- คำนำ
- ชิต บุรทัต
- สรรเสริญพระคเณศวร
- มหานครปเวศน์คำฉันท์
- ฉันท์ราชสดุดี และ อนุสาวรียกถา
- กาพย์เฉลิมพระเกียรติ งานพระเมรุทองท้องสนามหลวง
- ฉันท์เฉลิมพระเกียรติ งามพระเมรุทองท้องสนามหลวง
- คติของพวกเราชาวไทย
- ชาติปิยานุสรณ์
- เฉลิมฉลองวันชาติ
- ปรีดิปรารมภ์
- เขาย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
- ลิลิตสุภาพ จุลธนุคหะบัณฑิต
- ลิลิตสุภาพ พาโลทก ชาดก ในทุกนิบาต
- ๑. มกรา
- อิลลิสชาดก ในเอกนิบาต
- เวทัพพะชาดกคำฉันท์
- กกุฏวาณิชคำโคลง
- ตาโป๋คำฉันท์
- เสียงสิงคาล
- สัตว์หน้าขน
- อุปมาธรรมชาติ
- วัสสานฤดู
- วารวิสาขะมาส
- เหมันตฤดู
- เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
- ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล
- ดรุณรำพึงคำฉันท์
- ภาพที่หลับตาเห็น
- เอกเขนกขอบสระ
- ดรุณจตุราภิรมย์
- นิราศนครราชสีมา
- นิราศแมวคราว
- แถลงสุภาษิต
- ชีวิตเราเปรียบด้วยนกบิน
- สัญชาติอีกา
- ไม่อดทนต่อคำสั่งสอน
- เหตุ และ ผล
- ความรู้
- สหลักษณ์
- กวีสี่
- กำเนิดแห่งสตรีคำโคลง
- “สละกันเพราะแต่งงาน”
กกุฏวาณิชคำโคลง
๑ แถลงเลศนิเทศพร้อง | เพรงนิทาน |
ชาดกโดยดำนาน | เนติ์นี้ |
เป็นศุภคติสาส์น | เชิญสดับ |
ปรุงสติปัญญาชี้ | เชิดข้อคุณไข |
๒ สมัยกาลอดีตท้าว | พรหมทัต |
ครองพระราชสมบัติ | ผ่านหล้า |
พาราษสีรัฐ | นคเรศ ใหญ่แฮ |
ปกเกศปวงไพร่ฟ้า | เฟื่องแคว้นแดนดิน |
๓ ชินพงศ์สรรเพชญ์สร้อย | โพธิสัตว์ |
ปางพระองค์อุบัติ | บุตรผู้ |
พาณิชตระกูลปฏิ | สนธิชาติ พระนา |
นามว่าบัณฑิต[๑]รู้ | รอบค้าการขาย |
๔ มีสหายหนึ่งนั้น | นามสฤษดิ์ |
เรียอติบัณฑิต[๒] | เพื่อนได้ |
เป็นผู้ร่วมพาณิช | การกับ ท่านแล |
ร่วมทุกข์ร่วมยากไร้ | ร่วมทั้งทางไกล |
๕ เคยไปเป็นเพื่อนค้า | ขายภัณฑ์ ผองแฮ |
ต่างรักโดยสมัครฉันท์ | ชอบเชื้อ |
กำไรแบ่งปันกัน | ตามมาก น้อยนา |
กอบกิจวาณิชเกื้อ | ประโยชน์เลี้ยงชีวา |
๖ เป็นมาอย่างนี้นิจ | นิรัน ดรนอ |
