- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
รามายณฉบับสังสกฤต
หนังสือที่นับว่าเปนคัมภีร์สำคัญอันแสดงด้วยกิจการของพระรามนั้นมีนามปรากฎว่า “รามายณ” ซึ่งปราชญ์นิยมกันว่าเปนหนังสือกาพย์ที่เก่าที่สุดในภาษาสังสกฤต ผู้รจนาเปนพรหมฤษีผู้มีนามว่า วาลมีกิ (ซึ่งในรามเกียรติ์ของเราเรียกเพี้ยนไปว่า “วัชมฤคี”)
ในหนังสือรามายณเองนั้น ไม่มีข้อความอันใดที่จะแสดงให้ปรากฎว่าแต่งขึ้นเมื่อใดแน่ แต่พวกปราชญ์ยุโรปผู้เอาใจใส่สอบสวนพิจารณาในโบราณคดีและวรรณคดีสันนิษฐานว่าเรื่องราวจะได้ผูกขึ้นประมาณ ๒๔๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว หรือราวต้นพุทธกาลของเรานั้นเอง แต่ต้องเข้าใจว่าเมื่อจับรวบรวมขึ้นเปนรูปนั้น ได้เปนเรื่องโบราณอยู่แล้วและได้แสดงกันเปนตำนานต่อๆ กันมาแล้วหลายชั่วคนก่อนพุทธกาล ถึงแม้เมื่อได้รจนาเปนกาพย์ขึ้นแล้วก็ยังคงท่องจำขึ้นใจและสวดกันต่อๆ มา จนอีก ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ ปีจึงได้ลงเปนลายลักษณอักษร และใช้เปนคัมภีร์สำคัญในลัทธิไสยศาสตร์สืบมา หนังสือนั้นมีเปนหลายนิกาย แต่ที่นับว่าสำคัญมีอยู่ ๒ นิกาย คืออุตตรนิกาย ๑ องคนิกาย (คือฉบับเบ็งคอล) ๑ อุตตรนิกายเปนหนังสือเก่ากว่า และมีข้อความที่เจือปนน้อยกว่าองคนิกาย
หนังสือรามายณนั้น นักปราชญ์กล่าวว่าไม่ใช่ฝีปากเดียว คือมีผู้แต่งไว้แต่เรื่องพระรามแท้ๆ ก่อน แล้วจึงมีผู้อื่นแต่งข้อความอื่นๆ แซกลงไปเปนแห่งๆ
ตามรูปหนังสือที่เปนอยู่เดี๋ยวนี้ แบ่งเปน ๖ กัณฑ์ กับมีเปนกัณฑ์แถมอยู่ข้างท้ายอีกกัณฑ์ ๑ ข้อความในหนังสือนั้นกล่าวโดยสังเขปตามฉบับอุตตรนิกาย ดังต่อไปนี้