- คำนำ
- ชิต บุรทัต
- สรรเสริญพระคเณศวร
- มหานครปเวศน์คำฉันท์
- ฉันท์ราชสดุดี และ อนุสาวรียกถา
- กาพย์เฉลิมพระเกียรติ งานพระเมรุทองท้องสนามหลวง
- ฉันท์เฉลิมพระเกียรติ งามพระเมรุทองท้องสนามหลวง
- คติของพวกเราชาวไทย
- ชาติปิยานุสรณ์
- เฉลิมฉลองวันชาติ
- ปรีดิปรารมภ์
- เขาย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
- ลิลิตสุภาพ จุลธนุคหะบัณฑิต
- ลิลิตสุภาพ พาโลทก ชาดก ในทุกนิบาต
- ๑. มกรา
- อิลลิสชาดก ในเอกนิบาต
- เวทัพพะชาดกคำฉันท์
- กกุฏวาณิชคำโคลง
- ตาโป๋คำฉันท์
- เสียงสิงคาล
- สัตว์หน้าขน
- อุปมาธรรมชาติ
- วัสสานฤดู
- วารวิสาขะมาส
- เหมันตฤดู
- เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
- ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล
- ดรุณรำพึงคำฉันท์
- ภาพที่หลับตาเห็น
- เอกเขนกขอบสระ
- ดรุณจตุราภิรมย์
- นิราศนครราชสีมา
- นิราศแมวคราว
- แถลงสุภาษิต
- ชีวิตเราเปรียบด้วยนกบิน
- สัญชาติอีกา
- ไม่อดทนต่อคำสั่งสอน
- เหตุ และ ผล
- ความรู้
- สหลักษณ์
- กวีสี่
- กำเนิดแห่งสตรีคำโคลง
- “สละกันเพราะแต่งงาน”
อิลลิสชาดก ในเอกนิบาต
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ | |
จักกล่าวนิยายสาร | จิรกาลภิปรายมา |
ชาดกนิทานวา | ทประโยชน์อเนกนอง |
ยังมีตระกูลหนึ่ง | บริโภคทรัพย์ครอง |
คับคั่งสะพรั่งของ | อุปโภคพหุภัณฑ์ |
นามอ้างยุบลอิล | ลิสเศรษฐีปางบรรพ์ |
พาราณสีอัน | ธ สถิตสถานคาร |
เป็นง่อยกระจอกเทศ | นยเนตรก็เหล่ลาน |
ทั้งกายวิการพาล | และตระหนี่ก็เหลือหา |
กาลหนึ่งและเศรษฐี | มนะมีกระหายอา |
หารเสพย์สุราปา | น ฉะนั้นก็สุดแสน |
แต่มีหทัยมัจ | ฉลิย์โลภะเป็นแดน |
เกิดความตระหนี่แหน | บ มิอยากจะกลั่นใน |
คามตนุเพราะกลัวเพื่อน | ฆรอื่นจะมีใจ |
ใคร่เสพย์ไฉนใคร | จะมิเผื่อและเจือจาน |
จัดวัตถุเครื่องกลั่น | จรดั้นวนาสานฑ์ |
พลางกลั่นสุราบาน | บริโภคะผู้เดียว |
ฝ่ายข้างสถานกา | ล มิช้าประเดี๋ยวเดียว |
ผู้คนอเนกเหลียว | ก็ประสบประดุจกาย |
เศรษฐี บ เพี้ยนผิด | มนคิดประหลาดหลาย |
เอื้อนอรรถภิเปรยปราย | ภริยาก็สั่งการ |
ให้ขนธนานัน | ตะจะปันจะแจกทาน |
ป่าวร้องสนองสาร | และก็แจกก็จ่ายไป |
ต่างคิดคะนึงหมาย | มนะอัธยาศัย |
ว่าเมาสุราใจ | ก็แปลกก็เปลี่ยนแปลง |
ต่างคนก็รับทาน | อลหม่านมิมีแคลง |
สงสัยและหน่ายแหนง | ธนมากอนันต์พรรค์ ฯ |
ภุชงคประยาตรฉันท์ ๑๒ | |