พาณิชอติบัณ- | ฑิตนั้น |
นิสัยใฝ่อาธรรม์ | ฤๅเที่ยง ตรงเลย |
ตั้งแต่คิดคาดคั้น | คดแท้คอยที |
๗ มีทางโกงแล้วก็ | โกงที เดียวแล |
ยังมิเหมาะช่องตี | สนิทไว้ |
โพธิสัตว์ทราบคดี | โดยผ่อน ปรนนา |
จึงคบเพื่อนมาได้ | ยืดด้วยปัญญา |
๘ พาราณสิกผู้ | สองพา ณิชแล |
เตรียมส่ำสินค้าสา- | รพัดซื้อ |
มากเล่มนับคณนา | ในหมู่ เกวียนแฮ |
บรรทุกเทียบเพียบอื้อ | อีกทั้งเสบียงทาง |
๙ สองต่างพาพวกแคล้ว | คลาเกวียน ออกนา |
สู่เทศเขตพาเหียร | ห่างคร้าน |
มุ่งไปไม่จำเนียร | จำหน่าย หมดนอ |
รวมทรัพย์เสร็จกลับบ้าน | บ่ายหน้ามาถึง |
๑๐ จึงแบ่งทุนต้นกับ | กำไร กันแฮ |
อติบัณฑิตใจ | เจตน์จ้อง |
หมายเอาเปรียบเกินไป | ปองโลภ เหลือแฮ |
เห็นท่าไป่ขัดข้อง | คาดได้โดยคะนึง |
๑๑ รำพึงเพื่อแย้งส่วน | เอาสอง |
ให้เพื่อนภาคหนึ่งมอง | มั่นได้ |
ด้านพูดอย่างคำของ | คนโหด พาลเฮย |
ทรัพย์นี่สองส่วนให้ | แก่ข้าจึงควร |
๑๒ ส่วนเดียวของท่านแท้ | ถูกธรรม์ นักนอ |
ท่านชื่อบัณฑิตสมัญญ์ | เรียกร้อง |
นามเราอติบัณ- | ฑิตเหตุ นั้นนา |
สองส่วนทรัพย์จำต้อง | ตกข้าควรการณ์ |
๑๓ หน่อพิชิตมาร ตอบถ้อย | ทันใด |
เออเพื่อนพูดอะไร | เช่นนั้น |
ธรรมเนียมที่ไหนใคร | บัญญัติ ไว้พ่อ |
จึ่งเกี่ยงลำเอียงชั้น | ชื่อฉะนี้มีฤๅ |
๑๔ ทุนหรือสินค้าแหละ | พาหนะ ก็ดี |
ของท่านกับเราจะ | มากน้อย |
เท่ากันก็ควรกะ | ปันกึ่ง กันแล |
ท่านแบ่งเอาสองข้อย | หนึ่งได้เยียใด |
๑๕ ทำไมไม่ถูกต้อง | พูดตาม เหตุนา |
เพราะว่าสมญานาม | ท่านนั้น |
เรียกบัณฑิตโดยความ | หมายขีด คั่นฤๅ |
เป็นชื่อสามัญนั้น | ต่ำทั้งยังเยาว์ |
๑๖ ฝ่ายเรามีชื่อตั้ง | อติบัณ ฑิตพ่อ |
ดีกว่าท่านยืนยัน | อย่างนี้ |
ความยิ่งและหย่อนมัน | มีอยู่ |
สองส่วนควรเราชี้ | ชื่อนั้นเป็นประมาณ |
๑๗ เป็นการขันท่านจ้อ | เจรจา ดีฤๅ |
พูดง่ายฟังยากหนา | เยี่ยงนี้ |
คนทั้งโลกเขาหา | เห็นชอบ ด้วยเลย |
แบบอย่างใครแต่กี้ | ก่อนนั้นมีไฉน |
๑๘ อันวิสัยชื่อสิ้น | สมมติ หมายนา |
