- คำนำ
- ๒๔. ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ
- ๒๕. ประกาศเรื่องฟ้องความผิดกระทรวง
- ๒๖. ประกาศสรรพนามสำหรับช้างม้า
- ๒๗. ประกาศเรื่องกราบทูลความที่ไม่เปนจริง
- ๒๘. ประกาศห้ามไม่ให้ผู้มีอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี
- ๒๙. ประกาศว่าด้วยเวลากราบทูลข้อราชการแลกิจธุระ
- ๓๐. ประกาศห้ามไม่ให้หม่อมห้ามเจ้าต่างกรมมาคบนางใน
- ๓๑ ประกาศห้ามไม่ให้ทำฎีกาถวายด้วยกระดาษม้วน แลให้ใช้อักษรตามแบบอย่าง
- ๓๒. หมายประกาศเขตรางวัดผู้ร้ายขุดวัด
- ๓๓ ประกาศว่าด้วยลักษณที่จะใช้ถ้อยคำในฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๓๔ ประกาศเรื่องเร่งเงินทาษลูกหนี้
- ๓๕. ประกาศห้ามไม่ให้ทำศพน่าวัดหลวงฤๅริมทางเสด็จ
- ๓๖ ประกาศพระราชทานนามวัดเงินว่าวัดรัชฎาธิฐาน วัดทองว่าวัดกาญจนสิงหาศน์
- ๓๗ ประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศลในการที่ทรงบริจาคเพ็ชรใหญ่ประดับพระอุณาโลมพระพุทธรัตนปฏิมากร
- ๓๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนสูบฝิ่นเปนขุนหมื่นรับเบี้ยหวัด
- ๓๙ ประกาศให้ระวังเพลิงไหม้
- ๔๐ ประกาศทรงอนุญาตข้าราชการฝ่ายในทูลลาออก
- ๔๑ ประกาศไม่ทรงติเตียนคน ๔ จำพวก
- ๔๒ ประกาศห้ามไม่ให้ทำช้างเล่นละครเปนช้างเผือก
- ๔๓ ประกาศพระราชลัญจกรองค์ใหม่
- ๔๔ ประกาศพิมพ์โฆษนาพิกัดภาษีอากร
- ๔๕ ประกาศคนเล่นว่าวให้ระวังสายป่าน
- ๔๖ ประกาศให้สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๒ องค์ เปนแม่กองสักเลข
- ๔๗ ประกาศให้เรียกปีเถาะสัปตศก
- ๔๘ ประกาศเรื่องหม่อมเจ้ากราบถวายบังคมลาไปหัวเมือง
- ๔๙ ประกาศห้ามมิให้เรือที่โดยเสด็จตัดกระบวน
- ๕๐ ประกาศให้ใช้เลขปีรัชกาลทับหลังศก
- ๕๑ ประกาศเรื่องคนกองนอก
- ๕๒ ประกาศกำหนดสักเลข
- ๕๓ ประกาศว่าด้วยบ่าวไพร่ของผู้มีอำนาจออกไปอยู่หัวเมือง
- ๕๔ ประกาศพระบรมราโชวาทข้าหลวงออกไปสักเลขหัวเมือง
- ๕๕ ประกาศขนานนามเมืองประจวบคิรีขันธ์ เมืองปัจจันตคิรีเขตร
- ๕๖. ประกาศห้ามมิให้เชื่อการหลอกด้วยอ้างอำนาจผี
- ๕๗ ประกาศให้เขียนตัวเลขปีรัชกาลประจำหลังศก
- ๕๘ ประกาศว่าด้วยลครผู้หญิง แลเรื่องหมอเรื่องช่าง
- ๕๙ ประกาศว่าด้วยออกพระนามแลคำกราบทูลฯ
- ๖๐ ประกาศเรื่องรับเบี้ยหวัดแทนกัน
- ๖๑ ประกาศว่าด้วยคนทำเงินแดง
- ๖๒ ประกาศว่าด้วยเขียนเลขประจำปีรัชกาลทับหลังศก
- ๖๓ ประกาศเรื่องพระยาโบราณบุรานุรักษ์ กับกรมการ กราบทูลฟ้องเจ้าพระยามหาศิริธรรมฯ ข้ามเสนาบดี
- ๖๔ ประกาศเปลี่ยนตราภูมิคุ้มห้าม
- ๖๕ ประกาศว่าด้วยดวงตราต่างๆ ที่ใช้ประทับตราภูมิ
- ๖๖ ประกาศว่าด้วยราษฎรชาวกรุงเก่าถวายข้าวเปลือก
- ๖๗ ประกาศว่าด้วยคนพาลเสพสุราในเวลาตรุษสงกรานต์
- ๖๘ ประกาศว่าด้วยท้องสนามหลวงแลท้องสนามไชย
- ๖๙ ประกาศเรื่องถวายฎีกา
- ๗๐ ประกาศว่าด้วยหมู่ข้าหลวงเดิม
๓๓ ประกาศว่าด้วยลักษณที่จะใช้ถ้อยคำในฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวาย
คัดจากหมายรับสั่ง
วันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้ทำหมายประกาศไปทุกหมู่ทุกกรม ให้รู้จงทั่วกันว่า ผู้ที่ร้องถวายฎีกา แม้นเขียนพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ แลชื่อข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ชื่อลูกขุนแลขุนศาลในพระบรมมหาราชวัง ในพระบวรราชวัง ไม่ถูกอักขรอักษร ไม่ถูกไม้เอกไม้โททัณฑฆาฏ บางทีก็เปนคนอวดฉลาดอวดรู้ อุตริยักย้ายเขียนหลายอย่างนักนั้นหาถูกไม่.
