- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
อุตตรกัณฑ์
อุตตรกัณฑ์ (คือ “กัณฑ์แถม”) - ตามข้อความในท้ายยุทธกัณฑ์นั้นก็แลเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของผู้แต่งเรื่องรามายณเดิมก็ให้จบเพียงยุทธกัณฑ์เท่านั้นเอง แต่เรื่องราวเล่าต่อๆ กันมาก็คงจะเกิดมีคนอยากรู้ซอกซอนต่างๆ เช่นถามว่า กำเหนิดทศกรรฐนั้นเปนอย่างไร [เพราะในตัวรามายณเดิม คือตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงที่ ๖ นั้น มิได้มีข้อความละเอียดกล่าวด้วยกำเหนิดทศกรรฐ] พราหมณ์ที่เปนคณาจารย์คงจะต้องเล่า จึ่งเกิดมีอรรถกะถาเรื่องกำเหนิดทศกรรฐขึ้น ดังนี้เปนต้น ต่อๆ มาอรรถกะถาเหล่านี้มีมากขึ้นทุกที จนในที่สุดจึ่งมีผู้เก็บรวบรวมเข้าไว้แห่งเดียวกัน และให้ชื่อว่าอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณ เพราะฉนั้นเรื่องราวของกัณฑ์นี้จึ่งไม่ติดต่อกัน เห็นได้ว่าจับเอาเรื่องหลายๆ เรื่องมาร้อยกันเข้า หัวต่อเชื่อมไม่สนิทและดูมิได้พยายามที่จะให้สนิทด้วยซ้ำ เรื่องราวในอุตตรกัณฑ์นี้ เมื่อไทยเราจะแต่งรามเกียรติ์ได้เก็บเอาเรื่องราวที่กล่าวด้วยกำเหนิดของผู้มีชื่อต่างๆ ไปลงไว้ในต้นเรื่อง คงเอาแต่เรื่องเนรเทศนางสีดาและกำเหนิดพระกุศ (“พระมงกุฎ”) และพระลพ กับเรื่องศึกพระภรตและพระศัตรุฆน์ไว้ในตอนท้าย เมื่อพิจารณาดูเห็นอยู่ว่า อุตตรกัณฑ์นี้มีข้อความอันนับว่าเปนมูลรากแห่งรามเกียรติ์ของเราอยู่มาก จึ่งควรสังเกตหัวข้อไว้บ้าง ข้าพเจ้าได้เก็บหัวข้อเหล่านั้นมา จัดแบ่งเอาเองเปนภาคๆ ตามเนื้อความของเรื่อง ดังต่อไปนี้