- คำอธิบาย
- ๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
- ๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
- ๑๐๔ ประกาศผูกปี้ข้อมือจีน
- ๑๐๕ ประกาศเรื่องอากรเตาสุรากรุงเก่า
- ๑๐๖ ประกาศจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร
- ๑๐๗ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์
- ๑๐๘ ประกาศพระราชทานนามคลองเจดีย์บูชา
- ๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๑๑๐ ประกาศตั้งภาษีน้ำตาลทรายแยกเปน ๓ ราย
- ๑๑๑ ประกาศยกเงินหางเข้าค่านาปีแรกโค่นสร้าง
- ๑๑๒ ประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมรับตราภูมคุ้มห้าม
- ๑๑๓ ประกาศพิกัดค่าธรรมเนียมรับตั๋วคุ้มสัก
- ๑๑๔ ประกาศการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
- ๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
- ๑๑๖ การพระราชพิธีจรดพระนังคัล
- ๑๑๗ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกเสร็จ, สำเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ
- ๑๑๘ ประกาศเรื่องภาษีพลู
- ๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
- ๑๒๐ ประกาศห้ามไม่ให้ขี่ม้าจูงม้ามาในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๑ ประกาศนามพระที่นั่งชลังคพิมาน
- ๑๒๒ พระราชกระแสเลิกเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเปนเก็บภาษีโรงร้านเรือแพ
- ๑๒๓ ประกาศให้บอกบาญชีราชสกุลแลราชนิกุลที่เกิดใหม่จะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
- ๑๒๔ ประกาศในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะช่วยคนฤๅการกู้หนี้ให้มีนายประกัน
- ๑๒๕ ประกาศห้ามมิให้ทาสแลลูกหนี้หนีเข้าแอบแฝงในที่ผู้มีบุญจับกุมยาก
- ๑๒๖ พระราชกระแสเรื่องทาสลูกหนี้หนีนายเงินไปอาศรัยวังเจ้าบ้านขุนนางแลในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๗ ประกาศตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทรเปนผู้สำเร็จราชการกองสักเลขแทนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
- ๑๒๘ คำพิพากษาแลพระราชกระแสตัดสินเรื่องโทษอ้ายกลับพระยาไชยา
- ๑๒๙ ประกาศยกเลิกอากรตลาด ตั้งพิกัดภาษีเรือโรงร้านตึกแพ
- ๑๓๐ ประกาศบอกน้ำฝนต้นเข้าแลห้ามมิให้ฦๅการผิดๆ
- ๑๓๑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี ๗ เมือง แลตั้งจีนเวชเปนขุนราชภัตการ
- ๑๓๒ ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
- ๑๓๓ ประกาศข้าราชการจะนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล ให้จดหมายยื่นต่อมหาดเล็กๆ ส่งท่านข้างใน
- ๑๓๔ ประกาศให้ลงชื่อด้วยลายมือตนในหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๑๓๕ ประกาศเวลาเสด็จลงพระตำหนักน้ำแลประทับในเรือบด จะชักธงจอมเกล้าขึ้นเปนที่หมาย ห้ามคนพายเรือแจวเรือผ่าน
- ๑๓๖ ประกาศตั้งผู้จับคนยิงปืนในแขวงกรุงเทพ ฯ ซึ่งมิได้บอกปากเสียง
- ๑๓๗ ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเปนทาส
- ๑๓๘ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
- ๑๓๙ ประกาศให้ผู้ถวายฎีกาลงชื่อฤๅวานผู้ที่ไว้ใจลงแทน
- ๑๔๐ ประกาศห้ามยิงปืน ถ้าจะยิงให้บอกศาลาก่อนจึงยิงได้
- ๑๔๑ เตือนสติพนักงานต้องทำการฉะเพาะตำแหน่ง
- ๑๔๒ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานกราบถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว
- ๑๔๓ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในกราบถวายบังคมลาออก ๑๒ คน
- ๑๔๔ ประกาศกำหนดโทษผู้ร้ายทิ้งไฟ
- ๑๔๕ ประกาศนามผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๑๔๖ ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศ แลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาที่วัง นอกจากผู้เปนกรมขึ้น
- ๑๔๗ ประกาศเรื่องคนโทษหนีเข้าไปอาศรัยในวังเจ้า ฤๅมีผู้แก้ไขให้ผู้คุมร้อง
- ๑๔๘ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์พายเรือแจวเรือเวลาเสด็จทางชลมารคแลประทับริมน้ำ
- ๑๔๙ ประกาศแผ่พระราชกุศล ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองฯ ให้ช่วยปลูกสร้างวัดพระปฐมเจดีย
- ๑๕๐ ประกาศวันสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๕๑ ประกาศการถือสาสนาแลผู้ที่ถือผิด
- ๑๕๒ ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช
- ๑๕๓ ประกาศชำระความหัวเมืองแลบอกส่งกรุงเทพฯ
- ๑๕๔ ประกาศเตือนสติในคำเรียกเจ้าพระยามุขมนตรี แลหลวงมลโยธานุโยค แลกรมล้อมวัง
- ๑๕๕ ประกาศเตือนสติคำที่เรียกทรากศพ
- ๑๕๖ ประกาศเตือนสติ ในคำว่าปิดตรา
- ๑๕๗ ว่าด้วยคำที่เรียกว่าทแกล้วทหาร
- ๑๕๘ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกใบบอกแลท้องตรา
๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
ณวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะเมียยังเปนนพศก
มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศแก่คนทั้งปวงบรรดาคนที่ถือพระพุทธสาสนาแลธรรมเนียมปีเดือนคืนวัน อย่างเช่นใช้ในเมืองไทยรู้ทั่วกัน ว่าในปีมะเมียนี้วันอาทิตย์เดือนห้าแรมสิบสามค่ำ เปนวันมหาสงกรานต์ วันจันทร์เดือนห้าแรมสิบสี่ค่ำ แลวันอังคารเดือนหกขึ้นค่ำหนึ่ง เปนวันเนา วันพุธเดือนหกขึ้นสองค่ำเปนวันเถลิงศก ขึ้นศักราชใหม่เปน ๑๒๒๐ ในปีนี้ การทำบุญแลเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์เปน ๔ วันด้วยกันคือเดือนห้าแรมสิบสามค่ำ สิบสี่ค่ำ แลเดือนหกขึ้นค่ำหนึ่ง แลสองค่ำเปนแน่แล้ว คนฟั่นๆ เฟือนๆ เลือนๆ ใหลๆ จำการหลังไม่ได้อย่าตื่นถามว่าทำไมสงกรานต์จึงเปนสี่วัน ก็สงกรานต์สี่วันนี้โดยบังคับตามคัมภีร์โหราศาสตรลางปีก็เคยมีมาแต่ก่อนดอก ตั้งแต่วันจันทร์เดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่งไปจนวันอังคารเดือนหกขึ้นค่ำหนึ่ง จดหมายลงชื่อปีในที่ทั้งปวง ให้ว่าปีมะเมียยังเปนน๗พศก ถ้าจดจุลศักราชให้คงเปน ๑๒๑๙ อยู่ ตั้งแต่วันพุธเดือนหกขึ้นสองค่ำไปจนสิ้นปี จนถึงวันเสาร์เดือนสี่แรมสิบห้าค่ำวันตรุษสุดปีนี้นั้น ให้จดชื่อปีว่าปีมะเมียสัม๘ฤทธิศก ลงเลขว่าจุลศักราช ๑๒๒๐ แต่เลข ๗ ตามปีแผ่นดินซึ่งเขียนไว้บนศกนั้น เมื่อเปลี่ยนสัมฤทธิศกแล้วให้เขียนเปนเลข ๘ ไปกว่าจะเปลี่ยนศกใหม่เถิด ในปีมะเมียสัมฤทธิศกนี้มีอธิกมาสเดือนแปดเปน ๒ หนเปนเดือนถ้วนทั้ง ๒ เดือน เมื่อเขียนเลขครุเดือน ๘ ต้องเขียนเลข๘ ตัวเดียวแล้วกาหมายไว้ข้างล่างดังอย่างนี้ ๘ ให้รู้ว่าเดือนแปดหลังจะมี ในเดือนแปดหลังต้องเขียนเลข ๘ เปนต้องซ้อนกันไว้ท้ายครุดังอย่างนี้ ๘๘ เถิด วันพุธเดือนห้าขึ้นสามค่ำปีมะเมียยังเปนน๗พศก วันหนึ่ง วันอังคารเดือนสิบแรมสิบสามค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก วันหนึ่งสองวันนี้ เปนวันกำหนดถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา
ประกาศมาณวันจันทร์เดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่งปีมะเมียยังเปนน๗พศก เปนวันที่ ๒๔๙๖ในรัชกาลปัจจุบันนี้ พระยาโหราบดีจางวางกรมโหร แลพระยาประสิทธิศุภการว่าที่พระครูพิราม เปนผู้รับสั่ง