- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๑๘
กัญญากุพช์หรือกเนาจ์.
พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา.
ฟาเหียน พักอยู่ที่วิหารพระยานาคจนกระทั่งภายหลังเวลาเมื่อสิ้นฤดูร้อนแล้ว,๑๙๓ จึงออกเดินทางต่อไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ๗ โยชน์, ก็บรรลุถึงนครกัญญากุพช์,๑๙๔ ซึ่งอยู่ตามยาวบนฝั่งของแม่น้ำกันจี.๑๙๕ นครนี้อารามอยู่ ๒ แห่ง, พระภิกษุในอาราม ศึกษาเล่าเรียนทางฝ่ายหินยาน. มีสถานที่แห่งหนึ่งห่างจากนครไปทางทิศตะวันตก ๑๒๐ หรือ ๑๔๐ เส้น, อยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำกันจี, เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่บรรดาสานุศิษย์. เล่าต่อ ๆ กันมาว่า เรื่องราวของพระองค์ที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนานั้น คือความขมขื่นอันบังเกิดจากความแค้นเคือง, และความประมาทเย่อหยิ่ง, เป็นสิ่งที่ปราศจากความถาวร, และไม่เที่ยงแท้. ร่างกายมนุษย์นั้นเป็นประดุจฟองลมหรือฟองน้ำที่ลอยอยู่, ที่ตำบลนี้มีผู้สร้างสตูปไว้องค์หนึ่ง, ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้.
ฟาเหียนได้เดินทางข้ามแม่น้ำกันจีลงไปทางทิศใต้ ๓ โยชน์, ก็ถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งมีนามว่าอา-ลี.๑๙๖ อันประกอบไปด้วยสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา, และสถานที่ทรงนั่งประทับ, กับสถานที่ที่เสด็จเดินประพาส, บรรดาสถานที่เหล่านี้ได้มีผู้สร้างสตูปไว้ทั้งนั้น.
-
๑๙๓. คงจะเป็นปี พ.ศ. ๙๔๘. ↩
-
๑๙๔. คือกเนาจ์, ได้กล่าวถึงสถานที่ตั้งไว้แล้วในบทก่อน, นามนี้ในภาษาสํสกฤต หมายถึงว่านครแห่งนางสาวหลังค่อม. ซึ่งเกี่ยวกับนิทานเรื่องหนึ่งมีว่า ธิดาพระเจ้าพรหมทัตต์ ๑๐๐ องค์ ถูกคำสาปแช่งของฤๅษีมหาพฤกษ์ให้เสียโฉมกลับเป็นขี้ริ้ว. ↩
-
๑๙๕. คือแม่น้ำคงคา. กล่าวกันว่าเป็นน้ำมนต์ และไหลจากสวรรคลงมาสู่มนุษยโลก. ↩
-
๑๙๖. หมู่บ้านแห่งนี้ในหนังสือจีนบางฉบับว่าเป็นป่า. เป็นการยากที่จะรู้จักได้ชัดเจน. ↩