- คำอธิบาย
- ๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
- ๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
- ๑๐๔ ประกาศผูกปี้ข้อมือจีน
- ๑๐๕ ประกาศเรื่องอากรเตาสุรากรุงเก่า
- ๑๐๖ ประกาศจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร
- ๑๐๗ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์
- ๑๐๘ ประกาศพระราชทานนามคลองเจดีย์บูชา
- ๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๑๑๐ ประกาศตั้งภาษีน้ำตาลทรายแยกเปน ๓ ราย
- ๑๑๑ ประกาศยกเงินหางเข้าค่านาปีแรกโค่นสร้าง
- ๑๑๒ ประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมรับตราภูมคุ้มห้าม
- ๑๑๓ ประกาศพิกัดค่าธรรมเนียมรับตั๋วคุ้มสัก
- ๑๑๔ ประกาศการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
- ๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
- ๑๑๖ การพระราชพิธีจรดพระนังคัล
- ๑๑๗ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกเสร็จ, สำเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ
- ๑๑๘ ประกาศเรื่องภาษีพลู
- ๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
- ๑๒๐ ประกาศห้ามไม่ให้ขี่ม้าจูงม้ามาในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๑ ประกาศนามพระที่นั่งชลังคพิมาน
- ๑๒๒ พระราชกระแสเลิกเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเปนเก็บภาษีโรงร้านเรือแพ
- ๑๒๓ ประกาศให้บอกบาญชีราชสกุลแลราชนิกุลที่เกิดใหม่จะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
- ๑๒๔ ประกาศในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะช่วยคนฤๅการกู้หนี้ให้มีนายประกัน
- ๑๒๕ ประกาศห้ามมิให้ทาสแลลูกหนี้หนีเข้าแอบแฝงในที่ผู้มีบุญจับกุมยาก
- ๑๒๖ พระราชกระแสเรื่องทาสลูกหนี้หนีนายเงินไปอาศรัยวังเจ้าบ้านขุนนางแลในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๗ ประกาศตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทรเปนผู้สำเร็จราชการกองสักเลขแทนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
- ๑๒๘ คำพิพากษาแลพระราชกระแสตัดสินเรื่องโทษอ้ายกลับพระยาไชยา
- ๑๒๙ ประกาศยกเลิกอากรตลาด ตั้งพิกัดภาษีเรือโรงร้านตึกแพ
- ๑๓๐ ประกาศบอกน้ำฝนต้นเข้าแลห้ามมิให้ฦๅการผิดๆ
- ๑๓๑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี ๗ เมือง แลตั้งจีนเวชเปนขุนราชภัตการ
- ๑๓๒ ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
- ๑๓๓ ประกาศข้าราชการจะนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล ให้จดหมายยื่นต่อมหาดเล็กๆ ส่งท่านข้างใน
- ๑๓๔ ประกาศให้ลงชื่อด้วยลายมือตนในหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๑๓๕ ประกาศเวลาเสด็จลงพระตำหนักน้ำแลประทับในเรือบด จะชักธงจอมเกล้าขึ้นเปนที่หมาย ห้ามคนพายเรือแจวเรือผ่าน
- ๑๓๖ ประกาศตั้งผู้จับคนยิงปืนในแขวงกรุงเทพ ฯ ซึ่งมิได้บอกปากเสียง
- ๑๓๗ ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเปนทาส
- ๑๓๘ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
- ๑๓๙ ประกาศให้ผู้ถวายฎีกาลงชื่อฤๅวานผู้ที่ไว้ใจลงแทน
- ๑๔๐ ประกาศห้ามยิงปืน ถ้าจะยิงให้บอกศาลาก่อนจึงยิงได้
- ๑๔๑ เตือนสติพนักงานต้องทำการฉะเพาะตำแหน่ง
- ๑๔๒ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานกราบถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว
- ๑๔๓ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในกราบถวายบังคมลาออก ๑๒ คน
- ๑๔๔ ประกาศกำหนดโทษผู้ร้ายทิ้งไฟ
- ๑๔๕ ประกาศนามผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๑๔๖ ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศ แลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาที่วัง นอกจากผู้เปนกรมขึ้น
- ๑๔๗ ประกาศเรื่องคนโทษหนีเข้าไปอาศรัยในวังเจ้า ฤๅมีผู้แก้ไขให้ผู้คุมร้อง
- ๑๔๘ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์พายเรือแจวเรือเวลาเสด็จทางชลมารคแลประทับริมน้ำ
- ๑๔๙ ประกาศแผ่พระราชกุศล ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองฯ ให้ช่วยปลูกสร้างวัดพระปฐมเจดีย
- ๑๕๐ ประกาศวันสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๕๑ ประกาศการถือสาสนาแลผู้ที่ถือผิด
- ๑๕๒ ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช
- ๑๕๓ ประกาศชำระความหัวเมืองแลบอกส่งกรุงเทพฯ
- ๑๕๔ ประกาศเตือนสติในคำเรียกเจ้าพระยามุขมนตรี แลหลวงมลโยธานุโยค แลกรมล้อมวัง
- ๑๕๕ ประกาศเตือนสติคำที่เรียกทรากศพ
- ๑๕๖ ประกาศเตือนสติ ในคำว่าปิดตรา
- ๑๕๗ ว่าด้วยคำที่เรียกว่าทแกล้วทหาร
- ๑๕๘ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกใบบอกแลท้องตรา
๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
ณวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะเมีย ยังเปนนพศก
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎสุทธสมมตเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสักกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชดำริห์ตริตรองในการจะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเร็จประโยชน์ทั่วถึงแลแน่นอนให้ดีขึ้นไปกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระราชวิตกว่าราชการต่างๆ ซึ่งสั่งด้วยบัตรหมายแต่กรมวังให้สัสดีแลทลวงฟันเดินบอกตามหมู่ตามกรมต่างๆ นั้นก็ดี การที่บังคับนายอำเภอมีหมายป่าวประกาศแก่ราษฎรในกรุงก็ดี การที่มีท้องตราไปให้เจ้าเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ มีหมายให้กำนันรั้วแขวงอำเภอประกาศแก่ราษฎรในแขวงนั้นๆ ก็ดี พระราชบัญญัติใหม่ๆ ตั้งขึ้นเพื่อจะห้ามการที่มิควรแลบังคับการที่ควรก็ดี การเตือนสติให้รฤกแลถือพระราชกำหนดกฎหมายเก่าก็ดี ตั้งขึ้นแลเลิกทิ้งอากรภาษีต่างๆ แลพิกัดภาษีนั้นๆ แลลดหย่อนลงหรือเพิ่มขึ้นพิกัดของในภาษีนั้นๆ ก็ดี การกะเกณฑ์ฤๅขอแรงแลบอกบุญก็ดี ว่าโดยสั้นโดยย่อเหตุใดๆ การใดๆ ที่ควรข้าราชการทั้งปวง หรือราษฎรทั้งปวงจะพึงทราบทั่วกันนั้น แต่ก่อนเปนแต่บัตรหมายแลทำคำประกาศเขียนเส้นดินสอดำลงกระดาษส่งกันไปส่งกันมา แลให้ลอกต่อกันไปผิดๆ ถูกๆ แลเพราะฉบับหนังสือนั้นน้อย ผู้ที่จะได้อ่านก็น้อยไม่รู้ทั่วถึงกัน ว่าการพระราชประสงค์แลประสงค์ของผู้ใหญ่ในแผ่นดิน จะบังคับมาแลตกลงประการใด