- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
จะกล่าวเพศชีพจรจำ เดือนขึ้นค่ำฝ่าบาทา เร่งรีบให้กินยา ตามตำราสดวกดี สองค่ำอยู่หลังบาท อาจสามารถแก้โรคี กินยาสดวกดี ตามคำภีร์ที่มีมา สามค่ำอยู่ศีศะ ไชยชะนะแก่โรคา เร่งถ่ายเร่งผายยา ดีนักหนาอย่าสงไสย์ สี่ค่ำประจำแขน ตามแบบแผนอันพึงใจ ผายยามิเปนไร โรคใดๆ อันตรธาน ห้าค่ำประจำลิ้น ยาที่กินแล่นเฉียวฉาน วาโยย่อมกล้าหาญ ขึ้นตามตนรากอาเจียน หกค่ำย่อมเรียงราย ทั่วทั้งกายให้คลื่นเหียน ป่วนปั่นให้วิงเวียน ย่อมติเตียนตำรายา เจ็ดค่ำประจำแข้ง ตามตำแหน่งให้ผายยา รงับดับวาตา ในอุราไม่แดกดัน แปดค่ำอยู่ท้องน้อย รยำย่อยห้ามกวดขัน กำเริบทุกสารพรรณ ตำรานั้นว่ามิดี เก้าค่ำประจำมือ เร่งนับถือเปนศุขี รงับดับโรคี จำเริญศรีอายุนา สิบค่ำประจำก้น ดีล้นพ้นต้องตำรา ชะนะแก่โรคา ดับวาตาถอยลงไป สิบเอ็ดค่ำประจำฟัน ซึ่งห้ามนั้นอย่าสงไสย มักรากลำบากใจ โรคภายในกำเริบมา สิบสองค่ำประจำคาง อย่าละวางในตำรา กำเริบร้ายโรคา อย่าวางยาจะถอยแรง สิบสามค่ำอยู่ขาดี อันโรคีไม่ระแวง ทั้งโรคร้ายก็หน่ายแหนง อย่าควรแคลงเร่งวางยา สิบสี่ค่ำประจำหลัง อย่าพลาดพลั้งเร่งศึกษา ห้ามไว้ในตำรา ทุเลายาลำบากกาย สิบห้าค่ำประจำใจ ท่านกล่าวไว้สำหรับชาย อย่าประจุยารุถ่าย อย่ามักง่ายว่าตามมี แรมค่ำหนึ่งจำใจใส่ ประจำใต้ฝ่าตีนดี สองค่ำประจำที่ หลังตีนมีอายุนา สามค่ำอยู่สดือ อย่านับถือมักรากรา สี่ค่ำอยู่ทันตา จะมรณามัวยบรรไลย ห้าค่ำประจำลิ้น ห้ามอย่ากินรากพ้นไป หกค่ำอยู่เศียรไซ้ ดับโรคไภยสิ้นทั้งปวง เจ็ดค่ำประจำตัว ย่อมเกรงกลัวปะทะทรวง แปดค่ำว่าหนักหน่วง อยู่ในทรวงย่อมจะตาย เก้าค่ำประจำคาง เปนปานกลางคลื่นลงสาย สิบค่ำแขนสบาย ลงง่ายดายเร็วหนักหนา สิบเอ็จค่ำประจำมือ เร่งนับถือตามตำรา สิบสองค่ำอยู่นาสา หายโรคาอย่าสงไสย์ สิบสามค่ำอยู่กรรณ์ พยาธินั้นสิ้นสูญไป สิบสี่ค่ำอยู่ปากไซ้ ห้ามมากไว้สิ้นชีวี สิบห้าค่ำอยู่ฅอ จงรั้งรอตามวิธี กินยาว่ามิดี ห้ามทั้งนี้ตามตำรา ชีพจรนี้สำคัญ ข้างขึ้นนั้นแลแรมหนา เหมือนกันดังกล่าวมา จะผายยาดูให้ดี บูราณท่านตั้งไว้ คัมภีร์ไซ้สำหรับมี ดับพยาธิโรคี อายุยืนเจริญเอย
----------------------------