- คำอธิบาย
- ๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
- ๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
- ๑๐๔ ประกาศผูกปี้ข้อมือจีน
- ๑๐๕ ประกาศเรื่องอากรเตาสุรากรุงเก่า
- ๑๐๖ ประกาศจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร
- ๑๐๗ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์
- ๑๐๘ ประกาศพระราชทานนามคลองเจดีย์บูชา
- ๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๑๑๐ ประกาศตั้งภาษีน้ำตาลทรายแยกเปน ๓ ราย
- ๑๑๑ ประกาศยกเงินหางเข้าค่านาปีแรกโค่นสร้าง
- ๑๑๒ ประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมรับตราภูมคุ้มห้าม
- ๑๑๓ ประกาศพิกัดค่าธรรมเนียมรับตั๋วคุ้มสัก
- ๑๑๔ ประกาศการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
- ๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
- ๑๑๖ การพระราชพิธีจรดพระนังคัล
- ๑๑๗ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกเสร็จ, สำเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ
- ๑๑๘ ประกาศเรื่องภาษีพลู
- ๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
- ๑๒๐ ประกาศห้ามไม่ให้ขี่ม้าจูงม้ามาในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๑ ประกาศนามพระที่นั่งชลังคพิมาน
- ๑๒๒ พระราชกระแสเลิกเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเปนเก็บภาษีโรงร้านเรือแพ
- ๑๒๓ ประกาศให้บอกบาญชีราชสกุลแลราชนิกุลที่เกิดใหม่จะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
- ๑๒๔ ประกาศในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะช่วยคนฤๅการกู้หนี้ให้มีนายประกัน
- ๑๒๕ ประกาศห้ามมิให้ทาสแลลูกหนี้หนีเข้าแอบแฝงในที่ผู้มีบุญจับกุมยาก
- ๑๒๖ พระราชกระแสเรื่องทาสลูกหนี้หนีนายเงินไปอาศรัยวังเจ้าบ้านขุนนางแลในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๗ ประกาศตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทรเปนผู้สำเร็จราชการกองสักเลขแทนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
- ๑๒๘ คำพิพากษาแลพระราชกระแสตัดสินเรื่องโทษอ้ายกลับพระยาไชยา
- ๑๒๙ ประกาศยกเลิกอากรตลาด ตั้งพิกัดภาษีเรือโรงร้านตึกแพ
- ๑๓๐ ประกาศบอกน้ำฝนต้นเข้าแลห้ามมิให้ฦๅการผิดๆ
- ๑๓๑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี ๗ เมือง แลตั้งจีนเวชเปนขุนราชภัตการ
- ๑๓๒ ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
- ๑๓๓ ประกาศข้าราชการจะนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล ให้จดหมายยื่นต่อมหาดเล็กๆ ส่งท่านข้างใน
- ๑๓๔ ประกาศให้ลงชื่อด้วยลายมือตนในหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๑๓๕ ประกาศเวลาเสด็จลงพระตำหนักน้ำแลประทับในเรือบด จะชักธงจอมเกล้าขึ้นเปนที่หมาย ห้ามคนพายเรือแจวเรือผ่าน
- ๑๓๖ ประกาศตั้งผู้จับคนยิงปืนในแขวงกรุงเทพ ฯ ซึ่งมิได้บอกปากเสียง
- ๑๓๗ ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเปนทาส
- ๑๓๘ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
- ๑๓๙ ประกาศให้ผู้ถวายฎีกาลงชื่อฤๅวานผู้ที่ไว้ใจลงแทน
- ๑๔๐ ประกาศห้ามยิงปืน ถ้าจะยิงให้บอกศาลาก่อนจึงยิงได้
- ๑๔๑ เตือนสติพนักงานต้องทำการฉะเพาะตำแหน่ง
- ๑๔๒ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานกราบถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว
- ๑๔๓ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในกราบถวายบังคมลาออก ๑๒ คน
- ๑๔๔ ประกาศกำหนดโทษผู้ร้ายทิ้งไฟ
- ๑๔๕ ประกาศนามผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๑๔๖ ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศ แลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาที่วัง นอกจากผู้เปนกรมขึ้น
