- คำนำ
- ภาคหนึ่ง บนดิน
- หนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเบญจคีรีนคร
- สอง พบ
- สาม สู่ฝั่งแม่คงคา
- สี่ สาวน้อยผู้เดาะคลี
- ห้า รูปวิเศษ
- หก บนลานอโศก
- เจ็ด ในหุบเขา
- แปด ดอกฟ้า
- เก้า ใต้ดาวโจร
- สิบ รหัสยลัทธิ
- สิบเอ็ด งวงช้าง
- สิบสอง ที่ฝังศพของวาชศรพ
- สิบสาม เพื่อนบุณย์
- สิบสี่ ผู้เป็นสามี
- สิบห้า ภิกษุโล้น
- สิบหก เตรียมรับมือ
- สิบเจ็ด สู่ความเป็นผู้ละบ้านเรือน
- สิบแปด ในห้องโถงช่างปั้นหม้อ
- สิบเก้า พระศาสดา
- ยี่สิบ เด็กดื้อ
- ยี่สิบเอ็ด ในท่ามกลางความเป็นไป
- ภาคสอง - บนสวรรค์
- ยี่สิบสอง ภูมิสุขาวดี
- ยี่สิบสาม การต้อนรับแห่งชาวสวรรค์
- ยี่สิบสี่ ต้นปาริชาต
- ยี่สิบห้า บัวบาน
- ยี่สิบหก สร้อยแก้วตาเสือ
- ยี่สิบเจ็ด สัจจกิริยา
- ยี่สิบแปด บนฝั่งคงคาสวรรค์
- ยี่สิบเก้า ท่ามกลางกลิ่นหอมแห่งดอกปาริชาต
- สามสิบ มีเกิดก็มีตาย
- สามสิบเอ็ด ปิศาจที่บนลาน
- สามสิบสอง สาตาเคียร
- สามสิบสาม องคุลีมาล
- สามสิบสี่ นรกหอก
- สามสิบห้า การบูชาอันบริศุทธิ์
- สามสิบหก พระพุทธและพระกฤษณ
- สามสิบเจ็ด ดอกฟ้าเหี่ยว
- สามสิบแปด พรหมโลก
- สามสิบเก้า ความมืดแห่งโลกานุโลก
- สี่สิบ ในสุมทุมพุ่มไม้พระกฤษณ์
- สี่สิบเอ็ด โอวาทอย่างง่ายๆ
- สี่สิบสอง ภิกษุณีอาพาธ
- สี่สิบสาม มหาปรินิพพาน
- สี่สิบสี่ พินัยกรรมวาสิฏฐี
- สี่สิบห้า กลางคืนและรุ่งเช้าในสกลจักรวาล
สามสิบแปด พรหมโลก
กามนิตและวาสิฏฐี ก็ถือปฏิสนธิในพรหมโลก เป็นเทพประจำดาวแฝด. อาตมันของกามนิตเข้าไปสิงสถิตรวมประสานกับคุณลักษณะแห่งดาวอันรุ่งเรืองสมส่วนสนิทสนมกระทำให้ดวงดาวนั้นเหมือนกับมีชีวิตขึ้น, อาศัยมโนมยฤทธิ์ของกามนิต ผู้มเหสักข์เป็นเครื่องบังคับ ดาวนั้นจึ่งหมุนรอบด้วยตนเอง. และอาการเคลื่อนหมุนไปนี้ คือลักษณะความเป็นอยู่แห่งกามนิตในพรหมโลก.
อีกประการหนึ่ง รัศมีวาสิฏฐีในดาวอิกดวงหนึ่ง เปล่งมากะทบดวงดาวกามนิต และรัศมีกามนิตก็ฉายไปจับดาววาสิฏฐี. ถ้อยทีค่อยแผดรัศมีประสานกัน, ดาวแฝดก็หมุนตามกันไปในจุดหมายแนวเดียวกัน จนแสงนั้นระคนปนกัน เป็นสัญญาณว่าทั้งสองมีความรักร่วมปฏิพัทธ์ต่อกันแน่นแฟ้นมิได้ออกจากกันไปเลย
ด้วยทิพยานุภาพสมันตจักษุ ทั้งสองอาจมองดูรอบด้านได้ในคราวเดียวกัน. เมื่อมองดูไปในแดนวิศวากาศอันหาเขตต์มิได้ ก็เห็นดาวเทพ ส่องแสงอยู่พร่างพราวมีจำนวนนับไม่ถ้วน. ในหมู่ดาวเทพเหล่านั้น ต่างรวมกันเป็นราศี ปรากฏเป็นทอด ๆ กันไป. ต่างมีทางเดิรเป็นส่วน ๆ กันฉะเพาะหมู่ กามนิตและวาสิฏฐีอาศัยดาวคู่แห่งตน ก็โคจรไปในวิถีแห่งหมู่ดาวทั้งหลาย เวียนกันไปรอบ ๆ โดยลำดับตามดาราคติ คล้ายกับจัดนัดกันไว้. ต่างไม่เดิรเข้าไปใกล้กันนัก หรือเดิรห่างไกลกันนัก และดูเหมือนจะมีสนามฉันทฤทธิ์บอกรู้ถึงกันโดยกระแสมโนญาณ ว่าควรจะมีคติทางไหนจึ่งจะได้ระยะกัน.
อันทางโคจรที่หมู่ดาวหมุนเวียนกันนี้ ย่อมมีจุดที่มุ่งหมายในการเวียนรอบ คือ ท้าวมหาพรหมผู้สถิตอยู่ท่ามกลางแสนโกฏิจักรวาล มีรัศมีอันวัดไม่ถึง แผ่ซ่านไปสู่หมู่ดาวเทพทั้งปวง หมู่ดาวเหล่านั้นเป็นดั่งแว่นฉายอันนับไม่ถ้วน ได้รับแสงจากท้าวมหาพรหมแล้วก็ส่งสะท้อนกลับไปสู่ท้าวมหาพรหม คือ พระผู้ทรงพลฤทธิมหานุภาพอันหาหมดเปลืองมิได้. อันดาวเทพเคลื่อนเวียนไป ก็ด้วยได้เดชานุภาพมหิทธิพลาดิศัยมาจากพระองค์. เพราะฉะนั้นดาวเทพทั้งหลาย จึงได้เวียนรอบท้าวมหาพรหม ห่างเลยออกไปไม่ได้.
แม้ว่าดาวเทพทั้งหลาย อาศัยมหิทธานุภาพท้าวมหาพรหมบรมมหาตมันเป็นจุดกลาง จึ่งสืบชีพรุ่งเรืองนับด้วยอสงไขยกัลป์ก็จริงอยู่, แต่พรหมโลก ซึ่งดูประหนึ่งว่าหาเขตต์มิได้ เมื่อปรากฏว่า ‘มีขึ้น’ แล้ว, ก็ย่อมมีสุดสิ้นลงตามธรรมดาวิษัย. และโดยเหตุที่ระยะกาลในพรหม ย่อมดำเนิรไปเงียบ ๆ, เปรียบดั่งน้ำใสสะอาด ที่ไหลเอื่อยไปตามลำธารโดยราบรื่น ไม่มีสิ่งอะไรกีดกั้นให้ขาดระยะลงกลางคัน, เลยทำให้เห็นว่าพรหมโลกนั้นหากาลกำหนดมิได้. แท้จริง ลักษณะที่ว่าหากาละไม่ได้นั้น ก็ล้วนเป็นมายาทั้งเรื่อง