- คำนำกรมศิลปากร
- คำนำ
- ประวัติพระราม
- รามายณฉบับสังสกฤต
- พาลกัณฑ์
- กุศิกวงศ์
- เรื่องพระคงคามหานทีและพระอุมา
- เรื่องท้าวสัครราชและกำเหนิดพระสาคร
- เรื่องกวนน้ำอมฤต
- กำเหนิดพระมารุต
- ตำนานนครวิศาลา (อุชชยินี) และพงษาวดารกษัตร์นครนั้น
- แสดงสาเหตุที่ท้าววิศวามิตรวิวาทกับพระวสิษฐพรหมฤๅษี
- ท้าววิศวามิตรจะเอาชนะพระวสิษฐ
- ท้าววิศวามิตรตั้งความพยายามจะเปนพราหมณ์
- เรื่องท้าวตรีศังกุ
- พระวิศวามิตรไปบุษกร
- เรื่องท้าวอัมพรีษและพราหมณ์ศุนหเศป
- พระวิศวามิตรได้เปนมุนี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางเมนะกา
- เรื่องพระวิศวามิตรได้เปนมหาฤษี
- เรื่องพระวิศวามิตรกับนางรัมภา
- พระวิศวามิตรได้เปนพรหมฤษีสมปราถนา
- ตำนานรัตนธนูและกำเหนิดนางสีดา
- อโยธยากัณฑ์
- อรัณยกัณฑ์
- กีษกินธากัณฑ์
- สุนทรกัณฑ์
- ยุทธกัณฑ์
- อุตตรกัณฑ์
- ภาคที่ ๑ - แสดงด้วยอสุรพงษ์
- ภาคที่ ๒ - ทศกรรฐเยี่ยมพิภพ
- ภาคที่ ๓ - การสงครามและความประพฤติพาลของทศกรรฐ
- ภาคที่ ๔ - แสดงวานรพงษ์
- ภาคที่ ๕ - แสดงสาเหตุที่บรรดาลให้ทศกรรฐลักสีดา
- ภาคที่ ๖ - ว่าด้วยการส่งกษัตร์ที่มาช่วยงานกลับเมือง
- ภาคที่ ๗ - เนรเทศนางสีดา
- ภาคที่ ๘ - ตำนานเบ็ดเตล็ด
- ภาคที่ ๙ - แสดงพระคุณธรรมแห่งพระราม
- ภาคที่ ๑๐ - ศึกพระศัตรุฆน์ (และนางสีดาประสูตร์พระกุศพระลพ)
- ภาคที่ ๑๑ - พระรามลงโทษศุทร์ผู้กำเริบทำเทียมพราหมณ์ (และเรื่องอื่นๆ)
- ภาคที่ ๑๒ - พิธีอัศวเมธของพระราม และรับสีดาคืนนคร
- ภาคที่ ๑๓ - ศึกพระภรต และจัดตั้งเมืองให้หลานหลวง
- ภาคที่ ๑๔ - เนรเทศพระลักษมณ์ และพระลักษมณ์ไปสวรรค์
- ภาคที่ ๑๕ - พระรามและบริวารขึ้นสวรรค์
- รามายณฉบับฮินดี
- ปุราณะ
- หนังสือเบ็ดเตล็ดเรื่องพระราม
- เรื่องราวของหนุมาน
- เรื่องไมราพณ์
- สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
- รามเกียรติ์ฉบับไทย
- ลครดึกดำบรรพ์
สรูปความเห็นในเรื่องบ่อเกิด
ข้าพเจ้าได้เก็บนามบรรดาหนังสือซึ่งมีข้อความเนื่องด้วยพระรามและตัวสำคัญอื่นๆ มารวมไว้ในที่นี้ ให้เปนเหมือนอย่างสารบานสำหรับที่นักเลงหนังสือจะได้ใช้ในการที่จะตรวจค้นและพิจารณาต่อไป เพื่อให้รู้ได้โดยแน่ชัดและละเอียดละออ ว่าเรื่องราวที่มีอยู่ในรามเกียรติ์ของเรานั้นมาจากแห่งใดบ้าง
ส่วนตัวข้าพเจ้าเองสันนิษฐานว่า บ่อเกิดสำคัญแห่งเรื่องรามเกียรติ์ของเราน่าจะมีอยู่ ๓ บ่อ กล่าวคือ:-
(๑) รามายณฉบับสังสกฤต และน่าจะได้ใช้ฉบับองคนิกาย เพราะข้าพเจ้าเข้าใจว่าพราหมณ์ที่มาเมืองเราจะได้มาจากแคว้นองคราษฎร์ (เบ็งคอล) ทั้งมีข้อความที่พอจะอ้างเปนพยานในข้อนี้ได้อย่าง ๑ คือเรื่องพระกุศกับพระลพจับม้าอุปการขี่ และพระรามออกไปจับกุมารทั้ง ๒ นี้ มีอยู่ในฉบับองคนิกาย แต่ในฉบับอุตตรนิกาย (ซึ่งเปนฉบับที่ข้าพเจ้ามีอยู่นั้น) ไม่มีเรื่องนี้
(๒) วิษณุปุราณะ น่าจะเปนบ่อเกิดแห่งข้อความเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในรามเกียรติ์ของเราเปนอันมาก แต่โดยมากคงจะเปนข้อความในตอนต้นๆ คือตอนกำเหนิดต่างๆ และตอนทศกรรฐเยี่ยมพิภพเปนต้น ข้อความเบ็ดเตล็ดอย่างเช่นข้อที่ว่าครั้ง ๑ ทศกรรฐได้บังคับให้เทวดามารับใช้ตนเปนต้น ได้ความว่ามาจากวิษณุปุราณะ
(๓) หนุมานนาฏกะ น่าจะได้เปนบ่อเกิดแห่งบรรดาข้อความที่กล่าวด้วยความเก่งต่างๆ ของหนุมาน หนังสือหนุมานนาฏกะเปนหนังสือที่ชาวอินเดียชอบกันมาก เพราะฉนั้นถึงแม้ว่าพราหมณ์จะมิได้นำเข้ามาถึงเมืองไทยเราด้วย ก็น่าจะได้จำเอาเนื้อเรื่องมา และบางทีจะจำมาได้เปนท่อนใหญ่ๆ ก็เปนได้
เรื่องพระรามาวตารนั้น ต้องเข้าใจว่าพราหมณ์เขาเห็นเปนเรื่องสำคัญ ไม่ผิดอะไรกับความรู้สึกของชาวเราในส่วนพระเวสสันดร เพราะฉนั้นพราหมณ์ทุกคนที่เข้ามายังเมืองเราคงจะจำเรื่องพระรามมาได้อย่างแม่นยำฝังอยู่ในใจ และคงจะเล่าได้โดยพิศดารและละเอียดละออเท่ากับเราๆ เล่าเรื่องพระเวสสันดรฉนั้น ส่วนหนังสือที่เปนต้นตำหรับนั้น บางทีก็อาจจะมีมาแต่รามายณฉบับสังสกฤตกับวิษณุปุราณะเท่านั้นก็ได้ แต่เมื่อเล่าเรื่องพระรามาวตารให้ไทยเราฟังนั้น พราหมณ์คงเล่าไปตามที่จำได้ขึ้นใจ และถ้าจะถามว่าตอนใดออกจากหนังสือเล่มใดก็น่าจะให้การไม่ถูกด้วยซ้ำ