บุรุษหนึ่งก็ได้โค | และเกวียนโมทนาพลัน |
ก็ขึ้นสู่สกัดผัน | คระไลล่วงพนัสพลาง |
ประสิทธิ์พาทประสาทพร | ตลอดดอนวนากลาง |
สถลมรรคลุล่วงทาง | สถิตวุฒิเศรษฐี |
ณ บัดนั้นและท่านมา | พินิจกายะคาวี |
และเกวียนจำถนัดดี | มโนแน่และของเรา |
วิวาทกับบุรุษหา | คดีว่าขะโมยเขา |
กระทำโบยประหารเอา | บุรุษนั้นก็สู้เถียง |
จะสู้ชายก็ไม่ได้ | ก็ปล่อยไป ฤ กายเพียง |
สลายภินทนาเอียง | กระเด็นจากอุราตน |
จรีดุ่มจรัลด่วน | คระไลหวนจะกลับยล |
นิกรชาวบุรีชน | หิรัญวัตถุเนืองนอง |
วิวาทมาตลอดทาง | ระหว่างกลางถนนปอง |
ลุถึงที่สถิตของ | ธ จึงนายทวารพลัน |
แถลงห้ามมิให้เข้า | สถานเนาว์ก็เกียจกัน |
สนองอรรถเสนออัน | ยุบลห้ามเพราะเศรษฐี ฯ |
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ | |
ฝ่ายเศรษฐีเดิม | |
โมหะหุ้มเหิม | โทสะมากมี |
เข้าราชนิเวศน์ | ทูลเหตุคดี |
โจรปลอมกายี | เป็นข้าพระองค์ |
ขนทรัพย์ศฤงคาร | |
จำแนกแจกทาน | ตามความประสงค์ |
ข้าขออำนาจ | แห่งบาทบงสุ์ |
ขอพระองค์ทรง | โปรดเรียกจำเลย |
ฝ่ายปิ่นธานี | |
พาราณสี | ดำรรัสอรรถเฉลย |
ดูก่อนเศรษฐี | หาดีไม่เลย |
เมื่อกี้ใครเหวย | มาบอกกับตู |
ว่าจักแจกจัด | |
พัสดุสารพัด | ก็คือตัวสู |
แลจักถวายหลวง | นานล่วงหรือดู |
เดี๋ยวเดียวตาครู | เหลาะแหละโลเล |
เรานี้ไม่รับ | |
ให้เจ้าขนกลับ | เป็นทานทอดเท |
ซ้ำพลอยบันเทิง | รื่นเริงด้วยเอ |
ออเฒ่าเสเพล | จักเดินแต้มไหน |
ฝ่ายเศรษฐีเดิม | |
ทูลตอบพจน์เสริม | แต่ตามตรงใจ |
ถ้าว่าพระองค์ | ยังทรงสงสัย |
รับสั่งหาใคร | มาเป็นพยาน |
อุปชาติฉันท์ ๑๑ | |
พระจอมนรินทร์ตรับ | สุรศัพท์เฉลยสาร |
ดำรัสประภาษการ | จะประสงค์คดีความ |
พระสั่งอมาตย์ให้ | จรไปและจงตาม |
ตัวคู่คดีถาม | ยุติธรรมไฉนหนอ |
อมาตย์ก็ด่วนเดิน | บ มิเนิ่นมินานพอ |
พบแล้วมิรั้งรอ | กรยึดก็พาไป |
ลุถึงนิเวศน์เห็น | เอะ ละเป็นประการใด |
โจทก์อีกจำเลยใคร | ฤ จะทราบเพราะเหมือนกัน |
บ เพี้ยน บ ผิดแปลก | บ มิแผกมิผวนผัน |
สันฐานฉวีวรร | ณ ประดุจจะพิมพ์เดียว |
และต่างก็ต่างอ้าง | อภิปรายเสนอเทียว |
ว่าตนละแน่เจียว | บ มิปิด มิอำพราง |
จะถามก็ไป่รู้ | และ บ แน่ บ ไว้วาง |
โจทก์อ้างพยานทาง | ฆรเพื่อพินิจเคย |
พยานก็ชี้พลัน | นรนั่นสิจำเลย |
จริงดังภิปรายเปรย | และก็ต่างก็เถียงขรม |
และโจทก์ก็อ้างบน | ศิรตนละมีปม |
นายช่างประดิษฐ์ผม | และจะทราบฤทัยเธอ |
