- คำนำ
- บานแพนก
- ฉันทศาสตร์
- ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
- ว่าด้วยคำภีร์ตักกะสิลา
- ว่าด้วยกำเนิดไข้, ด้วยที่อยู่, ฤดู, อาหาร, แลธาตุ
- ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีแลชั่ว
- ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเปนโทษ ๔ อย่าง
- ว่าด้วยกำเนิดแห่งไข้ (โรค) ต่าง ๆ
- ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
- ว่าด้วยลักษณะธาตุ
- ว่าด้วยป่วง ๘ ประการ
- ตำรายาแก้สันนิบาต สองคลอง และอะหิวาตะกะโรค
- ว่าด้วยสมุฏฐาน
- ว่าด้วยอติสาร
- ว่าด้วยมรณะญาณสูตร์
- ว่าด้วยโรคไภยต่าง ๆ แห่งกุมาร
- พระคัมภีร์ประฐมจินดา
- ว่าด้วยลักษณครรภ (ผูก ๑ บริเฉท ๑)
- คำภีร์ครรภรักษา ลักษณะครรภวารกำเนิด (ผูก ๑ บริเฉท ๒)
- ครรภ์วิปลาศ ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูตร
- ว่าด้วยลักษณกุมาร กุมารออกจากครรภ์ ฝังรกแห่งกุมาร กุมารอยู่ในเรือนเพลิง (ผูก ๑ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยสังโยชน์ลักษณ์สัตรีดีแลชั่ว แลรศน้ำนมดีแลชั่ว (ผูก ๑ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยลักษณะรูปสัตรีแลรูปกุมาร (ผูก ๒ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยลักษณะปักษี แลปิศาจกระทำโทษ ลักษณะน้ำนมมีโทษ ๓ ประการ
- ว่าด้วยลักษณะทราง
- กำเนิดทรางทั้งปวง
- อาการไข้อันบังเกิดแห่งกุมารกุมารีทั้งหลาย
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอาทิตย์ (ผูก ๓ บริเฉท ๑)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันจันทร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๒)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันอังคาร (ผูก ๓ บริเฉท ๓)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพุฒ (ผูก ๓ บริเฉท ๔)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันพฤหัศบดี (ผูก ๓ บริเฉท ๕)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันศุกร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๖)
- ว่าด้วยกุมารเกิดวันเสาร์ (ผูก ๓ บริเฉท ๗)
- คัมภีร์เตร็จซึ่งคัดมาจากคัมภีร์อภัยสันตา ว่าด้วยทรางต่างๆ (ผูก ๔)
- ลักษณะกำหนดทรางแลทรางจร กำลังไข้ กิมิชาติแลตานโจร (ผูก ๕)
- ตานโจรเกิดด้วยธาตุทั้ง ๔ ตานโจรอันเกิดเพื่ออะติสาร (ผูก ๖)
- ตานโจรเกิดเพื่ออติสาร แลว่าด้วยกาฬต่าง ๆ
- ว่าด้วยอุจจาระปัสสาวะแห่งกุมารแลกุมารี แลลักษณะตานจร
- พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
- คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)
- สรรพคุณยาแก้ไข้ทรพิศม์
ว่าด้วยทับ ๘ ประการ
นมัดถุ รัต๎นัต๎ยัส๎ สิทธิการิย ตั้งแต่นี้ไปว่าด้วยทับ ๘ ประการโดยสังเขป
