- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
คำนำ
ในงานทำบุญพระตำหนักจิตรลดาระโหฐาน ณวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ข้าพเจ้าได้จัดการให้พิมพ์หนังสือรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ และมีความปรารภอย่างไร มีข้อความแจ้งอยู่ในคำนำที่น่าหนังสือนั้นแล้ว
ข้าพเจ้ามาคำนึงดูถึงเรื่องรามเกียรติ์ อันเปนเรื่องราวสำคัญที่ชาวไทยเรารู้จักกันดีอย่างซึมซาบก็จริงอยู่ แต่มีน้อยตัวนักที่จะทราบว่ามีมูลมาจากไหน ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยรู้สึกเช่นนี้มาแล้วแต่ก่อน ๆ จึ่งได้ตั้งใจเที่ยวค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนี้ ตั้งความพยายามมาแล้วหลายปีกว่าจะหาหนังสือได้เท่าที่พอใจ และต่อมาก็ค่อยๆ อ่านไปดูไปตามแต่จะมีเวลาว่าง มาจนบัดนี้รู้สึกว่าได้ความรู้พอที่จะขยายให้พวกนักเลงหนังสือด้วยกันฟังบ้างแล้ว ข้าพเจ้าจึ่งได้แต่งข้อความเหล่านี้รวบรวมพิมพ์เปนหนังสือนี้ขึ้น เรียกว่า “บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” สำหรับแจกไปพร้อมกับหนังสือพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้จัดการพิมพ์ขึ้นใหม่ หวังใจว่าผู้ที่ได้รับไปจะได้ใช้เปนประโยชน์ในทางเปรียบเทียบและสอบทานกับข้อความที่มีอยู่ ไม่เฉภาะแต่ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ทั้งจะใช้อ่านเทียบกับฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีพิมพ์แพร่หลายอยู่แล้วนั้นด้วย
จริงอยู่หนังสือ “บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” นี้ คงจะเปนของสนุกสำหรับนักเลงหนังสือและโบราณคดีนั้นแลเปนอาทิ แต่ข้าพเจ้าหวังใจว่าถึงแม้ผู้อ่านทั่วๆ ไปก็จะอ่านสนุกได้บ้าง และหวังใจว่าจะเปนทางบำรุงความรู้ขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าเปนไปได้ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยินดีหาน้อยไม่
อ่างศิลา วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๕๖