สูงต่ำจักกำหนด | ไม่ได้ |
อาศัยเพื่อความจด | จำเรียก กันแล |
ใช่เหตุสำคัญให้ | ยกขึ้นมาแสดง |
๑๙ สองต่างแย้งต่างโต้ | ตอบความ |
สองไป่ตกลงตาม | ต่อสู้ |
สองเกิดทุ่มเถียงลาม | ถึงทะเลาะ แล้วนา |
สองแตกกับเหตุผู้ | หนึ่งนั้นอาธรรม์ |
๒๐ เป็นอันรำงับถ้อย | ไปที หนึ่งนา |
สองต่างมีธุระมี | เมื่อแล้ว |
จักหาท่านผู้ปรี- | ชาตัด สินแฮ |
อติบัณฑิตแคล้ว | คลาดเข้าเรือนตน |
๒๑ กังวลหวังเพื่อได้ | ดังหมาย |
ตรองตรึกนึกเล่ห์หลาย | ลึกล้ำ |
เห็นช่องคล่องอุบาย | บทหนึ่ง |
แน่จิตสมคิดก้ำ | เก่งแท้ทางโกง |
๒๒ คุยโผงพูดเพ้อกับ | ตัวเอง |
ชิชะช่างเหมาะเหมง | คิดแก้ |
คงชนะจะเกรง | กลัวกริ่ง ใดฤๅ |
บัณฑิตเพื่อนจักแพ้ | เพื่อนด้วยเชาวน์เรา |
๒๓ เข้าไปหาแล้วบอก | บิดา ตนนา |
ทรัพย์ใหญ่จักมีมา | แม่นแท้ |
ได้โดยสะดวกหา | เห็นง่าย จริงเฮย |
หากพ่อช่วยด้วยแล้ | ลาภนั้นพลันสม |
๒๔ คนนิยมพฤกษ์ใหญ่โน้น | นักหนา |
ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ปรา- | กฏทั้ง |
มีรุกขเทวดา | สิงสถิต |
ขนนบเคารพตั้ง | แต่เบื้องเบาราณ |
๒๕ พฤกษ์สถานโน้นแหละ | โพรงมี ใหญ่แฮ |
ปกปิดมิดชิดดี | ดั่งนั้น |
พ่อจงซ่อนทำที | เหมือนเทพย์ รุกข์เทอญ |
คอยอยู่ที่นั่นครัน | พวกข้ามาถึง |
๒๖ จึงจักขอให้พ่อ | พินิจฉัย |
ความแบ่งแห่งกำไร | เรื่องนี้ |
ควรได้แก่ผู้ใด | โดยส่วน ไฉนนา |
แลพ่อก็จงชี้ | ชัดพร้องไปพลัน |
๒๗ ใครนามบัณฑิตได้ | ส่วนปัน หนึ่งเฮย |
คนชื่ออติบัณ- | ฑิตแล้ |
ได้สองภาคโดยธรรม์ | ทางที่ ถูกพ่อ |
พูดดั่งข้าสั่งแก้ | เกี่ยงแย้งคงยอม |
๒๘ ด้วยความน้อมเทพท้อ | เทวทัณฑ์ |
บัณฑิตจำเป็นปัน | ส่วนได้ |
เป็นสองเสร็จเพราะวัญ- | จนะวากย์ แห่งพ่อ |
ซ้อมสั่งกำชับให้ | ทราบสิ้นทุกประการ |
๒๙ มาบ้านบัณฑิตผู้ | โพธิสัตว์ |
พลันบอกความตามนัด | พ่อไว้ |
แน่ะท่านเรื่องเราขัด | ใจแห่ง กันแฮ |
ต่างไม่ตกลงได้ | ดั่งนั้นฤๅควร |
๓๐ จะมาชวนท่านให้ | ไปหา |
พฤกษเทพยดา | หนึ่งผู้ |