ข้าราชการทั้งปวงแลราษฎรทั้งปวงก็ไม่ทราบทั่วกัน ได้ยินแต่ว่ามีหมายว่าเกณฑ์ว่าประกาศว่าบังคับมา เมื่อการนั้นเกี่ยวข้องกับตัวใครก็เปนแต่ถามกันต่อไป ผู้ที่จะได้อ่านต้นหมายต้นท้องตรานั้นน้อยตัว ถึงจะได้อ่านก็ไม่เข้าใจ เพราะราษฎรเมืองไทยผู้ที่รู้หนังสือนั้นน้อยกว่าที่ไม่รู้ คนไพร่ในประเทศบ้านนอกหนังสือก็อ่านไม่ออก ดวงตราของขุนนางในตำแหน่งซึ่งจะบังคับราชการเรื่องไร จะเปนอย่างไรก็ไม่รู้จัก ดูสักแต่ว่าเห็นดวงตราที่ตีมาด้วยชาดแลเส้นแดงๆ แล้วก็กลัว ผู้ที่ถือมาว่ากระไรก็เชื่อ เพราะฉนั้นจึงมีคนโกงๆ คดๆ แต่งหนังสือเปนดังท้องตราบัตรหมายอ้างสั่งวังหลวงแลวังหน้า แลเจ้านายแลเสนาบดีที่เปนที่ราษฎรนับถือยำเยงแล้ว ก็ว่าการบังคับไปต่างๆ ตามใจตัวปราถนา ด้วยการที่มิได้เปนธรรม แลทำให้ราษฎรเดือดร้อนแลเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน แลพระนามเจ้านายแลชื่อขุนนางไป เพราะฉนั้นบัดนี้ทรงพระราชดำริห์จะบำบัดโทษต่างๆ ดังว่ามาแล้วนี้ทุกประการ จึงโปรดให้ตั้งการตีพิมพ์หนังสืออย่างหนึ่ง มีชื่อโดยภาษาสังสกฤตว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษา แปลว่าหนังสือเปนที่เพ่งดูราชกิจมีตราเปนรูปพระมหามงกุฎ แลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำกับตัวหนังสือนำหน้าเปนอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษาอยู่เบื้องบนบันทัดทุกฉบับเปนสำคัญ แจกมาแก่คนต่างๆ ที่ควรจะรู้ทุกเดือนทุกปักษ์ ตั้งแต่เดือนห้าปีมะเมียเปนปีที่แปดในรัชกาลอันเปนปัจจุบันนั้นไป หนังสือในราชกิจจานุเบกษา คือการใดๆ ซึ่งได้มีท้องบัตรใบตรา แลบัตรหมาย แลประกาศด้วยหนังสือเขียนเส้นดินสอดำประทับตราตามตำแหน่งตามธรรมเนียมเก่านั้น ซึ่งได้มีแล้วไปในปักษ์นั้น หรือปักษ์ที่ล่วงแล้วในเดือนนั้น หรือเดือนที่ล่วงแล้ว ก็จะเก็บเอาความมาว่าแต่ย่อๆ ในสิ่งซึ่งเปนสำคัญ เพื่อจะให้เปนพยานแก่ท้องบัตรใบตราแลบัตรหมายคำประกาศ ซึ่งมีไปแล้วก่อนนั้น เพื่อจะให้คนที่ได้อ่านหนังสือก่อนเชื้อแท้แน่ใจไม่สงสัย ที่ไม่เข้าใจความจะได้เข้าใจ ผู้ใดไม่รู้ความในหนังสือท้องบัตรใบตราบัตรหมายก่อนก็จะได้รู้ถนัด
อนึ่งถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่าความนั้นใส่มาในราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะให้รู้ทั่วกันมิให้เล่าฦๅผิด ๆ ไปต่าง ๆ ขาด ๆ เกิน ๆ เปนเหตุให้เสียราชการแลเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้
หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ เมื่อตกไปอยู่กับผู้ใดขอให้เก็บไว้อย่าให้ฉีกทำลายล้างเสีย เมื่อได้ฉบับอื่นต่อไปก็ให้เย็บต่อๆ เข้าเปนสมุดเหมือนสมุดจีน สมุดฝรั่งตามลำดับตัวเลขที่หมายหนึ่ง สอง สาม สี่ ต่อๆ ไปซึ่งมีอยู่ทุกหน้ากระดาษนั้นเถิด ขอให้มีหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้เก็บไว้สำหรับจะได้ค้นดูข้อราชการต่างๆ ทุกหมู่ทุกกรมข้าราชการ แลทุกหัวเมืองโดยประกาศนี้ เทอญ
ประกาศมาณวันจันทร์เดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่งปีมะเมียยังเปนนพศก เปนวันที่ ๒๔๙๖ในรัชกาลปัจจุบันนี้ ขุนปฏิภาณพิจิตร ขุนมหาสิทธิโวหาร กรมพระอาลักษณ์เปนผู้รับสั่ง