- คำนำ
- ๑. สนุกในน้ำ
- ๒. สวนพฤกษศาสตร์
- ๓. พริกไทย
- ๔. การใช้รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส
- ๕. อพยบ
- ๖. อุปถัมภ์ศิลปะ
- ๗. น้ำท่วมทุ่ง
- ๘. ผุดผลุด
- ๙. สาดน้ำ
- ๑๐. อัครวาที
- ๑๑. อ่านหนังสือ
- ๑๒. ผสมผสาน
- ๑๓. ประสพย์ ประสพ ประสบ
- ๑๔. ผสมผสาน (๒)
- ๑๕. บันทึก “คาวัวร์” ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- ๑๖. ผสมผสาน (๓)
- ๑๗. ในอินเดีย
- ๑๘. คดีในศาล
- ๑๙. เหตุแห่งความแพ้
- ๒๐. ที่เกิดแห่งยุง
- ๒๑. เบลเยียม
- ๒๒. กฎหมายเป็นกลางของ ส.ป.ร.
- ๒๓. ฝักฝ่ายตุรกี
- ๒๔. โฆษณาชวนเชื่อ
- ๒๕. ทายถูกและผิด
- ๒๖. มูลเหตุแห่งสงคราม
- ๒๗. ยิบฺรอลตาร์
- ๒๘. ภัยสามชนิด
- ๒๙. สันนิบาตชาติ
- ๓๐. ผสมผสาน (๔)
- ๓๑. บวชวัดพระแก้ว
- ๓๒. ปมด้อย
- ๓๓. สารกถา ว่าด้วยประชาธิปัตย์ วิธีรักษาความเป็นไทแก่ตนของอังกฤษ
- ๓๔. ประชาธิปัตย์และศึกษา
- ๓๕. ประชาธิปัตย์แลหนังสือพิมพ์
- ๓๖. เรื่องหญิงคนชั่ว
- ๓๗. ปัญหาสังสรรค์
- ๓๘. คนขอทาน
- ๓๙. เทียบประชาธิปัตย์อดีตกับปัจจุบัน
- ๔๐. สารกถา
- ๔๑. เทียบประชาธิปัตย์ อดีตกับปัจจุบัน
- ๔๒. อินฟฺลวนซา ปราบโรคเรื้อน
- ๔๓. สหกรณ์ในพม่า
- ๔๔. ลักษณะรัฐบาลอเมริกา
คำนำ
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือที่เรารู้จักพระองค์ท่านอีกพระนามหนึ่งซึ่งทรงใช้ในการทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ว่า “น.ม.ส.” นั้น ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ไว้เป็นจำนวนมาก เรื่องที่นำมาพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระนิพนธ์กลุ่มใหญ่ “หน้า ๕ ประมวญวัน” นับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเมื่อจะนับเวลามาถึงบัดนี้ ก็ตก ๒๐ ปีเศษแล้ว ในระยะเวลา ๖-๗ ปี ดังกล่าวนั้น ท่าน น.ม.ส. ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีคุณค่าทางเพิ่มพูนวิชาความรู้แก่ผู้อ่านลงพิมพ์ “หน้า ๕ ประมวญวัน” ไว้เป็นจำนวนไม่น้อย ผู้ที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ประมวญวัน เฉพาะอย่างยิ่งหน้า ๕ ในสมัยโน้น ยังคงจำรสชาดและทราบซึ้งคุณค่าบทพระนิพนธ์นั้น ๆ ได้เป็นอันดี แม้กระทั่งบัดนี้ มีผู้ปรารภอยากจะได้กลับไปอ่านพระนิพนธ์นั้น ๆ กันอีก พระนิพนธ์ดังกล่าวนั้น ยังไม่เคยรวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มจำนวนมาก ดังที่ “ผดุงศึกษา” ทำขึ้นในครั้งนี้มาก่อนเลย
ในสมัยท่าน น.ม.ส. ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ลงพิมพ์ในประมวญวันนั้น ปรากฏว่าท่านได้ทรงนิพนธ์เรื่อง “สามกรุง” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทกวีนิพนธ์ด้วย จึงถือได้ว่าพระนิพนธ์เรื่อง “สามกรุง” และพระนิพนธ์ต่าง ๆ ซึ่งลงหน้า ๕ ประมวญวันดังกล่าวแล้ว เป็นพระนิพนธ์รุ่นหลังที่สุด ในชีวิตการนิพนธ์ของท่าน น.ม.ส. เพราะภายหลังจากนั้นมาอีกไม่นานนัก ท่านก็สิ้นพระชนม์ชีพไป
เรายอมรับความจริงกันอยู่ทั่วไปแล้ว ว่าท่าน น.ม.ส. ทรงนิพนธ์เรื่องยากๆ ให้เป็นของเข้าใจง่าย สำนวนโวหารคมคายเต็มไปด้วยรสชาดที่ชวนอ่านชวนคิด ความสามารถในข้อนี้ ยังไม่มีใครทำได้ถึงพระองค์ท่านเลย
การพิมพ์ในครั้งนี้ ต้องขาดตกบกพร่องอยู่เป็นแน่ ขอความกรุณาท่านได้โปรดอภัย และโปรดตัดเติมเอาเองบ้าง โอกาสต่อไป “ผดุงศึกษา” จะพยายามทำให้ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
“ผดุงศึกษา”
เลขที่ ๘๘๖ โทร. ๒๐๑๖๐
วังบูรพา พระนคร