- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๑๕
พิทะ ความกรุณาของภิกษุทั้งหลายซึ่งมีแก่ฟาเหียน.
กับพวกที่ท่องเที่ยวมา.
ภายหลังเมื่อฟาเหียนกับพวกได้ข้ามแม่น้ำแล้ว, ก็ไปถึงจังหวัดหนึ่งมีนามว่าเป-ถู๑๓๘ ณ ที่นี้พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก และพระภิกษุได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งสองนิกาย คือ ทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน. เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นเห็นพวกเพื่อนสาวกอันเป็นภิกษุด้วยกัน (ฟาเหียนกับพวก) จากตฺซินผ่านมาโดยทางไกล, พระภิกษุเหล่านั้นมีความสมเพชและเมตตากรุณามาก, รีบจัดการสงเคราะห์และสนทนาปราศรัยไต่ถามฟาเหียนว่า “การที่ฟาเหียนกับพวกมาจากแดนไกลเช่นนี้, มีความประสงค์จะศึกษาเล่าเรียนเพื่อการที่จะเข้ามาเป็นพระภิกษุ๑๓๙แล้วกระนั้นหรือ, หรือว่าเพื่อจะเสาะแสวงหาพระพุทธโอวาทและธรรมวินัยของพระองค์, จากในทางอันไกลเช่นนี้?” พระภิกษุในที่นั้นได้แจกปันเครื่องอาหารการบริโภค, กับสิ่งจำเป็นซึ่งขาดตกบกพร่องอยู่ตามความประสงค์ทุกอย่าง. และได้ยอมรับรองฟาเหียนเข้าร่วมกระทำกิจด้วยตามกฏเกณฑ์แห่งธรรมวินัย.