- คำนำ
- บทนำ
- ประวัติพระภิกษุฟาเหียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
- บทที่ ๓๕
- บทที่ ๓๖
- บทที่ ๓๗
- บทที่ ๓๘
- บทที่ ๓๙
- บทที่ ๔๐
- จบ
บทที่ ๒๑
พระพุทธเจ้าก่อนพระศากยมุนี ๓ พระองค์.
จากนครศราวัสตีไปทางทิศตะวันตก ๑,๐๐๐ เส้น, ฟาเหียนไปถึงเมืองหนึ่งมีนามว่าทู-วาย,๒๒๖ ซึ่งเป็นสถานที่ที่อุบัติของพระกัศยปพุทธะ,๒๒๗ กับสถานที่ที่พระองค์พบกับพระพุทธบิดาของพระองค์,๒๒๘ และสถานที่ที่พระองค์เสด็จบรรลุสู่ปรินิพพาน, ซึ่งได้มีพระสตูปอยู่แล้ว (ทั้ง ๓ แห่ง). บนสถานที่ที่บรรจุพระบรมธาตุโดยบริบูรณ์ครบถ้วน ร่างกายทั้งองค์ของพระกัศยปตถาคต๒๒๙นั้น, ได้สร้างเป็นสตูปดุจเดียวกัน (มีขนาด) ใหญ่โตมาก.
ไปทางตะวันออกเฉียงใต้จากนครศราวัสตี ๑๒ โยชน์, ฟาเหียนไปถึงเมืองหนึ่งมีนามว่านะ-ไพ-กีอา,๒๓๐ ซึ่งเป็นสถานที่อุบัติของพระกรกุจันท-พุทธะ๒๓๑ และสถานที่ที่พระองค์พบกับพระพุทธบิดาของพระองค์, กับสถานที่ที่พระองค์เสด็จบรรลุปรินิพพาน, ซึ่งได้มีสตูปที่ได้ก่อสร้างไว้แล้ว. จากสถานที่แห่งนี้ต่อไปทางเหนือเกือบ ๑ โยชน์, ฟาเหียนไปถึงตำบลหนึ่ง, ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดของพระกนกมุนีพุทธะ,๒๓๒ และสถานที่ที่พระองค์พบกับพระพุทธบิดาของพระองค์, กับสถานที่ที่พระองค์เสด็จบรรลุสู่ปรินิพพาน, ซึ่งได้มีสตูปที่ได้ก่อสร้างไว้แล้ว.
-
๒๒๖. Beal กล่าวตามคำ Cunningham ว่าเป็นตัทวะ. เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกของสาหรมหัต, ห่างจากกันในราว ๓๖๐ เส้น. สถานที่เกิดของพระกัศยปพุทธะอยู่ในแคว้นเพนาเรส (พาราณสี). ↩
-
๒๒๗. Beal กล่าวตามคำ Cunningham ว่าเป็นตัทวะ. เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกของสาหรมหัต, ห่างจากกันในราว ๓๖๐ เส้น. สถานที่เกิดของพระกัศยปพุทธะอยู่ในแคว้นเพนาเรส (พาราณสี). ↩
-
๒๒๘. ดูเหมือนจะต้องการให้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีการพบกันกับพระชนกของพระองค์เสมอ แต่ที่กล่าวว่าพระศากยมุนี ได้พบกับพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดานั้น, อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเป็นความจริงหรือคะเนว่าจะเป็นความจริง. ↩
-
๒๒๙. ตถาคต, คำนี้เป็นสรรพนามสูงที่สุดสำหรับใช้แก่พระพุทธเจ้าอันเป็นที่เคารพยอดยิ่งทุกพระองค์ ในภาษาจีน 世宋. Hardy ทำความเห็นในเรื่องราวของพระกัศยปพุทธะไว้ (M. B. หน้า ๙๗) ว่า ภายหลังเมื่อได้ถวายพระเพลิงแล้ว, ชาวชมพูทวีปทวีปได้ประชุมพร้อมใจกันสร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง สูง ๑ โยชน์, บรรจุพระบรมธาตุซึ่งปรากฏว่ามีครบบริบูรณ์ทั้งร่างกายไว้. ↩
-
๒๓๐. นะ-ไพ-กีอา หรือนภิค, เป็นนามซึ่งไม่มีกล่าวถึงในที่อื่นอีก. Eitel กล่าวว่า นครที่พระพุทธเจ้าองค์นี้เกิดนั้นชื่อคานโฮ, และ Hardy ว่าเมขละ, ซึ่งอาจจะเป็นนามที่ออกเสียงตามภาษาสํสกฤต. ↩
-
๒๓๑. ดูหน้า ๘๙ บทที่ ๑๗ โน๊ต ๒ ↩
-
๒๓๒. ดูหน้า ๘๙ บทที่ ๑๗ โน๊ต ๒ ↩