อนึ่งผู้จะทำเรื่องราวทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย อย่าให้เขียนกระดาษอย่างม้วน ต้องคลี่ยืดยาวไปนัก ให้ผู้ทำเรื่องราวถวายให้พับกระดาษตามตัวอย่างที่โปรดพระราชทานให้ ถึงจะเขียนทั้งสองน่าก็ได้ น่าเดียวก็ได้ จะไม่เปลืองกระดาษหลายแผ่นด้วย เว้นไว้แต่หางว่าวที่เขาบอกให้เขียนยาวตามกระดาษม้วนก็ได้
อนึ่งในเรื่องราวที่จะลงวันว่าปีใด ก็อย่าให้เขียนว่า ครั้นณวันค้างอยู่เปล่าๆ ให้ว่าเอาตามจำได้ ถ้าจะว่าเดือนก็ให้ว่าเดือน ๕ ฤๅเดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ถ้าจะว่าปีก็ให้ว่าปีชวดหรือปีฉลู ถ้าจะว่าศกก็ให้ว่าเอกศก ฤๅโทศก ตรีศก จัตวาศก แต่ที่จำได้ ถ้าจะประสงค์ระดูด้วยก็ให้ว่าระดูทำนา ฤๅฤดูเกี่ยวเข้า ระดูเลิกนาแล้ว.
อนึ่งถ้อยคำจะจดชื่อผู้หญิงนั้น ถ้าผู้หญิงที่ไม่มีบันดาศักดิ์ มีผัวแล้วอยู่กับผัวก็ดี เปนหม้ายก็ดี จึงให้เรียกว่าอำแดง ถ้ายังไม่มีผัวเรียกว่าอำแดงไม่ได้ ให้ออกชื่อเปล่าๆ เถิด แลภรรยาขุนนางซึ่งเปนเจ้าพระยาแลพระยาพระหลวง ซึ่งมีตำแหน่งรับนามบัตร ถ้าเปนภรรยาถือน้ำให้เรียกท่าน เอาคำว่าท่านนำชื่อแล้วว่าภรรยาผู้นั้นๆ ถ้าภรรยาน้อยให้ออกชื่อเปล่าๆ แล้วอ้างว่าภรรยาผู้นั้น อย่าให้เรียกว่าอำแดง แต่ภรรยาของคนที่เปนหลวงขุนหมื่นที่ไม่ได้รับชื่อจากในหลวง เปนแต่เจ้าขุนมุลนายตั้งนั้นให้เรียกอำแดง แต่คนหลวง โขลน สดึง ช่างเย็บ ช่างย้อม เรียกว่าอำแดงไม่ได้ ออกชื่อเปล่าๆ แล้ววางสังกัดเถิด แลนางห้ามเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม ให้เรียกหม่อมข้างใน ในกรมนั้นๆ แต่ในพระบรมมหาราชวัง แลพระบวรราชวัง ให้เรียกเจ้าจอม อย่าเรียกจอมเปล่าๆ
อนึ่งจะออกชื่อจำนวนนับสัตว์มีชีวิตรนั้น ถ้าเปนคน ช้างม้า ก็ให้ว่าคน ๑ คน คน ๒ คน คน ๓ คน ช้าง ๒ ช้าง ช้าง ๓ ช้าง ม้า ๒ ม้า ม้า ๓ ม้า แต่สัตว์นอกนั้นให้ว่า ๒ ตัว ๓ ตัว ๔ ตัว ๕ ตัว เว้นไว้แต่ที่ว่า ๘, ๑๘, ๒๘, นั้น ให้ยกคำว่าตัวออกเสีย.
อนึ่งของแบนๆ ดังใบไม้ใบลาน ว่าใบก็ได้ ห้ามแต่ของกลมๆ แลของเม็ดเล็กๆ ดังเม็ดเข้า ถั่ว งา ว่าเม็ดก็ได้ ห้ามแต่โตเท่าผลสวาดิ์ขึ้นไป.
อนึ่งหญิงที่มีบุตรอยู่ในท้อง ให้ว่ามีครรภ์ อย่าว่ามีท้องลูกเปนอันขาด ออกลูกให้ว่าคลอด แท้งลูกให้ว่าวิบัติครรภ์.
แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ถ้าผู้ใดทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายกราบบังคมทูลพระกรุณา ถ้าไม่เข้าใจยังสงไสยประการใดก็ให้ถามที่กรมพระอาลักษณ์.
ให้กรมวังหมายประกาศ กรมมหาดไทย กลาโหม พระสัสดี ให้กรมพระสุรัสวดีหมายบอกจงทั่ว อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง.