- คำอธิบาย
- ๑๐๒ ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา
- ๑๐๓. ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะเมียสัมฤทธิศก
- ๑๐๔ ประกาศผูกปี้ข้อมือจีน
- ๑๐๕ ประกาศเรื่องอากรเตาสุรากรุงเก่า
- ๑๐๖ ประกาศจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร
- ๑๐๗ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์
- ๑๐๘ ประกาศพระราชทานนามคลองเจดีย์บูชา
- ๑๐๙ ประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๑๑๐ ประกาศตั้งภาษีน้ำตาลทรายแยกเปน ๓ ราย
- ๑๑๑ ประกาศยกเงินหางเข้าค่านาปีแรกโค่นสร้าง
- ๑๑๒ ประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมรับตราภูมคุ้มห้าม
- ๑๑๓ ประกาศพิกัดค่าธรรมเนียมรับตั๋วคุ้มสัก
- ๑๑๔ ประกาศการที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
- ๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
- ๑๑๖ การพระราชพิธีจรดพระนังคัล
- ๑๑๗ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกเสร็จ, สำเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ
- ๑๑๘ ประกาศเรื่องภาษีพลู
- ๑๑๙. ประกาศห้ามขี่ม้าแลจูงม้าเปล่าเข้าในพระราชวัง
- ๑๒๐ ประกาศห้ามไม่ให้ขี่ม้าจูงม้ามาในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๑ ประกาศนามพระที่นั่งชลังคพิมาน
- ๑๒๒ พระราชกระแสเลิกเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเปนเก็บภาษีโรงร้านเรือแพ
- ๑๒๓ ประกาศให้บอกบาญชีราชสกุลแลราชนิกุลที่เกิดใหม่จะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
- ๑๒๔ ประกาศในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะช่วยคนฤๅการกู้หนี้ให้มีนายประกัน
- ๑๒๕ ประกาศห้ามมิให้ทาสแลลูกหนี้หนีเข้าแอบแฝงในที่ผู้มีบุญจับกุมยาก
- ๑๒๖ พระราชกระแสเรื่องทาสลูกหนี้หนีนายเงินไปอาศรัยวังเจ้าบ้านขุนนางแลในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๒๗ ประกาศตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทรเปนผู้สำเร็จราชการกองสักเลขแทนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
- ๑๒๘ คำพิพากษาแลพระราชกระแสตัดสินเรื่องโทษอ้ายกลับพระยาไชยา
- ๑๒๙ ประกาศยกเลิกอากรตลาด ตั้งพิกัดภาษีเรือโรงร้านตึกแพ
- ๑๓๐ ประกาศบอกน้ำฝนต้นเข้าแลห้ามมิให้ฦๅการผิดๆ
- ๑๓๑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นเมืองกาญจนบุรี ๗ เมือง แลตั้งจีนเวชเปนขุนราชภัตการ
- ๑๓๒ ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
- ๑๓๓ ประกาศข้าราชการจะนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล ให้จดหมายยื่นต่อมหาดเล็กๆ ส่งท่านข้างใน
- ๑๓๔ ประกาศให้ลงชื่อด้วยลายมือตนในหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๑๓๕ ประกาศเวลาเสด็จลงพระตำหนักน้ำแลประทับในเรือบด จะชักธงจอมเกล้าขึ้นเปนที่หมาย ห้ามคนพายเรือแจวเรือผ่าน
- ๑๓๖ ประกาศตั้งผู้จับคนยิงปืนในแขวงกรุงเทพ ฯ ซึ่งมิได้บอกปากเสียง
- ๑๓๗ ประกาศห้ามไม่ให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเปนทาส
- ๑๓๘ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก
- ๑๓๙ ประกาศให้ผู้ถวายฎีกาลงชื่อฤๅวานผู้ที่ไว้ใจลงแทน
- ๑๔๐ ประกาศห้ามยิงปืน ถ้าจะยิงให้บอกศาลาก่อนจึงยิงได้
- ๑๔๑ เตือนสติพนักงานต้องทำการฉะเพาะตำแหน่ง
- ๑๔๒ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานกราบถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว
- ๑๔๓ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในกราบถวายบังคมลาออก ๑๒ คน
- ๑๔๔ ประกาศกำหนดโทษผู้ร้ายทิ้งไฟ
- ๑๔๕ ประกาศนามผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๑๔๖ ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศ แลกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาที่วัง นอกจากผู้เปนกรมขึ้น
- ๑๔๗ ประกาศเรื่องคนโทษหนีเข้าไปอาศรัยในวังเจ้า ฤๅมีผู้แก้ไขให้ผู้คุมร้อง
- ๑๔๘ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์พายเรือแจวเรือเวลาเสด็จทางชลมารคแลประทับริมน้ำ
- ๑๔๙ ประกาศแผ่พระราชกุศล ให้พระบรมวงศานุวงศแลข้าทูลลอองฯ ให้ช่วยปลูกสร้างวัดพระปฐมเจดีย
- ๑๕๐ ประกาศวันสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๕๑ ประกาศการถือสาสนาแลผู้ที่ถือผิด
- ๑๕๒ ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช
- ๑๕๓ ประกาศชำระความหัวเมืองแลบอกส่งกรุงเทพฯ
- ๑๕๔ ประกาศเตือนสติในคำเรียกเจ้าพระยามุขมนตรี แลหลวงมลโยธานุโยค แลกรมล้อมวัง
- ๑๕๕ ประกาศเตือนสติคำที่เรียกทรากศพ
- ๑๕๖ ประกาศเตือนสติ ในคำว่าปิดตรา
- ๑๕๗ ว่าด้วยคำที่เรียกว่าทแกล้วทหาร
- ๑๕๘ ประกาศว่าด้วยคำที่เรียกใบบอกแลท้องตรา
๑๑๕ หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่
ณวันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก
ด้วยออกญาพระยาราชสุภาวดีศรีสัจเทพนารายน์สมุหมาตยาธิบดี ศรีสุเรนทราเมศวร จางวางกรมพระสุรัศวดีกลาง รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ พระองค์ ก็ทรงพระราชดำริห์การซึ่งจะรักษาพระราชอาณาจักร ด้วยจะเก็บเอาจำนวนพลฉกรรจ์เพื่อจะได้ทราบว่า ที่มีไพร่พลอยู่ในกรุงเทพมหานคร แลหัวเมืองซึ่งขึ้นกับกรุงเทพมหานคร จะเปนจำนวนคนฉกรรจ์ควรใช้ราชการได้มากน้อยเมืองละเท่าใด จึงโปรดเกล้าฯ ให้สักเลขไพร่หลวงสมกำลังณกรุงเทพมหานคร แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้แต่งข้าหลวงกำกับกันออกไปสักเลข ณหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรีเมืองจัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือซึ่งเปนเมืองขึ้นขอบขัณฑเสมาตามอย่างธรรมเนียมการแผ่นดินสยามมาแต่เดิมแต่ก่อน เมื่อการสักเลขเปนไปดังนี้ มีคนบางจำพวกที่เปนคนใจเบาเกียจคร้านในราชการ ไม่พอใจให้กองสักสักท้องมือสักหลังมือกลัวจะมีบาญชีเก็บใช้ราชการ จึงคบคิดกันปลอมสักกันแลกัน หวังจะมิให้ราชการ ครั้นจะไม่สักก็กลัวจะจับกุมมาทำโทษ ครั้นมีผู้ร้องฟ้องว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจว่าคบคิดกันปลอมสักจริง จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ตี ส่งไปจำไว้ณคุกบ้าง เปนตพุ่นหญ้าช้างบ้างมีอย่างมาแต่ก่อน ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก แล้วจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สักเลขไพร่หลวง สมกำลังณกรุงเทพมหานคร แลหัวเมืองขึ้นกับกรุงเทพมหานคร เหมือนอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ พระองค์แต่ก่อนฯ ครั้งนี้มีอ้ายมีชื่อนายไพร่พวกลาว ไพร่หลวงอาสาเมืองสุพรรณบุรี ๑๐๒ คน คบคิดกันปลอมตัวเอาเองหาให้กองสักสักไม่ ครั้นมีโจทร้องฟ้องว่ากล่าวท่านเสนาบดี ส่งมาให้กรมพระสุรัศวดีชำระก็รับเปนสัจ จึงนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา จึงทรงพระราชดำริห์ว่าจะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีส่งไปจำไว้ณคุกแลสักเปนตพุ่นหญ้าช้างทุกคนเหมือนอย่างแต่ก่อน ก็ทรงพระมหากรุณาแก่ไพร่พลที่เปนคนโฉดเขลา พลอยผู้อื่นยอมให้ปลอมสักไปนั้น จะได้ความยากแค้นเดือดร้อนมากนัก จึงโปรดให้เอาแต่ที่เปนต้นเหตุต้นคิด ๙ คน ไปสักเปนไพร่หลวงตพุ่นหญ้าช้าง ไพร่นอกนั้นโปรดให้สักแปลงเปนไพร่หลวงคงกรมตามเดิม ให้เข้าเดือนหนึ่งออกสองเดือน ถึงสามปีจึงให้เข้าเดือนหนึ่งออกสามเดือนเหมือนไพร่หลวงทั้งปวงฯ แล้วจึงทรงพระราชดำริห์ต่อไปว่า ไพร่หลวงไทยลาวสมข้าเจ้าบ่าวราชการในกรุงเทพมหานคร แลหัวเมืองทั้งปวง จะคบคิดกันปลอมสักหลังมือเหมือนไพร่หลวงลาวอาสาเมืองสุพรรณบุรี ก็คงจะมีอยู่ยังหาสิ้นเชิงไม่ เพราะฉนั้นจึงให้หมายประกาศว่า แต่นี้สืบไปให้ข้าหลวง แลผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการนายบ้านนายอำเภอด่านคอยทุกตำบล แลราษฎรที่จงรักภักดีเหนแก่แผ่นดิน ตรวจตราสืบสวนดู ถ้ารู้ว่าไพร่หลวงสมกำลังพวกใดณบ้านเมืองใดคบคิดกันปลอมสักหลังมือตามอำเภอใจไม่เข้ามาสักณกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองที่มีกองออกไปสักดังนี้ ก็ให้นำข้อความมาร้องฟ้องต่อข้าหลวง แลผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการนายบ้านนายอำเภอ แลให้บอกส่งเข้ามาณกรุงเทพมหานคร ถ้าชำระเปนสัจจะเปนคนมากน้อยเท่าใด จะให้ลงพระราชอาญาแก่ผู้กระทำผิดตามโทษานุโทษ แต่โจทนั้นจะได้พระราชทานเงินตราเปนบำเหน็จรางวัลไม่น้อยกว่าชั่งหนึ่ง ไม่มากกว่าสองชั่ง ตามมีความชอบมากแลน้อย คนที่เปนต้นเหตุแลคนที่ยอมตัวให้สักจะได้รับพระราชอาญาแลปรับไหมตามโทษานุโทษ คล้ายกับตัวอย่างซึ่งเปนไปแล้วนั้น
ได้มีหนังสือพิมพ์ประกาศออกมาแต่ณวันพุธ เดือนหกขึ้นสองค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก เปนวันที่ ๒๕๒๖ ในรัชกาลปัจจุบันนี้