- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๑๑
ตักษศิลา นิยายเรื่องหนึ่ง มหาสตูป ๔ องค์
เจ็ดวันเป็นระยะเวลาที่ฟาเหียนกับเพื่อนภิกษุได้ออกเดินทาง (จากคันธาระ) ต่อไปทางทิศตะวันออก, จนบรรลุถึงราชอาณาจักรตักษศิลา.๙๘ ซึ่ง (นามคำนี้) ในภาษาจีนแปลความว่า ‘ศีรษะที่ถูกตัดออกแล้ว,’ ณ ที่นี้เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้ายังเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์อยู่, ได้ทรงประทานพระเศียรของพระองค์ให้กับชายคนหนึ่ง.๙๙ และจากเหตุการณ์เรื่องนี้ ราชอาณาจักรแห่งนี้, จึงได้รับนามตามความหมายที่กล่าวแล้ว.
เมื่อได้เดินทางไกลออกไปทางทิศตะวันออกอีก ๒ วัน, ฟาเหียนกับเพื่อนสงฆ์ก็ถึงตำบลซึ่งเป็นสถานที่ที่ (เมื่อกาลครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ยังเสวยพระชาติเป็น) พระโพธิสัตว์ ได้ทรงยอมทอดพระสรีระร่างของพระองค์เองลงให้เป็นอาหาร แก่นางเสือซึ่งกำลังอดอยากหิวโหยอยู่.๑๐๐ ณ สถานที่ทั้ง ๒ แห่งนี้, มีผู้สร้างพระมหาสตูปขึ้นไว้, พระสตูปทั้งคู่ทุก ๆ ชั้นประดับประดาด้วยสิ่งอันประเสริฐงดงามยิ่งนัก. บรรดากษัตริย์และเสนาอมาตย์ราษฎร ซึ่งอยู่ตามอาณาจักรโดยรอบ (สตูป) ต่างประกวดกันจัดหาสิ่งของน้อมนำมากระทำการสักการะบูชาแด่พระสตูป. มีฝูงชนชักนำกันมากระทำการสักการบูชา ณ สถานที่นี้มิหยุดหย่อน จนเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้และสว่างไสวไปด้วยแสงแห่งโคมไฟ. บรรดาประชาชนทั้งหลายเรียกพระสตูปเหล่านี้ว่า มหาสตูปทั้ง ๔. (สตูปอีก ๒ องค์ได้กล่าวไว้แล้วในบทก่อน).
-
๙๘. (ดู Julien’s Methode pour déchiffrer et transcrire les Noms Sanscrits หน้า ๒๐๖). Eitel กล่าว่า ตักษศิลาของกรีกนั้น คือเขตแขวงที่อยู่ใกล้กับฮูซัน อับดุลตะวันออก. แต่ตำบลที่กล่าวแล้วนี้ ไม่ตรงกับความปรารถนาที่เราใคร่จะทราบ. Cunningham กล่าวไว้เป็นที่น่าเชื่อว่าจะถูกต้องได้ (ใน Ancient Geography of India หน้า ๑๐๘-๑๐๙) คือ ภูมิประเทศแถบอาเรียนส์ ตักษศิลาซึ่งอยู่แถบตอนบนของแคว้นปันจาบ,- และยังเหลือซากที่สลักหักพังอยู่ในแขวงสหเทรี อันอยู่ในระหว่างแม่น้ำสินธุกับไฮตัสปี่ส์ (วิตัสตา), ปัจจุบันนี้เรียกเจลัม. ดูแผนที่ข้างต้นเล่มนี้. แม้ว่า Cunningham จะได้ชี้แจงไว้อย่างชัดเจนแล้วถึงเพียงนี้ก็ดี. แต่ตักษศิลาของฟาเหียนก็ยัง (ปรากฏตามระยะทางเดิน) ว่าเป็นอีกแห่งหนึ่ง คือทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสินธู, และเป็นในระหว่างแม่น้ำกับแคว้นคันธาระ ซึ่งฟาเหียนได้เดินทางจากคันธาระไปทางทิศตะวันออกถึง ๗ วันจึงบันลุถึง, แต่เราก็รู้ไม่ได้ว่าเขาหยุดพักทำธุระอะไรในระหว่างทางเดินบ้างหรือไม่, เราคำนวณได้ตามวันเฉพาะเท่าที่ฟาเหียนบอกไว้เท่านั้น. ↩
-
๙๙. เป็นเรื่องนิยายในชาดก. ดูหนังสือ Spence Hardy’s ใน Manual of Buddhist หน้า ๙๑-๙๒. เรื่องนี้เป็นกาลครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสวยพระชาติบังเกิดเป็นพราหมณ์อยู่ในชนบททลิททิ. และด้วยกุศลบารมี พราหมณ์ผู้นี้ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลกในชาติหน้า ↩
-
๑๐๐. เป็นเรื่องนิยายในชาดก. ↩