- คำนำ
- ๑. สนุกในน้ำ
- ๒. สวนพฤกษศาสตร์
- ๓. พริกไทย
- ๔. การใช้รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส
- ๕. อพยบ
- ๖. อุปถัมภ์ศิลปะ
- ๗. น้ำท่วมทุ่ง
- ๘. ผุดผลุด
- ๙. สาดน้ำ
- ๑๐. อัครวาที
- ๑๑. อ่านหนังสือ
- ๑๒. ผสมผสาน
- ๑๓. ประสพย์ ประสพ ประสบ
- ๑๔. ผสมผสาน (๒)
- ๑๕. บันทึก “คาวัวร์” ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- ๑๖. ผสมผสาน (๓)
- ๑๗. ในอินเดีย
- ๑๘. คดีในศาล
- ๑๙. เหตุแห่งความแพ้
- ๒๐. ที่เกิดแห่งยุง
- ๒๑. เบลเยียม
- ๒๒. กฎหมายเป็นกลางของ ส.ป.ร.
- ๒๓. ฝักฝ่ายตุรกี
- ๒๔. โฆษณาชวนเชื่อ
- ๒๕. ทายถูกและผิด
- ๒๖. มูลเหตุแห่งสงคราม
- ๒๗. ยิบฺรอลตาร์
- ๒๘. ภัยสามชนิด
- ๒๙. สันนิบาตชาติ
- ๓๐. ผสมผสาน (๔)
- ๓๑. บวชวัดพระแก้ว
- ๓๒. ปมด้อย
- ๓๓. สารกถา ว่าด้วยประชาธิปัตย์ วิธีรักษาความเป็นไทแก่ตนของอังกฤษ
- ๓๔. ประชาธิปัตย์และศึกษา
- ๓๕. ประชาธิปัตย์แลหนังสือพิมพ์
- ๓๖. เรื่องหญิงคนชั่ว
- ๓๗. ปัญหาสังสรรค์
- ๓๘. คนขอทาน
- ๓๙. เทียบประชาธิปัตย์อดีตกับปัจจุบัน
- ๔๐. สารกถา
- ๔๑. เทียบประชาธิปัตย์ อดีตกับปัจจุบัน
- ๔๒. อินฟฺลวนซา ปราบโรคเรื้อน
- ๔๓. สหกรณ์ในพม่า
- ๔๔. ลักษณะรัฐบาลอเมริกา
ประชาธิปัตย์และศึกษา
ประชาธิปัตย์ที่เราเขียนหมายความในที่นี้ ถ้าจะแปลกว้าง ๆ ก็ว่า รัฐบาลแบบที่ประชาชนพลเมืองเป็นผู้บงการปกครองตนเอง นัยหนึ่งเป็นระบอบดำเนินการบ้านเมืองทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งอำนาจในที่สุดมีที่อาศัยอยู่ในปวงชน หรือได้กำเนิดจากปวงชนเอง แลปวงชนจะใช้อำนาจนั้นโดยตนเอง ตามวิธีที่เรียกในตำราว่า “ประชาธิปัตย์แบบตรง” ก็ได้ หรือมิฉะนั้นใช้แบบอื่น ซึ่งจะได้กล่าวบริยายในโอกาสข้างหน้าต่อไป) ที่ได้
ที่เรียกว่า “แบบตรง” คือวิธีที่ราษฎรทั้งหมดเข้าชุมนุมลงมติกันโดยตนเองในเรื่องการงานของบ้านเมือง ว่าส่วนมากของพลเมืองต้องการอย่างไรในเรื่องปัญหาที่ยกขึ้นปรึกษา ยกตัวอย่างเป็นต้นว่า ในเมืองพระพุทธเจ้าครั้งพุทธกาล แลก่อนนั้นขึ้นไปปวงชนไปเข้าชุมนุมโดยตนเอง ปรึกษาตกลงกันทั้งในเรื่อง “บริหาร” ด้วยแลตัดสินคดีด้วย สำนักชุมนุมเช่นนี้มศาลากลางเรียกว่า “สันถาคาร” แลในชุมนุมนั้นเลือกตั้งผู้หนึ่งให้เป็นประธานเรียกว่า “ราช” แต่ไม่ใช่เจ้า ราชผู้เป็นประธานในอินเดียเมืองพระพุทธเจ้าสมัยนั้น ก็คล้ายกับเปรซิเด็นต์ในสมัยนี้ ส่วนในยุโรปโบราณ ก็มีรีปับลิคเล็ก ๆ ในเมืองกรีกเป็นต้น ซึ่งประชาชนพลเมือง ประชุมลงมติในเรื่องการงานของตนเช่นกัน นี้เรียกในตำราว่าประชาธิปัตย์แบบตรง
ในปัจจุบันประชาชนหมู่หนึ่ง ๆ มิได้มีจำนวนนับเพียงร้อยหรือพันคนอย่างในเวลาโบราณ พลเมืองของประเทศน้อยใหญ่เวลานี้ มีจำนวนนับเป็นล้าน ๆ ทั้งนั้น จะนัดมาประชุมกันให้หมด หรือแม้แต่เพียงส่วนมากก็ไม่ได้ อนึ่ง กิจการบ้านเมืองทุกวันนี้ ย่อมมีปัญหายาก ๆ พ้นที่ปัญญาคนสามัญจะหยั่งถึง จึงต้องใช้แบบ “ไม่ตรง” คือให้ปวงชนเลือกผู้กอบด้วยสติปัญญาโดยจำนวนน้อยคน ให้เป็นผู้แทนคนจำนวนมาก คนจำนวนมากต้องใช้ความคิดเพียงว่าจะเลือกใครในพวกที่สมัครเท่านั้น กิจการต่อนั้นไปเป็นธุระของคนจำนวนน้อย คือผู้รับเลือกเป็นผู้แทนคนจำนวนมาก ผู้แทนจะออกความเห็นหรือทำอะไรลงไป ก็สมมติว่าทำตามความเห็นชอบของคนส่วนมากที่ตนเป็นผู้แทน แต่อันที่จริงเป็นเพียงสมมติเท่านั้น คนส่วนมากไม่ล่วงรู้พอที่จะเห็นชอบไปทุกอย่างได้
