- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
สิทธิการิยะ จะกล่าวถึงกุมารกุมารีทั้งหลาย อันเกิดโรคร้ายต่างๆ คือตานทราง คือน้ำนมแห่งแม่แลแม่ซื้อ. คือ นนทปักษีประการ ๑ ปุศกะปักษีประการ ๑ ถ้าเปนไข้ให้สั่นไปทั้งตัว ให้ร้อนกระวนกระวาย แลอยากน้ำนักเปนสำคัญ พึงรู้เถิดว่า นนทปักษีกระทำโทษ
ถ้าปุศกะปักษีกระทำโทษพิกาลแลปัดพิศม์ แล้วให้ประกอบยาขนานนี้ให้กิน ท่านให้เอารากถั่วแปบ บดด้วยน้ำมันดิบบำบัดโทษทั้งหลาย มีต้นว่าปุศกะปักษีกระทำโทษ
ขนานหนึ่งท่านให้เอา ใบกระเพรา ๑ รากผักแว่น ๑ ยาสองสิ่งนี้บดทำลูกสเดาผูกข้อมือข้อเท้ากุมาร กันปักษีทั้งปวงดีนัก ถ้าไม่ผูกข้อมือข้อเท้า จะเผาทามือทาเท้าก็ได้ดุจกัน
ขนานหนึ่งท่านให้เอา ดอกสเดา ๑ กะเมง ๑ พรมมิ ๑ ใบถั่วแระ ๑ ใบรักขาว ๑ ตำเอาน้ำละลายระคนด้วยน้ำมันดิบ ทากุมารบำบัดโทษปุศกะปักษีทั้งปวงหายแล
ขนานหนึ่ง ท่านให้เอารังแตน ๑ ผักแว่น ๑ ใบอังกาบ ๑ ใบมะคำไก่ ๑ สมุลแว้ง ๑ ใบอูโลก ๑ ใบอัญชันขาว ๑ บดกับน้ำมันดิบทากุมารบำบัดโทษทั้งปวง
ยาชื่อเบ็ญจภังคี ขนานนี้ ท่านให้เอา ยอดมะขวิด ๑ ยอดโพบาย ๑ ยอดทอง ๑ ยอดมะตูม ๑ ยอดมะเดื่อ ๑ บดทาตัวกุมารแล้วอาบน้ำเสีย บำบัดเคราะห์แห่งกุมารแลโลหิตทุกประการ อนึ่งให้แต่งเครื่องพลีกรรม ด้วยขนมนมเนย น้ำผึ้งรวง ถั่ว งา สุรา รศสุคนธ์ ดอกไม้ ประดับบูชาแล้ว เอาไปเสียที่หนทางสามแพร่งเมื่อเวลาค่ำ บำบัดโทษแห่งกุมาร
ขนานหนึ่ง ท่านให้เอา ผิวไม้ไผ่ ๑ ชันตะเคียน ๑ เนย ๑ ยา ๓ สิ่งนี้เผารม
สิทธิการิยะ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยปิศาจกระทำโทษ แก่กุมารทั้งหลาย มีลักษณะ ๔ ประการ คือนนทปักษีประการ ๑ กาลปักษีประการ ๑ อสุนนทปักษีประการ ๑ เทพีปักษีประการ ๑ (๑) อันว่าลักษณะนนทปักษีกระทำโทษแก่กุมารเมื่ออยู่ในเรือนไฟนั้น เข้าในไส้เปนเสมหะให้เจ็บทั้งตัว แลให้รากสำรอกไหลออกมาทางจมูก (๒) อันว่าลักษณะกาลปักษีทำโทษนั้น เมื่อมารดาออกไฟแล้วได้ ๕ เดือน ปีศาจออกนอกไส้ให้ไส้เปนขดลั่นดังอยู่จ้อๆ แลให้ร้องไห้เปนครู่แล้วให้ทอดใจใหญ่ร้องไห้เมื่อหลับ (๓) อันว่าลักษณะอสุนนทปักษีกระทำโทษแก่กุมารนั้น ให้อยากน้ำให้นอนมิหลับกินเข้ามิได้ ให้ตัวร้อนปิศาจอยู่ตับ (๔) อันว่าลักษณะเทพีปักษีกระทำโทษแก่กุมารนั้นให้ง่าเท้าง่ามือ เมื่อออกจากเรือนไฟแล้วได้ ๓ เดือน ๔ เดือนก็ดี ย่อมให้เหลือกตาซ้ายขวาแลช้อนตา กระหม่อมพร่อง อันว่านนทปักษีเข้าในไส้นั้นออกโดยทวารหนัก อันว่ากาลปักษีกระทำโทษนั้นออกโดยทางปัสสาวะ อันว่าอสุนนทปักษีนั้นเข้าโดยจมูกออกทางจักษุ อันว่าเทพีปักษีนั้นเข้าโดยนมออกโดยเท้า
ถ้าจะแก้นนทปักษีนั้น ท่านให้เอาใบหนาด ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ประสมกันเข้าบดทาตัวกุมารนั้น นนทปักษีกลัว
ถ้าจะแก้กาลปักษี ท่านให้เอาสาบแร้ง ๑ สาบกา ๑ เขาควาย ๑ ประสมกันเข้าเผารม, กาลปักษีกลัว
ถ้าจะแก้อสุนนทปักษี ท่านให้เอาขนนก ๑ ขนกา ๑ ประสมกันเข้าเผา อสุนนทปักษีกลัว
ถ้าจะแก้เทพีปักษีท่านให้เอา พลับพลึง ๑ สุพรรณถัน ๑ ประสมกันเข้าเผา เทพีปักษีกลัว
นนทปักษีนั้นเข้าเมื่อเช้าตรู่ ออกเมื่อสิ้นแสงตวัน กาลปักษีนั้นเข้าเมื่อเข้านอน ออกเมื่อตวันขึ้น อสุนนทปักษีนั้นเข้าเมื่อตวันเที่ยง ออกเมื่อเที่ยงคืน เทพีปักษีนั้นเข้าเมื่อตวันเย็น ออกเมื่อเช้าก่อนงาย
อนึ่งเดือน ๕, ๖, ๗, ๘, พระสีพรมยักษ์ อยู่ทิศเปนใหญ่กว่าปีศาจทั้งหลาย เข้ามาทำโทษแก่กูมารทั้งปวง อนึ่งเดือน ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, พระสีหัศบดีอยู่ทิศเปนใหญ่กว่าฝูงปีศาจทั้งปวง เข้ามากระทำโทษแก่กุมารทั้งหลาย อนึ่งเดือน ๑, ๒, ๓, ๔, พระสีกมารยักษ์อยู่ทิศเปนใหญ่กว่าภูตปีศาจทั้งปวง เข้ามากระทำโทษแก่กุมารทั้งหลาย นนทปักษีเข้านั้นสัตว์เดียรฉานร้อง กุมารตกใจจึ่งเข้า เมื่อออกสัตว์รบกัดกันจึงออก กาลปักษีเมื่อเข้านั้นไม้ไล่หักครืนเครงสัตว์รบกัดกันจึ่งเข้า เมื่อออกสัตว์รบกัดกันจึงออก อสุนนทปักษีเมื่อจะเข้านั้น มีผู้มาแต่ไกลเอาสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า มาหาจึงเข้า เมื่อออกมีคนทุ่มเถียงกันจึงออก เทพีปักษีเมื่อเข้านั้นได้ยินเสียงลมพัดแลฟ้าร้อง เสียงฆ้องกลองจึงเข้า เมื่อจะออกนั้นเสียงมนุษย์ร้องไห้จึงออก
