- คำอธิบาย
- ๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
- ๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
- ๑๐๔ ประกาศผูกปี้ข้อมือจีน
- ๑๐๕ ประกาศเรื่องอากรเตาสุรากรุงเก่า
- ๑๐๖ ประกาศจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร
- ๑๐๗ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์
- ๑๐๘ ประกาศพระราชทานนามคลองเจดีย์บูชา
- ๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๑๑๐ ประกาศตั้งภาษีน้ำตาลทรายแยกเปน ๓ ราย
- ๑๑๑ ประกาศยกเงินหางเข้าค่านาปีแรกโค่นสร้าง
- ๑๑๒ ประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมรับตราภูมคุ้มห้าม
- ๑๑๓ ประกาศพิกัดค่าธรรมเนียมรับตั๋วคุ้มสัก
- ๑๑๔ ประกาศการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
- ๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
- ๑๑๖ การพระราชพิธีจรดพระนังคัล
- ๑๑๗ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกเสร็จ, สำเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ
- ๑๑๘ ประกาศเรื่องภาษีพลู
- ๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
- ๑๒๐ ประกาศห้ามไม่ให้ขี่ม้าจูงม้ามาในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๑ ประกาศนามพระที่นั่งชลังคพิมาน
- ๑๒๒ พระราชกระแสเลิกเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเปนเก็บภาษีโรงร้านเรือแพ
- ๑๒๓ ประกาศให้บอกบาญชีราชสกุลแลราชนิกุลที่เกิดใหม่จะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
- ๑๒๔ ประกาศในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะช่วยคนฤๅการกู้หนี้ให้มีนายประกัน
- ๑๒๕ ประกาศห้ามมิให้ทาสแลลูกหนี้หนีเข้าแอบแฝงในที่ผู้มีบุญจับกุมยาก
- ๑๒๖ พระราชกระแสเรื่องทาสลูกหนี้หนีนายเงินไปอาศรัยวังเจ้าบ้านขุนนางแลในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๗ ประกาศตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทรเปนผู้สำเร็จราชการกองสักเลขแทนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
- ๑๒๘ คำพิพากษาแลพระราชกระแสตัดสินเรื่องโทษอ้ายกลับพระยาไชยา
- ๑๒๙ ประกาศยกเลิกอากรตลาด ตั้งพิกัดภาษีเรือโรงร้านตึกแพ
- ๑๓๐ ประกาศบอกน้ำฝนต้นเข้าแลห้ามมิให้ฦๅการผิดๆ
- ๑๓๑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี ๗ เมือง แลตั้งจีนเวชเปนขุนราชภัตการ
- ๑๓๒ ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
- ๑๓๓ ประกาศข้าราชการจะนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล ให้จดหมายยื่นต่อมหาดเล็กๆ ส่งท่านข้างใน
- ๑๓๔ ประกาศให้ลงชื่อด้วยลายมือตนในหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๑๓๕ ประกาศเวลาเสด็จลงพระตำหนักน้ำแลประทับในเรือบด จะชักธงจอมเกล้าขึ้นเปนที่หมาย ห้ามคนพายเรือแจวเรือผ่าน
- ๑๓๖ ประกาศตั้งผู้จับคนยิงปืนในแขวงกรุงเทพ ฯ ซึ่งมิได้บอกปากเสียง
- ๑๓๗ ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเปนทาส
- ๑๓๘ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
- ๑๓๙ ประกาศให้ผู้ถวายฎีกาลงชื่อฤๅวานผู้ที่ไว้ใจลงแทน
- ๑๔๐ ประกาศห้ามยิงปืน ถ้าจะยิงให้บอกศาลาก่อนจึงยิงได้
- ๑๔๑ เตือนสติพนักงานต้องทำการฉะเพาะตำแหน่ง
- ๑๔๒ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานกราบถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว
- ๑๔๓ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในกราบถวายบังคมลาออก ๑๒ คน
- ๑๔๔ ประกาศกำหนดโทษผู้ร้ายทิ้งไฟ
- ๑๔๕ ประกาศนามผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๑๔๖ ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศ แลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาที่วัง นอกจากผู้เปนกรมขึ้น
- ๑๔๗ ประกาศเรื่องคนโทษหนีเข้าไปอาศรัยในวังเจ้า ฤๅมีผู้แก้ไขให้ผู้คุมร้อง
- ๑๔๘ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์พายเรือแจวเรือเวลาเสด็จทางชลมารคแลประทับริมน้ำ
- ๑๔๙ ประกาศแผ่พระราชกุศล ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองฯ ให้ช่วยปลูกสร้างวัดพระปฐมเจดีย
- ๑๕๐ ประกาศวันสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๕๑ ประกาศการถือสาสนาแลผู้ที่ถือผิด
- ๑๕๒ ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช
- ๑๕๓ ประกาศชำระความหัวเมืองแลบอกส่งกรุงเทพฯ
- ๑๕๔ ประกาศเตือนสติในคำเรียกเจ้าพระยามุขมนตรี แลหลวงมลโยธานุโยค แลกรมล้อมวัง
- ๑๕๕ ประกาศเตือนสติคำที่เรียกทรากศพ
- ๑๕๖ ประกาศเตือนสติ ในคำว่าปิดตรา
- ๑๕๗ ว่าด้วยคำที่เรียกว่าทแกล้วทหาร
- ๑๕๘ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกใบบอกแลท้องตรา
๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
นามพระที่นั่ง, บ่อน้ำ, พระราชทานเปลี่ยนนามวัดขวิด นามเมืองลพบุรี, นามเมืองสระบุรี, เมืองพรหมบุรี
ณวันพุธ เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมียยังเปนนพศก
ที่ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์วังเมืองลพบุรีนั้น ได้มีพระบรมราชโองการให้พระยาพิไชยสงคราม ๑ พระยาพิชิตณรงค์ ๑ พระยานรินทรราชเสนี ๑ ขึ้นไปเปนแม่กองทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นไว้ เพื่อจะได้ให้เปนที่ประทับในกาลอันควร เปนที่สบายแลจะให้เปนพระเกียรติยศซึ่งได้เชิดชูพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ชื่อพระที่นั่งเก่าในพระราชวังนั้นค้นได้ตามหนังสือพระราชพงศาวดารโบราณสองฉบับ แลโคลงสรรเสริญพระเกียรติยศแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายน์มหาราชฉบับหนึ่ง ได้ความเปนแน่ว่าพระที่นั่งหลังกลางซึ่งมีท้องพระโรงออกมาจากผนังสี่ด้านดังพระมณฑปนั้น ชื่อว่าพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งซึ่งข้างทิศใต้พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท มีพื้นดินต่ำกำแพงคั่นอยู่นั้นชื่อพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ แลพระที่นั่งด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทมีมุขเด่นออกแจ้งนั้น ชื่อพระที่นั่งจันทรพิศาลเปนแน่แล้ว ให้ข้าราชการทั้งปวงเรียกชื่อแลใช้บัตรหมายตามชื่อทั้งสามนั้นเถิดฯ อนึ่งพระที่นั่งซึ่งไปสร้างลงใหม่ในระหว่างพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท แลพระที่นั่งจันทรพิศาลนั้น องค์ใหญ่สูงข้างตวันตกพระราชทานนามว่าพระที่นั่งพิมานมกุฎ องค์ตวันออกเปนท้องพระโรงนั้นพระราชทานนามว่าพระที่นั่งสุทธวินิจฉัย พระที่นั่งย่อมสององค์ ต่อออกไปจากพระที่นั่งวิสุทธวินิจฉัยด้านตวันออกนั้น องค์ข้างใต้พระราชทานนามว่าพระที่นั่งไชยศาสตรากร องค์ข้างเหนือพระราชทานนามว่าพระที่นั่งอักษรศาสตราคม ให้นายงานแลกรมการผู้เขียนใบบอกรายงาน แลข้าราชการอื่นๆ ทุกตำแหน่งใช้ลงในใบบอกแลท้องตราแลบัตรหมายทั้งปวงดังนามพระราชทานนั้นเทอญฯ อนึ่งเมื่อทรงพระราชดำริห์ให้ไปจัดการปฏิสังขรณ์พระนารายน์ราชนิเวศน์วังเมืองลพบุรีนั้นทรงพระราชวิตกนัก ด้วยกลัวจะไม่มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง ได้มีรับสั่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายงานคิดอ่านขุดสระเก่าในพระราชวังซึ่งตื้นขึ้นเสียแล้วแต่ก่อนนั้นลองดู ขุดลึกลงไปได้สี่วาเศษได้น้ำไหลซึมออกมามากเสมอจะวิดไม่แห้งเลย น้ำก็ใสสอาดจืดสนิทกินแลอาบได้ ถึงในกำลังฤดูแล้งนี้น้ำก็ไม่แห้ง เพราะฉนั้นให้ท่านทั้งปวงทราบเถิด ถ้าแม้นเจ้านายใดๆ มีข้าในกรมจะอยู่ได้ที่เมืองลพบุรี แลข้าราชการพวกใดๆ จะมีญาติพี่น้องฤๅบ่าวไพร่จะอยู่ได้ที่เมืองลพบุรี ถ้าท่านเจ้าพนักงานแลขุนนางพวกนั้นคิดว่า ถ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประพาสประทับอยู่ที่นารายน์ราชนิเวศน์วังลพบุรีนานๆ แล้วจะต้องโดยเสด็จพระราชดำเนินไปอยู่ด้วย ถ้าเปนฤดูแล้งกลัวจะหาที่อาศรัยยากเพราะเรือไปจอดไม่ได้ ก็ให้คิดหาที่ไร่ที่สวนในเมืองลพบุรี เปนที่ของในกรมเจ้านายแลเปนของตัวของท่านขุนนางนั้นๆ เอง แล้วให้ข้าในกรมแลบ่าวไพร่อยู่รักษาปลูกพลับพลาหรือตำหนักพักหรือทำเนียบหรือเรือนที่พักไว้ในที่นั้นๆ แลคิดให้ขุดบ่อน้ำไว้ให้ลึก ๔ วา ๕ วา เอาไม้ตีแม่เตาไฟกันพังฝังลงไปทุกชั้นก็จะได้น้ำใช้ในที่ใกล้ๆ หลายแห่งหลายตำบลด้วยกันดอก ขอจงมีอุตสาหคิดอ่านเทอญ ฯ
อนึ่งวัดน้อยริมพระนารายน์ราชนิเวศน์วังข้างใต้ ข้างกำแพงริมพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ออกไปนั้น คนเปนอันมากเรียกว่าวัดขวิดบ้างวัดจันทรบ้าง บัดนี้โปรดพระราชทานนามให้เรียกว่าวัดกระวิศราราม มีพระราชประสงค์จะทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นเปนพระอารามน้อยสำหรับพระสงฆ์รามัญเจริญพระปริต จะตามเสด็จไปจะได้อาศรัยใกล้พระราชสถานฯ อนึ่งชื่อเมืองนั้นว่าลพบุรีเปนแน่ เพราะแปลจากคำว่าเมืองลโว้ แต่ทุกวันนี้คนชาววัดอวดรู้อวดล้นๆ ไปอุตริเขียนว่าเมืองนพบุรี แปลว่าเมืองใหม่หรือนพเคราะห์ นพคุณ นพรัตน์อะไรๆ คิดเหลิงเจิ้งเลิ้งแมวไป ใครๆ อย่าเชื่ออย่าเขียนอย่าเรียกตาม ให้คงใช้ว่าเมืองลพบุรีทั้งเรียกทั้งเขียนเทอญ ฯ
อนึ่งเมืองสระบุรีนั้น ในพระราชกำหนดกฎหมายมาแต่โบราณ ก็เรียกแลเขียนว่าเมืองสระบุรี แต่เดี๋ยวนี้ใครเล่าเปนตัวอุตริอวดรู้บาลีบาลั่ม มาเรียกบ้าง เขียนบ้างว่าเมืองสุระบุรี สุรแปลว่าคนกล้าหรือกล้าอะไรกับลาวในหลวงก็ไม่ได้ตั้งได้แปลง ใครเล่าอวดรู้อวดดีมาดัดมาแปลงชื่อบ้านชื่อเมือง ตั้งแต่นี้ไป ห้ามอย่าให้ใครเรียกแลเขียนใส่ตีนอุว่าสุระบุรีเปนอันขาด ให้เรียกว่าสระบุรี แลเขียนว่าเมืองสระบุรีอยู่ตามเดิมเทอญ ฯ
อนึ่งเมืองพรหมเมืองอินทรสองเมืองนี้ แต่ก่อนแม้นในพระราชกำหนดกฎหมายก็เขียนไว้ว่าเมืองพรหมบุรี เมืองอินทรบุรี เหมือนกัน ก็เปนอันถูกต้องอยู่แล้ว ก็มาบัดนี้ใครเล่าเจ้าบทเจ้ากลอน มาอุตริเรียกเมืองพรหมบุรีว่าเมืองพรหมบุรินทรเพื่อจะให้กลอนติดกับเมืองอินทรบุรีเล่า ว่าอย่างนั้นไม่ถูกเลย เพราะคำว่าบุรีแปลว่าเมือง คำว่าบุรินทรแปลว่าเจ้าเมืองผู้ครองเมือง ผู้ว่านั้นโง่นักใครอย่าเอาอย่าง คงให้เรียกว่าเมืองพรหมบุรีเมืองอินทรบุรี ตามเดิมเทอญ ฯ
แต่ผู้สำเร็จราชการเมืองพรหมบุรีนั้น มีนามว่าพระพรหมปราสาทศิลป ผู้สำเร็จราชการเมืองอินทรบุรีนั้น มีนามว่าพระอินทรประสิทธิศร ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งเรียกแลเขียนให้ต้องกัน เทอญ ฯ
ประกาศมาณวันพุธ เดือนห้า แรมสองค่ำ ปีมะเมียยังเปนน๗พศก เปนวันที่ ๒๕๑๒ในรัชกาลปัตยุบัน