- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
อนึ่งยามีแก้ต้นสันนิบาต สองคลองธาตุระส่ำระสาย ประคำดีควายเอาแต่เนื้อ ชั่งอย่าเฝือสองบาทเผา เมล็ดมะกอกเล่าเอาตำลึง เผาแล้วจึ่งตำบด ใบทองหลางสดใบมนแท้ ใส่ลงแต่พอควร สีตำนวนอย่าให้เขียว บดทีเดียวปั้นแท่งไว้ กินเมื่อใดจึ่งละลาย น้ำกระสายอีกที กะปิดีเท่าเมล็ดบัว เผาไฟทั่วสุกโชน หัวหอมโทนสามศีศะ ถั่วเขียวกะสามหยิบงาม ข้ออ้อยสามเอาที่แดง ใส่ไฟแรงต้มกระสาย น้ำละลายยากิน สามถ้วยรินหายขาด แก้สันนิบาตสองคลอง
ขนานสองแก้ชัก เขากวางหนักหกบาท เผาโชนชาดใส่ครกตำ หัวว่านน้ำหนักตำลึง สองสิ่งจึ่งขึ้นบด ทาอย่างดมือเท้าทั้ง ฅอสันหลังให้ทั่วกาย ตะคริวหายทันตา ตามตำราท่านบอกไว้ อิกเล่าไซ้จะให้ง่าย พอลงปรายหนสองหน เร่งเขาผลสมอไทย ต้มเขี้ยวไว้พอประจุ ดีเกลือสตุพอกำลัง ถ่ายแรกตั้งเปนเดิม ให้ลงเพิ่มสักสี่หน อย่าร้อนรนคงหายขาด เอายาธาตุต้มตั้งรับ ตามบังคับในคำภีร์ คือดีปลีขิงเจ็ตมูล สะค้านหนูนรากช้าพลู กินเข้าดูแม้นทำฤทธิ์ มันให้ปิดหนักเบา น้ำสมอเปล่าดีเกลือแทรก ครู่เดียวแตกเบื้องล่าง แม้นยักทางไปข้างร้อน เอายาก่อนแก้สันนิบาต กระสายพาดด้วยน้ำครำ วางประจำเปนที่ตั้ง ทั้งกินทั้งชะโลมกาย โรคนั้นหายไปบอหึง
ขนานหนึ่งเคยนับถือ ยาชื่อมหาระงับ แก้สำหรับอหิวา ตะกะโรคาหายเหือด ลูกสบ้าเลือดเบี้ยจักกระจั่น ประคำดีควายนั้นเอาทั้งลูก อีกกระดูกงูเหลือมใหญ่ ให้เผาไฟเท่ากันหมด เมล็ดมะนาวสดใส่ประสม บดระดมปั้นแท่งไว้ กินเมื่อใดจึ่งยักย้าย น้ำกระสายตามแต่โรค แก้ลงโกรกน้ำเฝื่อนฝาด อาเจียนพาดน้ำลูกยอ ทาคางฅอน้ำมะกรูด แก้เฟ้อฟูดน้ำดีปลี กาฬะสิงคลีมูตร์น้ำครำ แก้เพ้อพำน้ำดอกไม้ ปิดเบาใส่น้ำหญ้าคา ปิดหนักมาน้ำลูกสมอ ดีเกลือพอประมาณแทรก แก้จุกแดกน้ำกำมะถัน อุปเทห์ผันตามตำรา ตีราคาเม็ดยาหนึ่ง ทองตำลึงเนื้อแปดหนัก ความเรารักไม่อยากขาย
ยังแยบคายอิกขนาน ชื่อสุริย์ฉานอุไทย ยาแก้ไข้สันนิบาต สองคลองกาจร้ายแรง เอานมกระแชงจันทน์ทั้งสอง อิกกระดองปูป่าเหมือง ดอกมะเฟืองเต็มกำมือ สีฟันกระบือทั้งกล้วยตีบ สองสิ่งรีบขุดรากมา ตูมกาขี้กาหญ้าพันงู ให้เลือกดูเอาที่แดง สามสิ่งแรงขุดเอาราก เสมอภาคบดประสม ปั้นแท่งกลมตากแห้งแล้ว เหมือนมีแก้วสาระพัดนึก แก้สอึกปิดหนักเบา อนึ่งเล่าจะภิปราย น้ำกระสายตามฤดู ซึ่งท่านรู้มาแต่ก่อน เย็นแลร้อนเปนประมาณ ถ้าอาการเห็นเปนคลาย จึ่งค่อยถ่ายเสียอิกที ตามในสารวิลาสินี กล่าวมานี้ท่านเอย
ยาประจุไข้คลาย นามพิปรายแก้วมณีโชติ มะละล้างโทษให้เสื่อมสูญ เบ็ญจเหล็กฝักคูนใบมกา ตรีผลาจันทน์แดง เอาหญ้านางอิกเถามวก สิบสามพวกพื้นพฤกษชาติ ดีเกลือขาดหกบาทตรา อิกทั้งยาดำดินประสิวไว้ สองสิ่งใส่สิ่งละสลึง สามเอาหนึ่งเขี้ยวให้ได้ กินล้างในสันนิบาต จึ่งบำรุงธาตุธรรมดามี เจตมูลดีปลีขิงช้าพลู หัวแห้วหมูเถาสะค้าน เร่งคิดอ่านเอามตูมอ่อน ทั้งเกสรประทุมมา ขมิ้นอ้อยหาบรเพ็ชผลกระดอม ดอกพิกุลหอมมาประสม แล้วจึ่งต้มกินเกิด อาหารเกิดได้ไม่ผ่ายผอม ขนานนามตามคำรบนบประนอม ชื่อว่าจอมจัตุธาตุโอสถเอย
----------------------------