อนึ่งถ้ากุมารเปนไข้กินเข้าย่อมให้รากแลลงท้อง แลนอนมิหลับ ท่านให้ทำกระบาล ๒ อัน เอาดินปั้นรูปสรรพสัตว์กระบาล ๑ สรรพผีกระบาล ๑ หม้อใหม่ใบ ๑ จึงเอาแป้งปั้นแม่ลูก ๓ คนอุ้มกันใส่ในหม้อนั้น เอาน้ำมะพร้าวผล ๑ เทียนเล่ม ๑ จุดตามที่ปากหม้อ เอาไปลอยเสียทั้งกระบาลหายแล
อนึ่งในคัมภีร์ปฐมจินดาผูก ๑ บริเฉท ๔ ว่าด้วยสังโยชน์นั้น พระอาจาริย์เจ้ากล่าวไว้ว่า สัตรีมีลักษณะน้ำนมอันเปนโทษนั้นด้วยเหตุ ๓ ประการ คือบริโภคอาหารแสลงมิชอบด้วยธาตุประการ ๑ อาหารมิควรบริโภคมาบริโภคประการ ๑ สัตรีมีน้ำใจระคนไปด้วยมาตุคามเปนนิจประการ ๑ ครั้นกุมารบริโภคน้ำนม ๓ ประการนี้จึงเปนโทษ อันนี้แจ้งอยู่ในคัมภีร์สังโยชน์โน้นแล้ว
ยาแก้น้ำนมโทษ ขนานนี้ ท่านให้เอา กรุงเขมา ๑ ขิง ๑ กระพังโหม ๑ โกฐทั้ง ๕ ชะมด ๑ รวมยา ๙ สิ่งนี้เอาส่วนเท่ากัน ต้มใส่น้ำ ๕ ทนานเขี้ยวเอาแต่ ๓ ทนานจงดี ให้แม่ลูกอ่อนกินชำระน้ำนมบริสุทธิ์ดีนัก
พระอาจาริย์เจ้ากล่าวไว้ว่าผู้ที่จะเปนที่พึ่งแก่กุมารนั้น ด้วยเสียงอันให้อ่อนแลให้แข็ง แลให้ห้ามอาหารที่มิควรจะบริโภค แลให้กินนมประการ ๑ ถ้ากุมารเปนไข้ท่านให้เอาเปรียงพระโคสด น้ำมะพร้าวนาฬิเก ระคนกินชำระน้ำนม อาจบำบัดโทษแห่งกุมารทุกประการ
ขนานหนึ่งท่านให้เอา ตรีกระฏุก ๑ จุกโรหินี ๑ ตำเปนผง ระคนเข้าด้วยน้ำนมโค เคี่ยวให้กุมารกินแก้ไข้เพื่อกำเดาหาย
ยาชื่อผลาธิคุณ ขนานนี้ ท่านให้เอา ลำพัน ๑ ขิงแห้ง ๑ แห้วหมู ๑ อุตพิษ ๑ ต้มให้แม่ลูกอ่อนกินชำระน้ำนมบริสุทธิ์ดีนัก
ขนานหนึ่ง ท่านให้เอาโคกกระออม บดด้วยน้ำทาตัวกุมาร แลทาหัวนมมารดาไว้ให้แห้งแล้วล้างเสีย จึงให้กุมารกิน บำบัดโทษ ๓ ประการดีนัก
อนึ่งให้ชิมน้ำนั้นดู ถ้าน้ำนมนั้นฝาด ให้เอาขันตักน้ำที่ใสมาหล่อน้ำนมลองดู ถ้าเห็นหายไปกับน้ำ ก็ยังเกิดโทษอยู่ด้วยกำเดา ถ้าหล่อลงในน้ำแลน้ำนมนั้นจมข้นขาวบริสุทธิ์ หามลทินโทษมิได้เลย
ขนานหนึ่ง ท่านให้เอา ไม้เท้ายายหม่อม ๑ เทพธาโร ๑ ลำพัน ๑ อุตพิษ ๑ ต้ม ๓ เอา ๑ ให้แม่ลูกอ่อนกินชำระน้ำนมโทษดีนัก