- คำนำ
- พระราชนิพนธ์ไดอรีซึมทราบ
- เรื่องตามเสด็จไทรโยค
- คำนำ
- ๏
- วันที่ ๑ วัน ๑ ๕ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ๖ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ๗ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ๘ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ๙ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ๑๐ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ๑๑ฯ ๒ ค่ำ
- วันที่ ๑ ๑๒ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ๑๓ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ๑๔ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ๑๕ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๑ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ฯ๒ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ฯ๓ ๒ ค่ำ
- วัน ๑ ฯ๔ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ฯ๕ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ฯ๖ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ฯ๗ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๘ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ฯ๙ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ฯ๑๐ ๒ ค่ำ
- วัน ๑ ฯ๑๑ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ฯ๑๒ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ฯ๑๓ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ฯ๑๔ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๑๕ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ๑ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๗ ๒ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๑ ๓ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๒ ๔ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๓ ๕ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๔ ๖ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๕ ๗ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๖ ๘ฯ ๓ ค่ำ
๏
๏ ยลไดอรีที่เปนกลอนอักษรสนอง | |
ชอบกลจริงนิ่งดำริห์นึกตริตรอง | เห็นจะต้องตามอย่างเอาทางนั้น |
ด้วยตั่งใจไว้ว่าไปในครั้งนี้ | จะเรียบเรียงไดอรีเรื่องไพรสัณฑ์ |
ให้ติดต่อตามจังหวะระยะกัน | ยาวฤๅสั้นตามที่จะมีความ |
จดร้อยแก้วฤๅก็ใจออกไม่รัก | อ่านเหนื่อยนักนึกเบือเหลือเข็ดขาม |
จะทำกลอนก็ขยันออกครั่นคร้าม | กลัวจะทรามซุดต่ำในสำนวน |
อันเรื่องเก่าเล่าถึงกิจพิธีหลวง | ทุกกระทรวงสว่างดีมีถี่ถ้วน |
ทั้งสนุกสนานไปได้ทั้งมวญ | จึงไม่ชวนชักให้จืดได้ยืดยืน |
เรื่องของฉันนั้นจะไปในพนัส | กลัวจะขัดข้อคดีที่ชมชื่น |
จะมีแต่ยากเย็นไม่เปนพื้น | การครึกครื้นอย่างใดคงไม่มี |
จะนิราสฤๅก็ขวางในทางทุกข์ | ไม่สนุกเสียสักอย่างช่างเปรี้ยวจี๋ |
ประสงค์แต่กลอนเพราะเสนาะดี | มิได้มีจิตต์จงตรงเนื้อความ |
ประสงค์ฉันนั้นจะใคร่ได้เนื้อเรื่อง | จำเปนเยื้องย่ายฉบับกลับกันข้าม |
ตกลงเปนไดอรีแลดีงาม | จึงจะตามแต่งไปไม่หลีกรอย |
๏ วันอาทิตยเดือนยี่ขึ้นห้าค่ำ | ปัชวดสัมฤทธิศกตกแต่งถ้อย |
จุลศักราชนั้นพันสองร้อย | กับเศษสร้อยห้าสิบพอดิบดี |
ขอย้อนว่าวันหน้าไปหน่อยหนึ่ง | ถึงการซึ่งเตรียมตระเอะอะมี่ |
ทราบเรื่องแน่แซ่หูรู้คดี | เมื่อพิธีราชสมบัติฉัตรมงคล |
ฉันเชื่อใจว่าคงได้ไปเปนแน่ | มันวุ่นแท้เสื้อผ้าโกลาหล |
กลัวจะไปน้อยหน้าเข้าตาจน | ต้องขวายขวนอุตลุดจนสุดแรง |
พวกแม่ค้าข่าวประจักษ์ไม่พักเรียก | เที่ยวตะเกียกตะกายขายทุกแห่ง |
เปนทีเขากวดเข้มเอาเต็มแพง | ต่อคอแห้งก็ไม่ลงคงโก่งตึง |
เรื่องหีบผ้าแล้วราคาเหมือนขายเพ็ชร์ | จนขามเข็ดเสียจริงลงนิ่งอึ้ง |
ลูกไม้ผ้าคว้าเอาเจ็บเจียนตลึง | ขึ้นอิกหลาละสลึงครึ่งราคา |
ซื้อผ้าขาวตาตะรางทั้งอย่างดอก | สองแขนศอกฉีกไว้ได้ร้อยกว่า |
ไหนจะด้นไหนจะย้อมตรอมวิญญา | ต้องวุ่นว้ามากมายหลายทำนอง |
ผ้าพื้นอย่างต่างสีนั้นสี่สิบ | ขยายหยิบออกมาวางไว้กลางห้อง |
ทั้งผ้าลายหลายกุลีออกคลี่กอง | ยังจะต้องจ้างขัดแพงจัดจริง |
เจ็ดผืนบาทขาดค่าถ้าจ้างก่อน | ถึงเร่งร้อนเขาก็วางเอาอย่างยิ่ง |
เรียกเปนผืนละสลึงถึงเวียนวิง | ครั้นจะนิ่งก็ไม่ได้จำใจยอม |
วุ่นอะไรมันไม่เหมือนอย่างเรื่องเสื้อ | เปนเหลือเบื่อเวียนแต่บ่นจนจะผอม |
ขึ้นราคาค่างวดกวดกันงอม | ถ้าผ้าพร้อมเย็บแต่งแพงถึงใจ |
ที่อย่างยอดโบยี๊บห้าสิบบาท | ตามขนาดถอยถดลดลงได้ |
เพียงยี่สิบสุดพิกัดเคยตัดใช้ | ผ้าเราให้แต่ค่าจ้างเปนอย่างเยา |
อยู่ในหกเจ็ดบาทเปนขาดเด็ด |
คิดเบ็ดเสร็จเคยได้ใช้เงินเขา |
ถึงเสียสักสองซ้ำก็ทำเนา | ไม่แค้นเท่ารับไปแล้วไม่เย็บ |
ขอคืนผ้ามาก็ว่าไม่ยอมให้ | ตะกลามใหญ่ยังมิหนำซ้ำไปเก็บ |
เตือนเท่าใดไม่ไยดีเท่าขี้เล็บ | ช่างแสนเจ็บช้ำใจเหมือนใครฟัน |
ของคนอื่นดื่นไปเย็บให้เขา | ส่วนของเรานิ่งเฉยจนเลยขัน |
พึ่งได้เสื้อมาวานซืนอยากคืนครัน | แขนแค่ศอกเอวสั้นเพียงสดือ |
ครั้นจะคืนก็ไม่ได้จำใจรับ | จะไปสับเปลี่ยนใครเขาได้หรือ |
ถูกหลายรายกระจายอึงจนถึงฦๅ | บ่นกันอื้อเอ็ดไปไม่จบเลย |
กระจุกกระจิกจับจ่ายอิกหลายสิ่ง | มันจวนจริงจอแจแม่คุณเอ๋ย |
คนรู้จักมักจี่ที่คุ้นเคย | ไม่เพิกเฉยให้ปันกันตามมี |
จนการกินการอยู่ไม่รู้ไม่เห็น | ดูมันเปนคนแก่แส่จู้จี้ |
อย่างไรได้อย่างนั้นชั้นเรานี้ | แต่งตัวดีกับได้เที่ยวอย่างเดียวพอ |
ยิ่งกระชั้นวันครรไลยยิ่งใจเต้น | มิได้เว้นนับทิวาเหมือนบ้าหนอ |
ในเรือนเย่าเข้าของกองออกออ | พอสิ้นข้อวิตกหายสบายใจ ฯ |