(๑) ไนยหนึ่งนั้นเด็กไข้ แม่ทรางใดมากระทำ เข้าประจำสองโทษ กุมารโสดให้ท้องขึ้น เท้ามือมึนเยือกเย็น อุจาระเหม็นพิการ พอมาพานสำรอกทับ อาการกลับแรงร้าย ให้ลงท้องกระหายน้ำ มีกำลังด้วยเชื่อมมัว ให้ปวดหัวตัวร้อน ตีนมือท่อนปลายเย็น อาการเปนดังนี้ เอายาตรีให้กินเช้า ยามเที่ยงเอาหอมผักหนอก ยามเย็นบอกประสะนิล น้อยให้กินสำหรับ
(๒) หนึ่งทรางทับสำรอก อาจาริย์บอกไว้แจ้ง สำรอกแห่งกุมาร มีอาการสี่อย่าง เหลืองเขียวบ้างเสมหะ เปนเม็ดมะเขือก็มี ยังทวีด้วยทรางแทรก อาการแปลกต่อไป ขึ้นฅอไอนอนผวา ไม่นำพาซึ่งนมเข้า ตัวนั้นเล่าบางทีร้อน บางทีผ่อนให้หนาว แลบางคราวเปนท่อน เย็นแลร้อนไม่เหมือนกัน หนึ่งตามันมักดูบน ทรางระคนกับสำรอก อาการบอกจะแจ้งใจ
(๓) หนึ่งนั้นไซร้ทรางทำ เจ็บประจำอยู่ก่อน ให้อธิกรณ์แก่เด็กใด ท้องลงไหลเปนมูกคละ อุจาระพิการเปน เปรี้ยวคาวเหม็นสองอย่าง ลอองทรางขึ้นฅอใน กำเริบไอเปนหมู่ ๆ กำเดาจู่มาซ้ำเข้า ให้ซึมเซาเชื่อมมัว หัวตัวเปนเปลวร้อน โดยอธิกรณ์สังเกตมา แพทย์ให้ยาอย่าดูเบา
(๔) หนึ่งกำเดาเปนต้นไข้ ทำให้ไอปวดหัว ทั่วตัวเปนเปลวร้อน นอนสท้อนถอนใจใหญ่ ดูหายใจติดจะสั้น ปากฅอนั้นแห้งสามารถ หลับๆ หวาดผวาไห้ ทรางนั้นไซร้พลอยเกิด เม็ดกำเนิดในฅออก เข้านมยกบ่พาน ต้องหลังดานท้องขึ้นแขง อาการแสดงเปนสองโทษ อาจาริย์โจทย์ให้เหน ให้ยาเย็นแลสุขุม
(๕) หนึ่งทรางกุมโทษให้ ยังอยู่ในระหว่างทำ มูกเลือดดำสดก็มี ปวดเบ่งทวีเปนกำลัง กำเดาบังเกิดจรมา ทั่วกายาร้อนตลอด เชื่อมมัวทอดไม่สมปฤดี เหนวารีให้อยาก หายใจกระดากให้ขัด โทษอุบัติดังนี้ไซร้ มิเปนไรพอกระทำ เช้ายาน้ำสมอไทย ยามเที่ยงให้หอมผักหนอก อาจาริย์บอกอย่าพลั้ง
(๖) หนึ่งกำลังเด็กกำเดา ให้ซึมเซาเชื่อมมัว ปวดหัวตัวร้อนกล้า แต่บาทาตลอดบน บางทีท้นท้องขึ้นแรง หอบไอแห้งทำต่างๆ มูกเลือดขวางมาทับให้ ลงมิได้เปนเพลา ให้เวทนากระหายน้ำ ปวดเบ่งซ้ำเปนกำลัง อาการดังที่กล่าวมา พอเยียวยาไว้ได้
(๗) หนึ่งทรางไซร้กระทำก่อน มันเบียนบ่อนกินปอดตับ โดยตำหรับท่านกล่าวว่า ลงออกมาเปนส่าเหล้า น้ำไข่เน่าคาวขื่นเหม็น ปลายมือเปนมูกเลือดสด ให้ระทดเบ่งปวดมวน หิวโหยหวนกระหายน้ำ ตับนั้นซ้ำซุดลงมา ให้เวทนายิ่งมากเข้า เลือดเสลษม์เน่าพิการกล ตัวร้อนท้นทำท้องขึ้น ตีนมือมึนเยือกเย็น หนึ่งจงเหนหายใจขัด อาการชัดดังกล่าวอ้าง เหลือแพทย์ง้างให้คืนกลับ
(๘) หนึ่งบังคับไว้ว่า กุมารากุมารี ล้มอกติสีข้างฟัด ชอกช้ำขัดในกายา อยู่นานมาจับไข้ ตัวร้อนไปเปนเพลา ดูหน้าตาไม่มีสี ยังทวีด้วยอาการ ตับบันดานตกจากที่ สองโทษทวีระคนกัน ให้ท้องนั้นร่วงลงมา เปนส่าเหล้าแลไข่เน่า เบื้องปลายเล่าเปนมูกเลือด ไม่ห่างเหือดเวลา นอนหลับตาเบ่งปวด ตัวร้อนรวดรุ่มไป หนึ่งหายใจสอื้นขัด ตีนมือบัดเย็นแลร้อน ทำยอกย้อนให้ฉงน อาการกลมีนานา แม้นชัดดังเช่นว่า โทษแท้เที่ยงตาย
อาการทับแปดประการ พระอาจาริย์ท่านกล่าวไว้โดยสังเขป ให้กุลบุตรพึงศึกษาสำเนียกพิจารณาโดยละเอียดเทอญ