ศักดิ์สิทธิ์เดชสา- | มารถบอก แบ่งแฮ |
นั่นแหละเราจักรู้ | เรื่องนั้นเป็นไฉน |
๓๑ เป็นไรไปเล่าถ้า | ยุติธรรม จริงแล |
เราก็ต้องตามคำ | ไป่ค้าน |
จะสงบวิวาทสำ- | เร็จเรื่อง ไปนา |
ความยุ่งเป็นอย่างคร้าน | ใคร่เปลื้องเร็วพลัน |
๓๒ บัณฑิตพลางกล่าวแล้ว | ครรไล |
แต่จิตคิดสงสัย | ไม่สิ้น |
พะวงเพื่อนคงใจ | คิดจัก โกงนอ |
ดีก็ดีหากปลิ้น | ปลอกร้ายฤๅยอม |
๓๓ สองพร้อมสู่ต้นพฤกษ์ | ไพรสถาน |
ต่างก็นอบกายกราน | กราบไหว้ |
กล่าวมูลคดีการณ์ | กลหะ ขึ้นแฮ |
ขอจุ่งรุกขเทพไท้ | ท่านเกื้อกรุณา |
๓๔ เทวดาปลอมผู้พ่อ | พาณิช โกงนา |
ทำปรกติศัพท์ผิด | แผกถ้อย |
สองเจ้านี่ขัดจิต | แตกจาก กันนอ |
ด้วยเหตุนิดหนึ่งน้อย | เท่านั้นอันมี |
๓๕ เพียงนี้ก็เดือดร้อน | ถึงเรา ด้วยฤๅ |
เจ้านับถือมาเคา- | รพข้า |
เถอะจะช่วยแบ่งเบา | ธุระแห่ง สูเฮย |
ตามกิจเทวดาฮ้า | แน่ะแฮ้จงฟัง |
๓๖ ทั้งโลกหากขึ้นชื่อ | เทวดา แล้วแฮ |
อันจะเที่ยงตรงหา | ยากแท้ |
ผู้เดียวแต่ข้าอา- | ธรรม์ไม่มีเลย |
ฟังตัดสินจักแก้ | กล่าวให้เห็นจริง |
๓๗ ความยิ่งแลหย่อนแล้ว | เป็นหลัก นาพ่อ |
ชื่อต่ำต่ำตามศักดิ์ | เสื่อมแล้ |
ชื่อสูงผิวะสูงหนัก | นามประ เสริฐเฮย |
ด้วยเหตุผลดั่งแก้ | กฎอ้างวางมี |
๓๘ ชี้ขาดพิพากษ์ข้าง | อติบัณ ฑิตแล |
ได้ส่วนสองเถียงกัน | ไม่ได้ |
เทวดาโกรธลงทัณฑ์ | คอหัก เทียวเฮย |
ไปเถิดไปแบ่งให้ | เสร็จสิ้นกันที |
๓๙ ่อชินสีห์สดับถ้อย | เทวรุกข์ |
วินิจฉัยใช่ยุกติ์ | อย่างนั้น |
ดำริตริจักอุ- | อาจเล่น ลองนา |
เพื่อทราบอัตภาพนั้น | ใฝ่รู้ความจริง |
๔๐ เทพสิงพฤกษ์นี้แท้ | เทวดา แน่ฤๅ |
ฤๅมิใช่คงปรา- | กฎแจ้ง |
โพรงไม้ใหญ่นักหนา | มนุษย์อยู่ ได้แฮ |
เผื่อจะมีใครแสร้ง | ซ่อนเร้นเป็นกล |
๔๑ ขวนขวายหญ้าแห้งหอบ | หามา |
กอบเพียบโพรงพฤกษา | เสร็จต้อง |
เอาไฟไล่เทวดา | ดูฤทธิ์ ทีฤๅ |
ธกล่าวพลางจ่อจ้อง | จุดเชื้อเพลิงพลัน |
๔๒ ทันใดไฟติดหญ้า | ควันโขมง |
ลามลุกเปลวเพลิงโพลง | พลุ่งไหม้ |
ฝ่ายเทวดาโกง | ตะโกนเอ็ด |