- ๑๔๗ ประกาศเรื่องคนโทษหนีเข้าไปอาศรัยในวังเจ้า ฤๅมีผู้แก้ไขให้ผู้คุมร้อง
- ๑๔๘ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์พายเรือแจวเรือเวลาเสด็จทางชลมารคแลประทับริมน้ำ
- ๑๔๙ ประกาศแผ่พระราชกุศล ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองฯ ให้ช่วยปลูกสร้างวัดพระปฐมเจดีย
- ๑๕๐ ประกาศวันสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๕๑ ประกาศการถือสาสนาแลผู้ที่ถือผิด
- ๑๕๒ ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช
- ๑๕๓ ประกาศชำระความหัวเมืองแลบอกส่งกรุงเทพฯ
- ๑๕๔ ประกาศเตือนสติในคำเรียกเจ้าพระยามุขมนตรี แลหลวงมลโยธานุโยค แลกรมล้อมวัง
- ๑๕๕ ประกาศเตือนสติคำที่เรียกทรากศพ
- ๑๕๖ ประกาศเตือนสติ ในคำว่าปิดตรา
- ๑๕๗ ว่าด้วยคำที่เรียกว่าทแกล้วทหาร
- ๑๕๘ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกใบบอกแลท้องตรา
๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
ณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำปีมะเมียสัมฤทธิศก
ประกาศมาให้ทุกหมู่ทุกกรมทั้งพระนครว่า ให้สังเกตเถิด ถึงพนักงานซึ่งไปบนหลังม้าทราบทั่วกันว่า ม้านำหน้าริ้วเมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระราชวัง ก็ย่อมไปด้วยม้านำตั้งแต่นอกประตูวิเศษไชยศรีไป เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับ ก็นำมาหยุดเพียงนอกประตูวิเศษไชยศรี ก็ควรเห็นว่าเปนเคารพชอบอยู่แล้ว ม้าข้าราชการที่ต้องเกณฑ์ตามเกณฑ์นำ เสด็จในกระบวรแต่งเครื่องแล้วจะเข้ามาในพระราชวังชั้นในก็ได้ แต่ม้าเปล่าของข้าราชการที่ไม่ได้เข้าในกระบวรนั้น ห้ามมิให้เข้ามาชั้นใน เว้นแต่ม้าหลวงแลม้าพระเจ้าลูกเธอที่อยู่ในพระราชวัง จะเข้าออกทางประตูศรีสุนทรแลประตูสองชั้นได้ ม้าพระราชวงศานุวงศ์เข้ามาได้เพียงชั้นกลางจะล่วงเข้ามาชั้นในไม่ได้ เจ้าพนักงานกรมม้าจะฝึกม้าในชั้นในก็ให้บอกกรมวังเสียก่อนจึงฝึกม้า ถ้ารับสั่งให้ขี่จะไม่บอกก็ได้ แต่ข้าราชการก็ดีฤๅข้าเจ้าบ่าวทาสข้าราชการก็ดี จะขี่ม้าเข้ามาชั้นในชั้นกลางไม่ได้ ถ้าขี่ม้าเข้ามาชั้นในจะลงพระราชอาญา ๕๐ ทีส่งไปคุก ถ้าจะถ่ายโทษตัวก็ต้องปรับเอาเงินชั่งหนึ่งให้แก่ผู้จับ ถ้าขี่เข้ามาเพียงชั้นกลางจะปรับ ๑๐ ตำลึงให้แก่ผู้จับเปนรางวัล ถ้าม้าเปล่าไม่มีคนขี่เข้ามาในพระราชวังจะจับเอาเปนม้าหลวง ถ้าเจ้าของมาตามก็ให้เรียกเอาค่าไถ่เท่าราคาที่ซื้อขาย ถ้าเจ้าของไม่ถ่ายจะให้เอาไปขายเอาเงินแบ่งปันให้แก่ผู้จับ ผู้ที่ขี่ม้าเข้ามาทางประตูศรีสุนทรฤๅประตูสองชั้น ถ้าเปนขุนนางโปรดให้ถ่ายโทษตัวชั่งหนึ่ง ถ้าเปนข้าเจ้าบ่าวขุนนางจะให้ลงพระราชอาญา ๕๐ ทีส่งไปคุก ให้เจ้าหมู่มูลนายเสียเบี้ยแทนชั่งหนึ่ง ถ้าชั้นกลางปรับ ๑๐ ตำลึง แต่พระราชวงศานุวงศ์นั้น โปรดให้ขี่เข้ามาได้แต่ประตูวิเศษไชยศรีมาจนประตูสองชั้น ข้าราชการขี่เข้ามาได้เพียงประตูวิเศษไชยศรีเท่านั้น
อนึ่งม้าที่ผู้หนึ่งผู้ใดเอามาถวาย ก็ให้มอบกับเจ้าพนักงานกรมม้าไว้ เมื่อมีพระบรมราชโองการดำรังสั่งให้นำเข้ามาทอดพระเนตร์ เจ้าพนักงานจึงนำเข้ามาถวายตัวเทอญ เพราะฉนั้นตั้งแต่วันที่ ๑ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำนี้ไป ให้กรมวัง กรมม้า กรมทหาร คอยจับคนขี่ม้าเข้ามาในพระราชวัง ฤๅม้าไม่มีคนขี่เข้ามาในที่กำหนดชั้นในตั้งแต่ประตูศรีสุนทร ประตูสองชั้นโดยรอบชั้นกลาง แต่ประตูวิเศษไชยศรีจนประตูสองชั้น ด้านสกัดเหนือ ด้านสกัดใต้ ถ้ากรมวังจับได้ก็ให้กรมวังแบ่ง ๔ ส่วน ให้กรมม้า ๑ ส่วน ให้กรมทหาร ๑ ส่วน กรมวังเอาสองส่วนมากกว่ากรมที่จับไม่ได้ ถ้ากรมม้ากรมทหารจับได้ก็ให้แบ่งปันเปน ๔ ส่วนเหมือนกัน ประกาศมาณวันอาทิตย์เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ปีมะเมีย<span class="no-wrap">สัม<span class="sup-base"><span class="sup-word">๘</span>ฤทธิศก</span></span> (รัชกาลที่ ๔)
ขุนปฏิภาณพิจิตรเปนผู้รับสั่ง.