- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
รามเกียรติ์ฉบับไทย
ส่วนหนังสือรามเกียรติ์ฉบับไทย คือที่มาแต่งเปนบทกลอนภาษาไทยได้ค้นกันมาแล้ว คงพบอยู่ ๓ ฉบับเท่านั้น กล่าวคือ
๑. ฉบับพระนิพนธ์เจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งมีกล่าวถึงในพระราชวิจารณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เรื่องความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีนั้นแล้ว ตามที่รู้กันอยู่นั้นว่า เจ้ากรุงธนบุรีทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ให้ลครหลวงเล่นประชันกับลครของเจ้านครและเข้าใจกันว่าเปนของแปลกอยู่บ้างในสมัยนั้น
๒. ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเปนฉบับที่คนเรารู้จักกันดียิ่งกว่าฉบับอื่น เพราะได้พิมพ์แพร่หลายยิ่งกว่าฉบับอื่น พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ นี้ สังเกตุได้ว่าพระราชประสงค์คือจะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ไว้ให้ได้หมด มากกว่าที่จะให้ใช้สำหรับเล่นลคร
๓. ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ที่พิมพ์ใหม่ต่อไปนี้ เมื่อใครๆ ได้อ่านแล้ว ก็จะสังเกตุเห็นได้ว่า พระราชประสงค์ทรงแต่งขึ้นสำหรับให้ลครหลวงเล่นโดยแท้ จึ่งทรงเลือกเปนตอนๆ ตามที่จะใช้เปนบทลครได้
ส่วนหนังสือรามเกียรติ์ครั้งกรุงเก่าไม่พบเลยสักฉบับเดียว เพราะฉนั้นต้องสันนิษฐานว่า รามเกียรติ์ที่แต่งเปนบทกลอนพึ่งจะมามีพระนิพนธ์เจ้ากรุงธนบุรีนั้นเปนฉบับแรก