ๔ โยชน์, ฟาเหียนไปถึงสตูปพระอังคาร,๒๖๔ ณ ที่นี้เป็นอารามแห่งหนึ่งดุจเดียวกัน.
เดินทางต่อไปทางทิศตะวันออกอีก ๑๒ โยชน์, ฟาเหียนกับพวกถึงเมืองกุศานคร,๒๖๕ ซึ่งทางทิศเหนือเป็นระหว่างไม้ทั้งสอง,๒๖๖ อันอยู่บนฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรา,๒๖๗ เป็นสถานที่ที่พระบรมโลกนาถบันทมหันเบื้องพระเศียรไปทางทิศเหนือ, (เสด็จดับขันธ์) บัลลุปรินิพพาน, ณ ที่แห่งเดียวกันนี้ เป็นสถานที่ที่พระสุภัทร๒๖๘บรรลุญาณปัญญาเป็นที่สุด (สำเร็จพระอรหัตต์). (และเป็น) สถานที่ที่ประดิษฐานหีบทองไว้ กระทำการสักการบูชาพระบรมโลกนาถ ๗ วัน.๒๖๙ ณ ที่ที่วัชรปาณีวางคธาทองของตน.๒๗๐ และสถานที่ที่กษัตริย์ทั้ง ๘ แบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุ,๒๗๑ เหล่านี้ได้มีพระสตูปและอารามสร้างไว้ทุกแห่ง, ซึ่งทั้งหมดยังคงมีอยู่จนเดี๋ยวนี้.
ในเมืองนี้ประชาชนพลเมืองมีน้อย, และอยู่ในระหว่างห่างๆ กัน, รวมฉะเพาะทั้งครอบครัวที่เป็นของ (ต่างหากจาก) ภิกษุสงฆ์สมาคมทั้งหลายด้วย.
ไปจากสถานที่นี้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง ๑๒โยชน์, ถึงสถานที่ที่ชาวลิจฉวีจะติดตามพระพุทธองค์ (ไปให้ถึงสถาน) ที่ที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน. และเมื่อพวกเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว, และพระองค์ทรงปรารถนาที่จะแยกกับพวกที่ไม่สมัครเหล่านั้นให้พ้นไป, จึงทรงบันดาลให้ปรากฏเป็นคลองทั้งใหญ่และลึก (ขึ้นขวางหน้า), ซึ่งพวกเหล่านั้นไม่สามารถจะข้ามได้. แล้วพระองค์ได้ประทานบาตรของพระองค์ให้แก่พวกเหล่านั้น, เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเคารพนับถือของตน, แล้วและรับสั่งให้พวกเหล่านั้นกลับคืนไปสู่ครอบครัวของเขาทั้งหลาย. ณ ที่นี้มีเสาหินสร้างไว้ต้นหนึ่ง, ได้แกะสลักตัวอักษรบอกเรื่องราวไว้ที่เสานั้น.
-
๒๖๓. ในคืนที่สุดเมื่อพระศากยมุนีละจากพระราชวังและพระราชวงศ์ได้สำเร็จตามวิถีที่พระองค์มีความรู้สึกอยู่แล้วนั้น, พระองค์ได้ทรงเรียกนายฉัณฑกะ (บาลี-ฉันนะ), ซึ่งเป็นคนขับรถของพระราชกุมาร, และเป็นผู้ร่วมใจกับพระองค์. รับสั่งให้ผูกม้าขาวกัณฐกอัศวราช, ม้ากัณฐกอัศวราชก็ส่งเสียงร้องขึ้นจนได้ยินถึงเทพดาทั้งหลาย, ต่างก็ชื่นชมโสมนัสยินดี, แล้วพระองค์กับนายฉัณฑกะก็ออกจากนครไป. (ดูหนังสือ M. B. หน้า ๑๕๘-๑๖๑, กับ Davids’ Manual หน้า ๓๒-๓๓). ตามหนังสือปฐมสมโพธิ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๑๑๐-๑๒๕, กับ Buddhist Birth Stories หน้า ๘๗, ว่าเสียงกัณฐกะร้องนั้น. เทพดากำบังเสียงเสียไม่ให้ผู้คนได้ยิน. และว่ากัณฐกอัศวราชไม่ได้กลับนคร, ตายลงในระห่างทางกลับเพราะด้วยความเศร้าโศก, และในทันทีนั้นก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรตรึงศ์, เป็นเทพบุตรมีนามว่ากัณฐกะ. คงทิ้งให้นายฉันฑกะกลับคนเดียว. ↩
-
๒๖๔. ปฐมสมโพธิ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๔๗๘-๔๗๙, เรียกว่ามกุฎพันธนเจดีย์. ↩
-
๒๖๕. ในบาลีเป็นกุสินารา. เดี๋ยวนี้ร้าง, ตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงเหนือของปัตนะ ๗,๒๐๐ เส้นเศษ, ตะวันออกเฉียงเหนือของเพนาเรส (พาราณสี) ๔,๘๐๐ เส้น, ตะวันออกของกบิลพัสดุ ๓,๒๐๐ เส้น. ↩
-
๒๖๖. ต้นศาล. The Shorea robuta, ในหนังสือเล่มนี้ Legge อธิบายว่า เป็นไม้มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับไม้สัก. ศาล สํสกฤต, บาลีเป็น สาล แปลกันว่าไม้รัง. แต่เดี๋ยวนี้ได้ไปตรวจพบต้นศาลในอินเดียแล้ว, รู้กันว่าไม่ใช่ต้นรังแน่. แต่จะตรงกับต้นไม้อะไรในเมื่องไทย, ยังไม่มีใครพิศูจน์ ↩