ประชาธิปัตย์ที่ใช้กันในเวลานี้ มีชนิดต่าง ๆ กัน เช่นที่เรียกว่า ประชาธิปัตย์แบบปาลิเม็นต์ (อย่างอังกฤษ) ประชาธิปัตยแบบเรเฟอเรนดัล (อย่างสวิตเซอแลนด์) และประชาธิปัตย์แบบเปรซิเดนต์ (อย่างอเมริกา) เป็นต้น แต่ประชาธิปัตย์ที่สักแต่ใช้ชื่อว่าประชาธิปัต แต่อันที่จริงใช้แบบดิกเตเตอร์บงการโดยอาญาสิทธ์เด็ดขาดนั้น อยู่นอกตำรา
ก็เมื่อประชาธิปัตย์เป็นระบอบรัฐบาล ซึ่งประชาชนปกครองตนเองเช่นนี้ ถึงแม้จะใช้แบบ “ไม่ตรง” เช่นประชาธิปัตย์แบบปาลิเม็นต์อย่างอังกฤษก็ตาม ประชาชนพลเมืองก็จะต้องมีความรู้บ้าง อย่างน้อยพออิโหน่อิเหน่ ถ้าไม่รู้เสียเลยว่าความต้องการแท้จริงของตนอย่างไร ก็จะมีส่วนในการปกครองกระไรได้ เปรียบเหมือนทารก เมื่อหิวก็รู้ว่าความต้องการของตนนั้นคือกิน แต่ที่จะรู้ว่าจะกินอาหารชนิดไหน จึงจะเป็นเลือดเป็นเนื้อให้เติบโตปราศจากเจ็บไข้นั้น ยังรู้ไม่ได้ ต่อไปอีกคั่นหนึ่ง ก็จะต้องรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้อาหารมากินยืดยาวไม่มีวันอด ทารกรู้ไม่ได้ ผู้ปกครองจึงต้องให้กินอาหารแลจัดหาอาหารมาไว้ให้กินไปจนทารกค่อยรู้ความ ก็ค่อยรู้เลี้ยงตัวมากขึ้น แม้จะยังอยู่ในความเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ก็อาจช่วยในการเตรียมหาอาหารมากขึ้น ๆ ถ้าอยู่ตามไร่นาก็ช่วยเลี้ยงควายเป็นต้น ดังนี้ทารกที่ยังไม่โตจะให้มีส่วนในการเลี้ยงตัวเองก็ยังไม่ได้ เมื่อเติบโตขึ้นก็ทำได้มากขึ้น ๆ ตามลำดับความรู้ที่มีมาตามวัย
ฉันใดทารก ฉันนั้นราษฎรพลเมืองที่ยังอ่อนความรู้ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความต้องการแท้จริงของ ตนเอง และของบ้านเมืองตราบนั้น จะมีส่วนในการปกครองให้เป็นพักเป็นผลยังไม่ได้ ประชาธิปัตย์แบบปาลิเม็นต์ก็ต้องการคนมีความรู้เหมือนแบบอื่น แต่ต้องการน้อยคน คนจำนวนมากมีหน้าที่เพียงจะเลือกตั้งคนจำนวนน้อยเป็นผู้แทนของตนเท่านั้น แต่ถึงกระนี้คนจำนวนมากก็ต้องมีความรู้บ้าง จึงจะมีความเห็น ถ้าไม่มีความรู้ที่ไม่สามารถจะเห็นได้ว่า ในพวกผู้สมัครจะเป็นผู้แทนนั้น คนใดมีความเห็นลงแนวกับที่ตนเองเห็นว่า จะถูกกับความต้องการของบ้านเมืองสมควรจะได้รับเลือก เมื่อมีความเห็นอันเกิดแต่ความรู้แล้ว จึงจะให้คะแนนเลือกผู้สมัครที่ดีที่สุดตามความเห็นของตน
ส่วนผู้รับเลือก (นัยหนึ่งสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎร) นั้นเล่า ถ้าผู้รับเลือกต้องมีความรู้บ้าง ผู้รับเลือกก็ยิ่งต้องมีความรู้สูงขึ้นไปอีกหลายเท่า มิฉะนั้นก็รับเลือกเข้าไปเหลว ๆ ไม่ได้ทำอะไร แต่การไม่ทำอะไรนั้น ยังดีกว่าทำความผิดมาก
ดังนี้แหละจึงเป็นคำที่กล่าวกันว่า ประชาธิปัตย์ต้องได้รับการศึกษา (เอ็ดยูเคตเตด) จึงจะรุ่งเรืองได้ ถ้าประชาธิปัตย์ไหนยังมิได้รับการศึกษา ก็จะต้องช่วยกันลากลู่ถูกัง ประชาธิปัตย์นั้นไปก่อน การลากลู่ถูกังนั้น ถ้าพวกลากเป็นผู้จงรักภักดีต่อหน้าที่ ก็คงจะทำได้สำเร็จ หากจะช้าหน่อย ก็อาจบรรลุผาสุก แต่ทั้งผู้ลากแลผู้ถูกลาก ต้องรู้ผ่อนผันอดออมตามควรแก่การ ไม่หุนหันพลันแล่น นัยหนึ่งว่าต้องกอบด้วยขันติอันเป็นธรรมะประเสริฐ.