- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
หม่อมเจ้าปรานีอาจารย์ ทรงเรียบเรียง
ตะกั่วนม ๑ หอยขมที่เปน ๑ หอยโข่งที่เปน ๑ ปลาไหลที่เปน ๑ ปลาช่อนที่เปน ๑ รวม ๕ สิ่งนี้มีรศคาวเย็น แช่น้ำอาบแลพ่นแรกเห็นยอดฝี หล่อให้ฝีขึ้น
ชะมดเช็ด ๑ กุ้งสด ๑ เชิงตะพาบน้ำ ๑ ฟองเป็ด ๑ ทั้ง ๔ สิ่งนี้มีรศคาวปลูกหัวฝีให้ขึ้นงาม
รากฟักเข้านั้น ปลูกหัวฝีแลทำผิวให้อ่อน
หัวแลเถาตำลึงนั้น ปลูกหัวฝีแลแก้หัวฝีคล้ำ หรือด้านฝ่อ ฟอกหัวฝีให้ขาว
รากกำจายนั้น กระจายหัวฝี
หัวถั่วภูนั้น พยุงหัวฝีแลถอนไส้ฝี
เปลือกสันพร้านางแอนั้น พยุงหัวฝีแลรัดฐานฝีกับทั้งแก้พิศม์
ใบสเดานั้น รัดฐานฝีทำให้ฝีมีหนองเร็ว
ใบมะระนั้น รัดฐานฝีแลถอนไส้ฝี
หัวเปราะหอมนั้น รัดฐานฝีแลดูดพิศม์
โคกกะออม, ผักขวง รัดฐานฝีแลถอนไส้ฝี
เถาชิงช้าชาลีนั้น ทำให้ผิวฝีหน้าแลรัดฐานฝี ถอนไส้ฝี
เปลือกมักเม่า, เปลือกเพกา, เปลือกสะท้อน, เปลือกพุดทรา, ใบกะทุงหมาบ้า, ใบชะบา, เปลือกแค, ใบกระทุ่มนา, ทำให้ผิวฝีหนา
รากกะตังบายนั้น แก้ฝีแดงแลแก้ฝีกะตังบาย
รากก้างปลาแดง ๑ ใบมะกา ๑ เปลือกงิ้ว ๑ เปลือกหมากสงสุก ๑ ผลตำลึง ๑ ก้ามปูทะเล ๑ ทั้ง ๖ สิ่งนี้แก้ฝีแดง
เปลือกสมุลแว้งนั้น แก้ฐานฝีแดงแลเขียว
ผักบุ้งล้วม ๑ เปลือกหว้า ๑ ทั้ง ๒ สิ่งนี้ แก้ฐานฝีแดง
สารส้มนั้น พอกฐานฝีแลทำหัวฝีให้ขาว
ใบแลรากมะกล่ำเครือ รากหญ้านาง แก้ฐานฝีแดงเมื่อมีหนองขึ้นแล้ว
รากหนามรอบตัว ใบทุมราชา แก้พิศม์ฝีต่าง ๆ
ใบบัวหลวง น้ำไส้ฟัก ใบมหากาฬ แก้พิศม์ฝีปวดแสบปวดร้อน
เมล็ดราชพฤกษ์ ๑ เมล็ดขี้เหล็ก ๑ แก้ฝีกาฬ
งาแลนอนั้น แก้พิศม์ฝึปวดแสบปวดร้อน แลปลูกหัวฝึให้ขึ้นงาม
ใบมะขาม ๑ ใบมะดัน ๑ ใบส้มป่อย ๑ ใบส้มเสี้ยว ๑ ใบส้มกบ ๑ ใบไม้ทั้ง ๕ นี้มีรสเปรี้ยว ฟอกหัวฝีแลเร่งให้มีหนอง
กะทือสดนั้น ทำให้ฝีอ่อน หล่อมิให้หัวฝีแห้งเปนตะกรันได้
ผลเบ็ญจกานี ๑ เปลือกกระเทาะโพ ๑ เปลือกกระเทาะต้นมะขาม ๑ เปลือกกระเทาะเมล็ดมะขาม ๑ เปลือกมะเดื่อชุมพร ๑ เปลือกตะโกจีน ๑ ทั้ง ๖ อย่างนี้มีรสฝาด สมานฝีกาฬแลหัวละลอกที่แตกกร้าว ๆ
ใบบอน, ใบตำแย, ใบกระพังโหม, กีบม้า, รากจอก, แก้ฝีคัน
ใบมะลินั้น แก้ระบมผิวเมื่อฝีขึ้นหนอง
หัวขมิ้นอ้อยนั้น แก้โลหิตมิให้แพร่ออกจากหัวฝี
หัวหอมแดง ๑ ข่า ๑ สองสิ่งนี้แก้ฝีพื้นแดง ไล่โลหิต ทำให้น้ำในหัวฝีนั้นจาง
ใบมะคำไก่นั้น ไล่โลหิตให้เข้าในหัวฝี
รากเกียวไก่ หัวผักบุ้งนา ไล่ลำบองฝีให้ลดลง
หัวกระชายนั้น แก้ลำบองฝีคั่ง
สรรพคุณยาทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนี้ จะบดพอกหรือจะละลายน้ำพ่นแลอาบ หรือจะต้มจะแช่น้ำพ่นแลอาบก็ได้ แก้ฝีร้ายต่างๆ ดังมีแจ้งในคัมภีร์ยาสำเร็จนั้น
(จบสรรพคุณยาแต่เท่านี้)
---------