ธิราช ธ ตรัสสั่ง | กลบกพินิจเออ |
จักแปลกกระมังเหนอ | ฤ จะเท็จจะจริงใด |
สดับอรรถสาธก | กลบกก็ยลใน |
สองศีรษะสองใคร | ดุจเดียวและมีปม |
ธ จึงแสดงวา | กยสารวัจน์สม |
คาถาเฉลยลม | สุภดั่งนิพนธ์ยล |
“อุโภ ขัญ์ชา อุโภ กุณี | อุโภ วิสมจัก์ขุกา |
อุภิน์นํ ปิฬกา สีเส | นาหํ ชานามิ อิล์ลิสํ” |
สองคนสองกระจอกทั้ง | สองคน ง่อยแฮ |
สองจักษุสองวิกล | ส่องแล้ |
สองมีต่อมผุดบน | ศิระเช่น เดียวนา |
สองชื่ออิลลิสแท้ | ไป่รู้คนไหน ฯ |
วสันดิลกฉันท์ ๑๔ | |
ฝ่ายโจทก์สดับพจนอัน | กลบกแสดงใน |
คาถาก็วาบกมลไหว | สติหวิวเพราะเสียดาย |
เสียยศและเสียมนหิรัญ | ธนสรรพ์ก็เสียหาย |
พลางเกลือกและกลิ้งสริรกาย | ก็สยบสลบลง |
ส่ำชนสโมสรประชุม | คณะกลุ่มก็ต่างสง |
สารเกรงจะม้วยมรณะปลง | อึกทึกกุลาหล |
พลางช่วยพิทักษชุลมุน | และก็แก้ก็ไขจน |
เศรษฐีธสร่างจิตวิกล | สติสมฤดีมา |
จำเลยก็กลายมนุษย์เพศ | พลเดชมหิทธา |
เป็นอินทรโกสิยมหา | สุรศักดิ์ก็เหิรหาว |
ท่ามกลางระหว่างนภสถิต | สุภพิศประไพราว |
กับแท่งสุวรรณวชิรพราว | ณ นภาวราภรณ์ |
พลางเปล่งประกาศพระสุรสุน | ทรเสียงพระอินทร |
เรานี้แหละเทพยอมร | บิตุเรศเสด็จมา |
เหตุเจ้าตระหนี่พัสดุนับ | คณทรัพย์ก็เหลือตรา |
ไป่ใคร่จะจ่าย ธนะและหา | บริจาคกระทำทาน |
เรื่องเมื่อเสวยอุดมสม | บัติในมนุษย์นาน |
ศรัทธามิหน่ายกุศลการ | สละมิโภคะบำเพ็ญ |
ใกล้จักมลายชิวก็ยก | มรดกอเนกเห็น |
ว่าเจ้าจะกู้กุศลเป็น | ดุจดั่งบิดาทำ |
ครั้นเจ้ามิได้ประพฤติการ | บริหารกุศลกรรม |
เป็นเหตุฉะนี้จะอุปถัม | ภ มิให้มลายสูญ |
จึ่งได้นิราศวรสถาน | ทรมานตระกูลพูน |
เพิ่ให้ประพฤติดุจประยูร | คณญาติสืบไป |
เศรษฐีก็รับวจนสาร | ปฏิญาณประดุขไข |
ของพระองค์พระอินทร์บิดรใน | ขณะนั้นมิผันแปร |
เอกองค์อมรอิศวเรศร์ | ก็เสด็จระเห็จแล |
ลิ่วลิ่วเสมอสุริยแข | จรสู่พิมานชัย |
จบ สุนทรพากย์พร้อง | เพรงกาล |
จบ เรื่องอิลลิสนิทาน | เท่านี้ |
จบสิ้นระบิลสาร | สรรใส่ ฤทัยพ่อ |
จบ พจน์บทฉันท์ชี้ | เชิญช้อยเชิญยล |
“เอกชน” ใช่ปราชญ์ณู้ | หลักแหลม เลยพ่อ |
เปรมจิตสนุกแกม | จึงได้ |
ประพันธ์พจน์จรดแซม | เสริมโสต กวีนา |
อีกจักปลุกกมลให้ | ช่มชื่นเชาวน์กระแส |
ครุแลลหุทั้ง | ทำนอง ระบอบฤๅ |
ฉันทพากย์ร้อยกรอง | ยากแท้ |
สัมผัสฟาดฟัดตรอง | ตรึกห่อน ง่ายเฮย |
ผิวปราชญ์ช่วยโปรดแก้ | ถูกไว้ตามเดิม เทอญรา ฯ |