- คำนำ
- ๒๔. ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ
- ๒๕. ประกาศเรื่องฟ้องความผิดกระทรวง
- ๒๖. ประกาศสรรพนามสำหรับช้างม้า
- ๒๗. ประกาศเรื่องกราบทูลความที่ไม่เปนจริง
- ๒๘. ประกาศห้ามไม่ให้ผู้มีอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี
- ๒๙. ประกาศว่าด้วยเวลากราบทูลข้อราชการแลกิจธุระ
- ๓๐. ประกาศห้ามไม่ให้หม่อมห้ามเจ้าต่างกรมมาคบนางใน
- ๓๑ ประกาศห้ามไม่ให้ทำฎีกาถวายด้วยกระดาษม้วน แลให้ใช้อักษรตามแบบอย่าง
- ๓๒. หมายประกาศเขตรางวัดผู้ร้ายขุดวัด
- ๓๓ ประกาศว่าด้วยลักษณที่จะใช้ถ้อยคำในฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๓๔ ประกาศเรื่องเร่งเงินทาษลูกหนี้
- ๓๕. ประกาศห้ามไม่ให้ทำศพน่าวัดหลวงฤๅริมทางเสด็จ
- ๓๖ ประกาศพระราชทานนามวัดเงินว่าวัดรัชฎาธิฐาน วัดทองว่าวัดกาญจนสิงหาศน์
- ๓๗ ประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศลในการที่ทรงบริจาคเพ็ชรใหญ่ประดับพระอุณาโลมพระพุทธรัตนปฏิมากร
- ๓๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนสูบฝิ่นเปนขุนหมื่นรับเบี้ยหวัด
- ๓๙ ประกาศให้ระวังเพลิงไหม้
- ๔๐ ประกาศทรงอนุญาตข้าราชการฝ่ายในทูลลาออก
- ๔๑ ประกาศไม่ทรงติเตียนคน ๔ จำพวก
- ๔๒ ประกาศห้ามไม่ให้ทำช้างเล่นละครเปนช้างเผือก
- ๔๓ ประกาศพระราชลัญจกรองค์ใหม่
- ๔๔ ประกาศพิมพ์โฆษนาพิกัดภาษีอากร
- ๔๕ ประกาศคนเล่นว่าวให้ระวังสายป่าน
- ๔๖ ประกาศให้สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๒ องค์ เปนแม่กองสักเลข
- ๔๗ ประกาศให้เรียกปีเถาะสัปตศก
- ๔๘ ประกาศเรื่องหม่อมเจ้ากราบถวายบังคมลาไปหัวเมือง
- ๔๙ ประกาศห้ามมิให้เรือที่โดยเสด็จตัดกระบวน
- ๕๐ ประกาศให้ใช้เลขปีรัชกาลทับหลังศก
- ๕๑ ประกาศเรื่องคนกองนอก
- ๕๒ ประกาศกำหนดสักเลข
- ๕๓ ประกาศว่าด้วยบ่าวไพร่ของผู้มีอำนาจออกไปอยู่หัวเมือง
- ๕๔ ประกาศพระบรมราโชวาทข้าหลวงออกไปสักเลขหัวเมือง
- ๕๕ ประกาศขนานนามเมืองประจวบคิรีขันธ์ เมืองปัจจันตคิรีเขตร
- ๕๖. ประกาศห้ามมิให้เชื่อการหลอกด้วยอ้างอำนาจผี
- ๕๗ ประกาศให้เขียนตัวเลขปีรัชกาลประจำหลังศก
- ๕๘ ประกาศว่าด้วยลครผู้หญิง แลเรื่องหมอเรื่องช่าง
- ๕๙ ประกาศว่าด้วยออกพระนามแลคำกราบทูลฯ
- ๖๐ ประกาศเรื่องรับเบี้ยหวัดแทนกัน
- ๖๑ ประกาศว่าด้วยคนทำเงินแดง
- ๖๒ ประกาศว่าด้วยเขียนเลขประจำปีรัชกาลทับหลังศก
- ๖๓ ประกาศเรื่องพระยาโบราณบุรานุรักษ์ กับกรมการ กราบทูลฟ้องเจ้าพระยามหาศิริธรรมฯ ข้ามเสนาบดี
- ๖๔ ประกาศเปลี่ยนตราภูมิคุ้มห้าม
- ๖๕ ประกาศว่าด้วยดวงตราต่างๆ ที่ใช้ประทับตราภูมิ
- ๖๖ ประกาศว่าด้วยราษฎรชาวกรุงเก่าถวายข้าวเปลือก
- ๖๗ ประกาศว่าด้วยคนพาลเสพสุราในเวลาตรุษสงกรานต์
- ๖๘ ประกาศว่าด้วยท้องสนามหลวงแลท้องสนามไชย
- ๖๙ ประกาศเรื่องถวายฎีกา
- ๗๐ ประกาศว่าด้วยหมู่ข้าหลวงเดิม
๕๓ ประกาศว่าด้วยบ่าวไพร่ของผู้มีอำนาจออกไปอยู่หัวเมือง
ลงวันพฤหัศบดี เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศแก่เจ้าเมืองกรมการ แลอาณาประชาราษฎรให้รู้จงทั่วกัน ด้วยแต่ก่อนได้ทรงทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทว่า คนที่ถือเจ้าถือนายมักตั้งกองซ่องสุมสมคบโจรผู้ร้าย ลักพาค่าทาษแลลูกหนี้ชายหญิงแลช้างม้าโคกระบือของราษฎรไปไว ผู้ใดมาฟ้องร้องว่ากล่าวขัดแขงต่อเจ้าเมืองกรมการถือเจ้าถือนายก็เคยมีมากทุกๆ แผ่นดิน การเปนดังนี้เพราะเจ้าเมืองกรมการอาณาประชาราษฎรหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือพากันถือใจผิด ราษฎรมีคดีความเกี่ยวข้องจะฟ้องร้องต่อเจ้าเมืองกรมการก็ไปเกรงกลัวเสียว่า เขาเปนข้าอยู่ในเจ้าพระองค์นั้นๆ ท่านขุนนางผู้นั้นๆ ถึงเจ้าเมืองกรมการจะบาดหมางไปเอาตัวก็คงจะไม่ได้ตัวมา แล้วจะมีความพยาบาทกลับมาทำข่มเหงต่างๆ ต่อๆ มากไปอิก จึงคิดอ่านเสียเงินค่าไถ่ถอนเสีย ด้วยคิดว่าดีกว่าฟ้องร้อง ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการเล่าก็ถือใจผิดเหมือนกัน มีผู้มาฟ้องข้าเจ้าพระองค์นั้น บ่าวท่านขุนนางผู้นั้น ใช้กรมการไปเกาะตัวไม่ได้ตัวมา ครั้นจะบอกลงไปยังศาลาเวรมหาดไทย กลาโหม กรมท่า ตามเมืองขึ้น ให้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาก็คิดเกรงว่าพระองค์เจ้านั้น ข้าราชการผู้นั้นๆ ฝ่ายน่าฝ่ายในก็ดีเปนคนสนิทในพระเจ้าอยู่หัว ถ้าท่านจะกราบบังคมทูลพระกรุณาชักนำประการใดพระเจ้าอยู่หัวก็จะทรงเชื่อถือทุกประการ ที่ไหนเจ้าพนักงานจะกล้าเอาใบบอกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แล้วท่านก็ได้สั่งเสียมีหนังสือฝากฝังมาไว้ พากันคิดให้ผิดๆ ไปดังนี้ การทุกวันนี้ไม่เปนเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณากับอาณาประชาราษฎรเปนอันมาก ถึงท่านผู้ใดจะมีบุญญาธิการแหลมหลักสนิทชิดชมโปรดปราน เพ็ดทูลชักนำขัดขวางประการใด ก็ทรงซักไซ้สืบสวนไล่เลียงเอาแต่ที่จริงเปนประธาน ทรงประพฤติการแต่ที่ชอบที่ควร ด้วยการซึ่งเปนอย่างไรแก่บ้านเมืองมาแต่หลัง ได้เคยทรงทราบมานานแล้วทุกประการ ตั้งพระราชหฤทัยว่าการสิ่งไรที่เปนที่ขัดข้องให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนนั้นจะมิให้มีต่อไป ตั้งแต่นี้สืบไปเมื่อน่าถ้าราษฎรเกี่ยวข้องคดีประการใดๆ ก็ให้มาร้องฟ้องต่อเจ้าเมืองกรมการ ให้เจ้าเมืองกรมการเกาะเอาตัวมาชำระให้แต่ใน ๑๕ วันฤๅเดือนหนึ่งตามระยะทางใกล้ไกล ถ้าเจ้าเมืองกรมการนิ่งความไว้พ้นกำหนดนี้ ให้มาร้องอุทธรณ์ยังท่านลูกขุนณศาลาตามเมืองขึ้น ถ้าเปนความฉกรรจ์มหันตโทษฤๅความเสี้ยนหนามแผ่นดินอันใหญ่ ฤๅได้ความเดือดร้อนยิ่งนัก ก็ให้มาร้องถวายฎีกาทีเดียว จะได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เอาตัวผู้ต้องคดีมา ให้มีตระลาการชำระตัดสินให้สำเร็จตามพระราชกำหนดกฎหมาย ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการนั้นเล่าข้อคดีของราษฎรมีประการใด ก็อย่าให้คิดเกรงใจท่านผู้มีวาสนามากกว่าทุกข์ของราษฎรๆ จะมาร้องฟ้องข้อคดีประการใดก็ให้บาดหมายไปเกาะกุมเอาตัวผู้ต้องฟ้องมาชำระใน ๑๕ วัน ถ้าผู้ต้องฟ้องนั้นต่อสู้ขัดขวางมิมาแข็งแรง ก็ให้เร่งบอกมายังศาลาเวรจะได้นำเอาข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ถ้าเจ้าเมืองกรมการคิดเกรงเจ้าพระองค์นั้นๆ ท่านขุนนางผู้นั้น ที่เปนเจ้านายของผู้ต้องคดีจะมีหนังสือบอกลงมายังศาลาเวรก็ให้บอกเปนคำนับมาในพระองค์เจ้าฤๅท่านขุนนางที่เปนเจ้านายของผู้ต้องคดีนั้นด้วยฉบับหนึ่ง ว่าตัวโจทย์เขามีเขาจะร้องฎีกาเอา ถ้าพระองค์เจ้าฤๅขุนนางที่เปนเจ้านายของผู้ต้องคดีได้หนังสือเจ้าเมืองกรมการ ที่คำนับชี้แจงข้อคดีของบ่าวข้าลงมาแล้ว กลับเข้ากับบ่าวข้าว่ากล่าวโกรธขึ้งเจ้าเมืองกรมการ คิดอ่านผูกพยาบาทคาดเวรต่อไป ทรงพระราชดำริหเห็นว่า เจ้านายพระองค์นั้น ท่านขุนนางผู้นั้นมิได้มีใจที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินและราษฎรให้อยู่เย็นเปนศุขเลย เปนอันธพาลโดยแท้ ที่จะเปนใหญ่ต่อไปข้างน่านั้นไม่ได้เปนอันขาด ให้ผู้มีสติพิจารณาเทียบเคียงการซึ่งเปนมาแต่หลังดูเถิด
ตีพิมพ์ประกาศมาณวันพฤหัศบดี เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก