- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีหนังสือเบ็ดเตล็ด อันกล่าวด้วยเรื่องพระรามอีกหลายฉบับ แต่ที่ควรยกมากล่าวถึงในที่นี้ มีอยู่ ๔ ฉบับ ดังต่อไปนี้
๑. “ราโมปาข๎ยาณํ” คือ “เรื่องพระราม” เปนส่วน ๑ ในวันบรรพแห่งหนังสือมหาภารต มีเรื่องพระรามโดยย่อ
๒. “อาธ๎ยาต๎มรามายณ” สมมตว่าพระว๎ยาสมุนี (ผู้นิพนธ์หนังสือมหาภารต) เปนผู้นิพนธ์ แต่นักเลงวรรณคดีมักกล่าวกันว่าเปนส่วน ๑ แห่งพรหมาณฑะปุราณะ ซึ่งแปลว่าเปนชิ้นใหม่กว่ามหาภารตเปนอันมาก หนังสือนี้เล่าเรื่องพระรามอย่างที่มีข้อความอยู่ในรามายณนั้นเอง แต่สรรเสริญพระรามเปนพระเปนเจ้า “ผู้ถนอม” (“หริ”) มากกว่าเปนมนุษ หนังสือนี้ก็แบ่งเปน ๗ กัณฑ์ อันมีนามเหมือนในรามายณ แต่สั้น ๆ กว่าเปนอันมาก อาธยาตมรามายณนี้ไม่เปนหนังสือสลักสำคญพอที่จะต้องพิจารณาให้ยืดยาวต่อไป
๓. “มหาวีรจารีต” ผู้แต่งชื่อภวภูติ เปนผู้มีชื่อเสียงในทางแต่งลครสังสกฤต ที่เรียกว่า “นาฏก” กวีผู้นี้มีฉายาว่าศรีกันฐ เปนพราหมณ์ซึ่งเกิดที่ใดไม่ปรากฎชัด แต่สำนักที่อยู่นั้นคือนครอุชชยินี และสมัยคือราวในศัตวรรษที่ ๑๔ แห่งพุทธกาล
หนังสือมหาวีรจารีตนี้ เปนหนังสือบทลครชนิดนาฏกะแท้ คือมีแบ่งเปนชุดๆ และตั้งรูปคล้ายๆ ลครพูด แต่เปนฉันท์ทั้งหมด นอกจากในตอนที่ตลกเล่นเปนชุดแซกจึ่งเปนร้อยแก้ว เรื่องลครนี้ ข้าพเจ้าได้เคยอ่านฉบับที่อาจารย์ยอน ปิคก์ฟอด (John Pickford) แปลเปนภาษาอังกฤษ รู้สึกว่าถ้าจะเล่นลครอย่างที่แต่งไว้นั้น เห็นจะสนุกน้อยเต็มที เพราะตามแบบลครสังสกฤตกิจการใดๆ ที่นับว่ารุนแรงต้องไม่มาทำให้คนดูเห็น เพราะฉนั้นการรบกันคนดูเปนไม่ได้เห็นเปนอันขาด เช่นในตอนพระรามรบกับทศกรรฐ ก็มีแต่ออกมาพูดโต้ตอบกันไปมา จนถึงเวลาจะรบก็พากันเข้าโรงไป แล้วมีฤษีหรือเทวดาออกมาพูดเปนทำนองโจทย์กัน ว่าเขารบกันอย่างนั้นๆ “พระรามจับศรแผลงทศกรรฐแล้ว นั่นแน่ดูสิ อ้ายยักษ์ใจร้ายมันไม่ยำเกรงพระนารายน์อวตาร มันบังอาจจับศรของมันจะต่อสู้กับพระองค์บ้าง” และนานๆ ก็มีเสียงเอะอะในโรงบ้าง ดังนี้ ดูไม่น่าสนุกเลย
เรื่องลครนั้น จับแต่พาลกัณฑ์ตลอดไปจนจบยุทธกัณฑ์ แต่สั้นกว่ารามายณมาก เลือกเอาแต่เปนตอนๆ เท่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าข้างไทยเราจะไม่ได้หยิบอะไรมาจากลครเรื่องนี้เลย
๔. “อุต์ตรรามจารีต” เปนเรื่องลครสังสกฤตอย่างเดียวกับมหาวีรจารีต และภวภูติเปนผู้นิพนธ์เหมือนกัน เรื่องลครนี้ได้เอาอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณเปนหลัก เรื่องลครนี้กล่าวด้วยเรื่องพระรามหึงและคลั่ง เนรเทศนางสีดา และนางสีดาประสูตรพระกุศกับพระลพ ต่อนี้ไปพระรามรู้สึกพระองค์ว่าได้ประพฤติไม่เปนยุติธรรมต่อนางสีดา จึ่งออกไปตาม พบกันที่อาศรมพระวาลมีกิ ดีกันแล้วพากันกลับเข้าคืนกรุงศรีอโยธยา อยู่ด้วยกันโดยผาศุก