- คำนำ
- ๒๔. ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ
- ๒๕. ประกาศเรื่องฟ้องความผิดกระทรวง
- ๒๖. ประกาศสรรพนามสำหรับช้างม้า
- ๒๗. ประกาศเรื่องกราบทูลความที่ไม่เปนจริง
- ๒๘. ประกาศห้ามไม่ให้ผู้มีอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี
- ๒๙. ประกาศว่าด้วยเวลากราบทูลข้อราชการแลกิจธุระ
- ๓๐. ประกาศห้ามไม่ให้หม่อมห้ามเจ้าต่างกรมมาคบนางใน
- ๓๑ ประกาศห้ามไม่ให้ทำฎีกาถวายด้วยกระดาษม้วน แลให้ใช้อักษรตามแบบอย่าง
- ๓๒. หมายประกาศเขตรางวัดผู้ร้ายขุดวัด
- ๓๓ ประกาศว่าด้วยลักษณที่จะใช้ถ้อยคำในฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๓๔ ประกาศเรื่องเร่งเงินทาษลูกหนี้
- ๓๕. ประกาศห้ามไม่ให้ทำศพน่าวัดหลวงฤๅริมทางเสด็จ
- ๓๖ ประกาศพระราชทานนามวัดเงินว่าวัดรัชฎาธิฐาน วัดทองว่าวัดกาญจนสิงหาศน์
- ๓๗ ประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศลในการที่ทรงบริจาคเพ็ชรใหญ่ประดับพระอุณาโลมพระพุทธรัตนปฏิมากร
- ๓๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนสูบฝิ่นเปนขุนหมื่นรับเบี้ยหวัด
- ๓๙ ประกาศให้ระวังเพลิงไหม้
- ๔๐ ประกาศทรงอนุญาตข้าราชการฝ่ายในทูลลาออก
- ๔๑ ประกาศไม่ทรงติเตียนคน ๔ จำพวก
- ๔๒ ประกาศห้ามไม่ให้ทำช้างเล่นละครเปนช้างเผือก
- ๔๓ ประกาศพระราชลัญจกรองค์ใหม่
- ๔๔ ประกาศพิมพ์โฆษนาพิกัดภาษีอากร
- ๔๕ ประกาศคนเล่นว่าวให้ระวังสายป่าน
- ๔๖ ประกาศให้สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๒ องค์ เปนแม่กองสักเลข
- ๔๗ ประกาศให้เรียกปีเถาะสัปตศก
- ๔๘ ประกาศเรื่องหม่อมเจ้ากราบถวายบังคมลาไปหัวเมือง
- ๔๙ ประกาศห้ามมิให้เรือที่โดยเสด็จตัดกระบวน
- ๕๐ ประกาศให้ใช้เลขปีรัชกาลทับหลังศก
- ๕๑ ประกาศเรื่องคนกองนอก
- ๕๒ ประกาศกำหนดสักเลข
- ๕๓ ประกาศว่าด้วยบ่าวไพร่ของผู้มีอำนาจออกไปอยู่หัวเมือง
- ๕๔ ประกาศพระบรมราโชวาทข้าหลวงออกไปสักเลขหัวเมือง
- ๕๕ ประกาศขนานนามเมืองประจวบคิรีขันธ์ เมืองปัจจันตคิรีเขตร
- ๕๖. ประกาศห้ามมิให้เชื่อการหลอกด้วยอ้างอำนาจผี
- ๕๗ ประกาศให้เขียนตัวเลขปีรัชกาลประจำหลังศก
- ๕๘ ประกาศว่าด้วยลครผู้หญิง แลเรื่องหมอเรื่องช่าง
- ๕๙ ประกาศว่าด้วยออกพระนามแลคำกราบทูลฯ
- ๖๐ ประกาศเรื่องรับเบี้ยหวัดแทนกัน
- ๖๑ ประกาศว่าด้วยคนทำเงินแดง
- ๖๒ ประกาศว่าด้วยเขียนเลขประจำปีรัชกาลทับหลังศก
- ๖๓ ประกาศเรื่องพระยาโบราณบุรานุรักษ์ กับกรมการ กราบทูลฟ้องเจ้าพระยามหาศิริธรรมฯ ข้ามเสนาบดี
- ๖๔ ประกาศเปลี่ยนตราภูมิคุ้มห้าม
- ๖๕ ประกาศว่าด้วยดวงตราต่างๆ ที่ใช้ประทับตราภูมิ
- ๖๖ ประกาศว่าด้วยราษฎรชาวกรุงเก่าถวายข้าวเปลือก
- ๖๗ ประกาศว่าด้วยคนพาลเสพสุราในเวลาตรุษสงกรานต์
- ๖๘ ประกาศว่าด้วยท้องสนามหลวงแลท้องสนามไชย
- ๖๙ ประกาศเรื่องถวายฎีกา
- ๗๐ ประกาศว่าด้วยหมู่ข้าหลวงเดิม
๒๔. ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ
ณวันพุฒ เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาลฉศก ศักราช ๑๒๑๖ เพลา ๔ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ สุทธิสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมราชาธิราชบรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกณพระที่นั่งราชฤดี มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่า พระบาทสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยา บรมราชธานีนี้ ๓ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔ พระองค์ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใส หวังพระราชหฤทัยจะทรงทนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองบำเพ็ญพระราชกุศลให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ได้ทรงพระราชอุสาหะบริจาคพระราชทรัพย์ ทรงประดิษฐานปฏิสังขรณ์พระอารามเปนอันมาก ประดับด้วยอุโปสถาคารวิหารเสนาศนะน้อยใหญ่ให้ประณีตงดงามดี สมควรเปนที่อยู่แห่งพระภิกษุสงฆ์สมณะบรรชิต ปฏิบัติสมณะกิจตามธรรมวินัย เมื่อทรงเห็นพระภิกษุสงฆ์รูปใดมีสติปัญญาวิทยาคุณ ควรจะเปนพระราชาคณะพระครูถานานุกรมผู้ใหญ่รักษาหมู่คณะได้ ก็ทรงพระราชทานถานันดรศักดิ์ ทรงถาปนาให้เปนพระราชาคณะพระครูถานานุกรมผู้ใหญ่ ปกครองหมู่คณะสั่งสอนภิกษุสามเณร ให้ศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์แลปฏิบัติสิกขาบทน้อยใหญ่ ได้ทรงพระราชทานนิตยภัตรทุกๆ เดือน แด่พระราชาคณะถานานุกรมตามควรแก่คุณสมบัติแห่งท่านนั้นๆ เมื่อภิกษุสงฆ์สามเณรรูปใดมีสติปัญญาฉลาดเล่าเรียนแปลพระคัมภีร์ได้เปนที่เปรียญ เอก โท ตรี ก็ทรงพระราชศรัทธาถวายนิตยภัตรตามควรทุกเดือน ให้เปนกำลังแก่การเล่าเรียนสืบไป แลทรงพระราชทานนิตยภัตรราคาสองสลึง แด่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งอยู่ในพระอารามหลวงนั้นๆ ทั้งสิ้นทุกๆ เดือน ก็แลพระราชทรัพย์ที่ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระราชาคณะพระครูถานานุกรมเปรียญพระสงฆ์อันดับเดือนหนึ่งๆ เปนเงินตรา ๖๗ ชั่งเศษ ปีหนึ่งเปนเงินตรา ๘๐๔ ชั่งเศษ แต่ทรงพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ทรงทนุบำรุงให้เปนกำลังในพระศาสนามากถึงเพียงนี้ ฝ่ายพระราชาคณะพระครูถานานุกรมเปรียญพระสงฆ์อันดับ เพราะอาศรัยได้รับพระราชทานนิตยภัตรซึ่งทรงพระราชอุทิศถวายนั้นเปนกำลัง ได้สั่งสอนกันให้ศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์เจริญมาช้านาน
ครั้งบัดเดี๋ยวนี้ พระราชาคณะ พระครู ถานานุกรม เปรียญบาทองค์ที่เปนโลภัชฌาศรัย ใจมักบาปแสวงหาแต่ลาภสักการแลยศถ่ายเดียว เที่ยวประจบฝากตัวในเจ้าขุนนาง ไว้ตัวเปนคนกว้างขวางในกรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม กรมท่า ด้วยคิดเห็นว่าท่านเหล่านั้นมีบุญวาศนา จะช่วยกราบทูลพระกรุณาให้สึกออกมาเปนขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม กรมท่า แห่งใดแห่งหนึ่งได้ ก็ซึ่งพระราชาคณะถานานุกรมเปรียญรูปใดคิดดังนี้นั้นคงไม่สมประสงค์แล้ว อย่าคิดเลยเหนื่อยเปล่า เพราะว่าจะต้องพระราชประสงค์แต่คนที่มีชาติตระกูลเปนบุตรขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม กรมท่า ไม่ต้องพระราชประสงค์คนชาววัดเปนพระยา พระ หลวง ขุน หมื่นในกรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม กรมท่า พวกชาววัดนั้นควรจะเปนขุนนางได้แต่ในกรมลูกขุน กรมอาลักษณ์ กรมธรรมการ กรมราชบัณฑิต กรมสังฆการีย์ เท่านั้น ซึ่งชาววัดที่มิใช่บุตรมีชาติตระกูลคิดเสือกสนไปในกรมอื่นๆ นอกจาก ๕ กรมนี้แล้วไม่ได้เลยเปนอันขาด ขอพระราชาคณะ พระครู ถานานุกรม เปรียญทั้งปวง จงทราบความตามกระแสพระราชบัญญัตินี้เทอญ ๚