- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ว่าด้วยอติสาร
จะกล่าวถึงอะติสาร ให้เสร็จสิ้นทุกสิ่งสรรพ์ ตามโทษประเภทมัน ให้แพทย์พึงจะแจ้งใจ คือกาลทั้งห้ากาล พิพิธเกิดขึ้นภายใน แต่ขั้วตับลงไป เปนเลือดสดกำหนดมัน ถูกยาก็ฟังยา ไปสี่วันแลห้าวัน อาการประเภทมัน ก็กลับกลายให้ลงไป เปนเลือดเสลดเหน้า ก็ปวดมวนเพียงขาดใจ ตั้งแต่จะรากไป ให้แน่นน่าอุรารน สอึกซ้อนเปนชั้นๆ จะแก้กันก็ขัดสน สอึกวายก็เวียนวน แต่ลงร่ำกระหน่ำไป ครั้นแก้ที่ลงห่าง สอึกพ่างเพียงขาดใจ ให้ร้อนทุรนใน กายก็ผุดเปนแว่นวง เขียวแดงไปทั่วกาย เมื่อจะตายก็กลับลง เลือดสดกำหนดปลง ชีพนั้นในวันเดียว
สองกาฬพิพัธนั้นขึ้นใน ขั้วหัวใจให้ขุ่นเขียว ขั้วตับดุจเดียว แต่อาการนั้นผิดกัน ลงดุจน้ำล้างเนื้อ เมื่อมันเน่าแลเหม็นครัน เหมือนซากอศภอัน ที่ทรุดโซมอยู่แรมคืน ให้หอบเปนกำลัง สติพลั้งไม่ยั่งยืน ผู้ใดเปนจะได้คืน ชีพนั้นอย่าสงกา กาลมูตร์มันมุดกิน อยู่ในตับให้ลงมา เปนแต่โลหิตา อุจจาระเน่าแลดำไป เปนก้อนเปนลิ่มๆ ก็ดูปิ่มดังถ่านไฟ กินปอดให้หอบใจ ระหายน้ำเปนกำลัง กินม้ามให้จับหลับ เนตรเพศนั้นให้ดูดัง ปีศาจอันจริงจัง เข้าสิงสู่อยู่ในตน เท้าเย็นแลมือเย็น มักนั่งก้มไม่เงยยล หน้าคนพิการกล ให้บ่นเพ้อพะพึมไป อย่างว่าจะกละทำ กระสือซ้ำเข้าคุมใจ โทษนี้ใช่อื่นไกล กำเนิดโรคเปนมารยา ครั้นเมื่อจะดับสูญ ก็เพิ่มภูลด้วยวาตา พัดแผ่นเสมหะมา เข้าจุกแน่นเอาลำฅอ จึ่งตัดอัสสาสะ ให้ขาดค้างเพียงลำสอ หายใจสอื้นต่อ จะตายแล้วจงควรจำ กาฬสูตรนั้นให้ลง เพศที่ลงก็ดูดำ ดังครามอันเขียวคล้ำ ให้เหม็นกลิ่นดังดินปืน ให้รากให้อยากน้ำ จะยายำไม่ฝ่าฝืน กลืนยาก็ยาคืน สะท้อนรากลำบากใจ เสโทอันซึมส้าน พิการกายให้เย็นไป หยุดลงก็ขาดใจ อันโทษนั้นอย่าสงกา กาฬสิงคลีกาฬ แลกาฬนั้นก็ย่อมปรา กฎเกิดแต่ดีมา ให้ซึมรั่วล้นไหลไป อุจจาระปัสสาวะ ทั้งเนื้อเนตรก็เหลืองใส เหลืองสิ้นตลอดใน กระดูกดังขมิ้นทา ให้ร้อนทุรนราก ระหายหอบเปนนักหนา เชื่อมมึนแลกิริยา ให้พะเพ้อมะเมอไป โทษนี้ในสามวัน จักอาสัญอย่าสงไสย เพศเมื่อจะขาดใจ ทลึ่งไปจนสิ้นชนม์ อันกาฬทั้งห้ากาฬ บันดาลเกิดแก่บุคคล ผู้ใดจงรู้ชนม์ ชีพนั้นจักวางวาย เปนแพทย์จงเพียรเรียน ให้เสถียรสถิตย์หมาย แม่นย่ำกำหนดตาย จึ่งจะนับว่าตนดี โทษอะสุจินั้น เรารำพรรณทุกสิ่งสี สุดสิ้นในคำภีร์ อติสารเท่านี้นา
----------------------------