-
๒๖๗. Eitel ว่าแม่น้ำหิรัญวดี, ซึ่งในอดีตมีกระแสน้ำไหลผ่านนครจากเหนือลงใต้. ปฐมสมโพธิ (ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๔๕๙) ก็เรียกหิรัญวดีเหมือนกัน. ↩
-
๒๖๘. ใน Buddhist Suttas หน้า ๑๐๓-๑๑๐ กล่าวว่า สุภัทรเป็นพราหมณ์ชาวเมืองเพนาเรส, กล่าวกันว่าชราอายุถึง ๑๒๐ ปี, มาขอเรียนธรรมจากพระพุทธองค์ในคืนวันที่จะปรินิพพาน. พระอานนท์ห้าม, แต่พระพุทธองค์รับสั่งให้นำเข้าไปเฝ้า. ปัญหาที่สุภัทรยกขึ้นตั้งถามพระพุทธองค์นั้นไม่สำคัญประการใด, พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาพระธรรมวินัย, ด้วยความเฉลีบวฉลาดของสุภัทร, ก็เห็นแจ้งสำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์. ปฐมสมโพธิ (พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๔๖๕) ไม่มีบอกว่าพระสุภัทรเป็นชาวเมืองไหน, และมิได้กล่าวถึงอายุ. Eitelกล่าวต่อไปว่า เมื่อพระสุภัทรสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว, ก็นิพพานก่อนเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์นิดหน่อย. ↩
-
๒๖๙. ในการที่พระพุทธองค์ปรินิพพานเช่นนี้, ต้องกระทำกันดุจดั่งพระมหาจักรพรรดิราช. Hardy’s M. A. หน้า ๓๔๗ กล่าวไว้ว่า สถานที่สำหรับถวายพระเพลิงนั้น, กษัตริย์ครองกุสินาราถวายโรงงานพระราชพิธีของประกอบขึ้นด้วยหิน (Sacophagus) ชนิดหนึ่งซึ่งปิดทอง. ดูเรื่องการเผาศพอีกแห่งหนึ่งซึ่งฟาเหียนกล่าวในตอนถึงสิงหลบทที่ ๓๐. ปฐมสมโพธิ (ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๔๗๗-๔๗๙) ว่า ตั้งทำการบูชาอยู่สาลอุทยาน (ซึ่งเป็นที่เสด็จดับขันธ์) ๖ วัน, แล้วแห่เข้าสู่กลางนครกุสินารา, ประดิษฐานยังมกุฎพันธนเจดีย์, แล้วถวายพระเพลิง. หีบพระบรมศพกล่าวแต่ว่าเป็นหีบทอง, ห่อพระบรมศพด้วยผ้าทุกกุลพัตรห้าร้อยชั้นแล้วจึงบรรจุลงในหีบ. ↩
-
๒๗๐. นามว่าวัชรปาณี, มีอรรถาธิบายว่า ผู้ถือคธาเพชรหรือพระขรรค์. วัชรปาณีเป็นนามหนึ่งในจำนวนนามทั้งหลายของอินทรหรือสักก. เป็นเทพผู้ป้องกันพุทธศาสนาอย่างสำคัญองค์หนึ่ง, เพราะฉะนั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นความตั้งใจของวัชรปาณีในการมาที่นี่. แต่การที่จะวิจารณ์ความที่ฟาเหียนกล่าวไว้ลอย ๆ ในวรรคนี้ว่าหมายถึงอะไรนั้น ไม่ใช่ง่ายนัก. ในปฐมสมโพธิก็ไม่มีกล่าวถึงเรื่องวัชรปาณีมาวางคธาที่นี่, ปรากฏเพียงว่าท้าวมัฆวาฬกล่าวคาถาอนิจจลักษณะอยู่บนสวรรค์. ใน Hardy ก็ไม่ให้ความเข้าใจได้อย่างไร. กษัตริย์แห่งกุศานครได้ป่าวร้องเชิญมัลลกษัตริย์ที่สามารถเข้มแข็ง เช่นปาวาและไวศาลีก็ได้มาในงานนี้, ฟาเหียนจะหมายถึงใครสักคนหนึ่งในพวกกษัตริย์นั้นหรือเปล่าก็เหลือที่จะเดา. ถ้าหมายตรง ๆ ถึงองค์วัชรปาณี, ก็ควรจะให้คำอธิบายเสียด้วยว่าต้องวางคธาเพราะเหตุไร? ↩
-
๒๗๑. กุศานคร, ปาวา, ไวศาลี, และราชอาณาจักรอื่นๆ เหล่านี้, ที่ต้องประสงค์พระบรมอัฏฐิพระพุทธองค์ทั้งนั้น. แต่ในที่สุดได้ยอมให้โทณพราหมณาจารย์เป็นผู้แบ่งปันเป็น ๘ ส่วน. (ดูปฐมสมโพธิ พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๔๙๒-๔๙๕).
เป็นประเทศราชเล็กๆ .ที่เข้มแข็งรวมกันสหรัฐ, มีนครไวศาลีเป็นหัวหน้า. ชาวนครเหล่านี้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่แรกอุบัติขึ้น, และเคารพนับถือพระพุทธองค์เอาจริงจังอย่างประหลาด. การประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ก็ทำที่นครไพศาลี, ซึ่งมีกล่าวต่อไปในบทหน้า บัดนี้เป็นนครร้างอยู่พัสสหารทิศเหนือของปัตนะ. และอีกแห่งหนึ่งที่เพสารหะทิศเหนือของหัชชิปุระ. (ดูหนังสือ Beal’s Revised Version หน้า l ๒) ↩