- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
จะกล่าวกำเนิด ทั้งที่เกิดที่อยู่ ทั้งระดูเดือนวัน อายุปันเวลา อาหารฝ่าสำแลง โรคร้ายแรงต่างๆ ยาหลายอย่างหลายพรรณ สิ้นด้วยกันเก้ารศ จงกำหนดอย่าคลาด ยารศฝาดชอบสมาน รศยาหวานทราบเนื้อ รศเมาเบื่อแก้พิษ ดีโลหิตชอบขม เผ็ดร้อนลมถอยถด เอ็นชอบรศมันมัน หอมเย็นนั้นชื่นใจ เค็มทราบในผิวหนัง เสมหะยังชอบส้ม กำเริบลมที่อยู่ เปือกตมฟูเยือกเย็น เนื้อหนังเอ็นปูปลา ย่อมภักษาครามครัน เสมหะนั้นโทษให้ ที่อยู่ในชลธาร มักเสพหวานเนืองกิจ ดีโลหิตจำเริญ ที่อยู่เทินเนินผา อาหารฝ่าเผ็ดร้อน อนึ่งสัญจรนอนป่า เพื่อภักษางูเห่า กำเริบเร้าร้อนรุม สันนิบาตกุมตรีโทษ ไนยหนึ่งโสดกล่าวมา ดูว่าเปนหก ท่านแยกยกกล่าวไว้ เดือนหกในคิมหันต์ ควรแบ่งปันเอากึ่ง แรมค่ำหนึ่งถึงเพ็ญ เดือนสิบเปนคิมหันต์ กับวะสันต์ฤดู เปนสองอยู่ด้วยกัน อย่าหมายมั่นว่าฝน บังบดบนยิ่งร้อน พระทินกรเสด็จใกล้ มาดแม้นไข้สำคัญ เลือดดีนั้นเปนต้น แรมลงพ้นล่วงไป ถึงเพ็ญในเดือนยี่ อาทิตย์ลีลาศห่าง ฤดูกลางเหมันต์ กับวสันต์เปนสอง น้ำค้างต้องเยือกเย็น เสมหะเปนต้นไข้ แรมลงไปเพียงกึ่ง เดือนหกถึงเพ็ญนั้น เข้าคิมหันต์ระคน เหมันต์ปนสี่ปักข์ ลมพัดหนักแม้ไข้ กำเนิดในวาตา ซึ่งกล่าวมาทั้งนี้ ต้นปลายปีบรรจบ ฤดูครบเปนหก สี่เดือนยกควบไว้ ฤดูใดไข้เกิด เอากำเนิดวันนั้น เปนสำคัญเจ้าเรือน กำเริบเดือนนั้นว่า ในเดือนห้าเดือนเก้า เดือนอ้ายเข้าเปนสาม เดือนนี้นามปถวี เดือนหกมีกำหนด เดือนสิบหมดเดือนยี่ สามเดือนนี้ธาตุไฟ อนึ่งนั้นในเดือนเจ็ด เดือนสิบเอ็ดเดือนสาม สามเดือนนามธาตุลม เดือนแปดสมเคราะห์เดือน สิบสองเลื่อนเดือนสี่ สามเดือนนี้อาโป กำเริบโรคามี ธาตุทั้งสี่กล่าวมา รายเดือนว่าเหมือนกัน อนึ่งสำคัญลมดี กำลังมีด้วยไฟ ธาตุภายในแรงยิ่ง อาโปสิ่งทั้งหลาย กำเริบร้ายด้วยเภท เสมหะเหตุเปนต้น สันนิบาตท้นแรงไข้ กำเนิดในปถวี กำเริบมีกำลัง หนึ่งเด็กยังไม่รุ่น ยามเช้าครุ่นครางไข้ ปฐมไวยพาละ โทษเสมหะพัวพัน หนุ่มสาวนั้นเปนไป กำลังในโลหิต ไข้แรงพิศม์เมื่อเที่ยง คนแก่เพียงพินาศ ไข้บ้ายชาติวาตา ไข้เวลากลางคืน เสมหะฟื้นลมอัคคี สันนิบาตตรีโทษา หนึ่งคลอดมาจากครรภ์ ระวีวันเสารี เตโชมีเปนอาทิ จันทรครูปัถวี อังคารมีวาโย พุฒอาโปสุกรด้วย ธาตุนี้ม้วยกับตน โรคระคนทั่วไป ปฤกษาไข้จงมั่น ฤดูนั้นเข้าจับ อายุกับเพลา เดือนวันมาประมวณ จึ่งใคร่ครวญด้วยโทษ ไนยหนึ่งโสดไข้นั้น แทรกซ้ำกันบางที วาโยดีเจือกัน เสมหะนั้นกับดี เสมหะมีกับลม ใคร่ให้สมอย่าเบา อย่าฟังเขาผู้อื่น คำภีร์ยืนเปนแน่ กำหนดแก่เจ้าเรือน อายุเดือนวันเพลา กำเริบมาเปนแทรก ไข้มาแขกอย่ากลัว ถึงมึนมัวซบเซา ถ้าไข้เจ้าเรือนไป ไข้แขกไม่อาจอยู่ อนึ่งเลงดูในไข้ ภอยาได้จึ่งยา ไม่รู้อย่าควรทำ จักเกิดกรรมเกิดโทษ