เหนี่ยวลอดตามโพรงไม้ | ไต่ขึ้นทางบน |
๔๓ โหนตนต่องแต่งห้อย | หันหก |
ตัวสั่นดุจลูกนก | สติสิ้น |
ปีนไปป่ายมาตก | ตูมใหญ่ |
ลงที่ดินนอนดิ้น | แด่วร้องครางเครือ |
๔๔ ร้อนเหลือทนละข้า | ขอขมา เถิดพ่อ |
ไม่อยากเป็นเทวดา | ดั่งนี้ |
รับบาปอย่างหยาบหา | คุณห่อน มีเลย |
เพราะลูกอัปรีย์ปลี้ | ปลีกแท้ทำกู |
๔๕ พาณิชผู้โฉดเจ้า | อติบัณ ฑิตนา |
นั่งเจ่ากอดเข่ารัน- | ทดแท้ |
สังเวชพ่อสุดปัญ- | ญาผ่อน ผันแฮ |
ทุจริตจะคิดแก้ | ก็สิ้นโกงกล |
๔๖ เทพทนร้อนไม่ได้ | พลางแสดง |
โทษแห่งโกงร้ายแรง | อย่างนี้ |
ทำเราที่มาแฝง | กายช่วย โกงนอ |
พลอยถูกไฟป่นปี้ | ปวดเนื้องหนังพอง |
๔๗ สองคนคนชื่อตั้ง | บัณฑิต |
ยังประโยชน์สฤษดิ์ | เรียบร้อย |
ประกอบสุจริตจิต | ตรงต่อ เพื่อนแล |
บ่ห่อนผิดสักน้อย | หนึ่งแท้โดยธรรม์ |
๔๘ อติบัณฑิตผู้ | บุตรเรา |
ดีชื่อสูงกว่าเขา | เท่านั้น |
คอยคิดคดโกงเอา | เปรียบเพื่อน |
หาประเสริฐแม้ชั้น | แต่น้อยฤๅมี |
๔๙ พาทีกันแล้วต่าง | กลับไป บ้านแฮ |
เสร็จกิจพาณิชชไม | มิตรครั้น |
ตกลงแบ่งกำไร | คนละ ครึ่งแล |
กาลนับลำดับนั้น | แยกค้าคลาขาย |
๕๐ ตามสบายยังให้ชีพ | เป็นไป |
ทนทุกข์ระคนใน | สุขบ้าง |
โดยธรรมะดาวิสัย | ภพชาติ |
สุดแต่กรรมนำสร้าง | ส่งเอื้ออวยผล ฯ |
----------------------------- | |
๏ อันคนทุจริตแล้ว | พึงเล็ง เห็นเทอญ |
อวดฉลาดแกมโกงเก็ง | แต่ได้ |
ไม่ลองชั่งตราเต็ง | กับฝ่าย เสียเลย |
ไหนจะหนักจักให้ | โทษร้อนถึงตน |
๏ เห็นคนอื่นไป่รู้ | อะไร เทียวพ่อ |
โง่เง่าเต่าตุ่นไป | เช่นนั้น |
ว่าทราบไม่ถึงใน | กลเล่ห์ ตนแล |
คอยแต่จักขบคั้น | เข่นเขี้ยวโกงเขา |
๏ เหมาชาติเลียก็ได้ | คนพรรค์ นั้นนอ |
ไป่ละพระพฤติวัน | หนึ่งแล้ |
ความทุกข์ขุกเข็ญภยัน- | ตรายเยี่ยม เยียนนา |
มิพักสนเท่ห์แท้ | ชนิดนี้มีหลาย |
๏ หมายเชื่อมั่นเถิดด้วย | ธรรมดา |
ควันแห่งไฟใครมา | ปิดไว้ |
ต้องปรากฏแก่ตา | โลกสัก วันนอ |
ชาดกสาธกไว้ | สดับแล้วควรคะนึง บารนี ฯลฯ |