- คำนำ
- พระราชนิพนธ์ไดอรีซึมทราบ
- เรื่องตามเสด็จไทรโยค
- คำนำ
- ๏
- วันที่ ๑ วัน ๑ ๕ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ๖ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ๗ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ๘ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ๙ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ๑๐ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ๑๑ฯ ๒ ค่ำ
- วันที่ ๑ ๑๒ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ๑๓ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ๑๔ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ๑๕ฯ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๑ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ฯ๒ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ฯ๓ ๒ ค่ำ
- วัน ๑ ฯ๔ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ฯ๕ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ฯ๖ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ฯ๗ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๘ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ฯ๙ ๒ ค่ำ
- วัน ๗ ฯ๑๐ ๒ ค่ำ
- วัน ๑ ฯ๑๑ ๒ ค่ำ
- วัน ๒ ฯ๑๒ ๒ ค่ำ
- วัน ๓ ฯ๑๓ ๒ ค่ำ
- วัน ๔ ฯ๑๔ ๒ ค่ำ
- วัน ๕ ฯ๑๕ ๒ ค่ำ
- วัน ๖ ๑ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๗ ๒ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๑ ๓ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๒ ๔ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๓ ๕ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๔ ๖ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๕ ๗ฯ ๓ ค่ำ
- วัน ๖ ๘ฯ ๓ ค่ำ
วัน ๗ ๑๑ฯ ๒ ค่ำ
วัน ๗ ๑๑ฯ ๒ ค่ำ
๏ เมื่อเช้ามืดนี้นอนค่อนข้างหนาว | ปรอทราวหกสิบเก้าลดเต็มที่ |
แต่เรื่องข้างร้อนนั้นพันทวี | ดูอัดอ้าวเต็มทีชวนตึงตัว |
ปรอทเพียงแปดสิบแปดแต่แดดร้าย | ตกตอนบ่ายยิ่งยวดเกือบปวดหัว |
ดูยกหัวไม่ใคร่ขึ้นให้มึนมัว | นึกน่ากลัวเปนไข้ได้ระวัง |
ในวันนี้นั้นไม่มีที่ประพาส | ที่มุ่งมาดไว้สมอารมณ์หวัง |
กลัวเวลาจะไม่ว่างค้างรุงรัง | ด้วยว่ายังติดรามาแต่วาน |
อันที่ในค่ายหลวงทำคราวนี้ | แสนสนุกพ้นที่จะเล่าขาน |
หน้าค่ายผันตวันออกอย่างโบราณ | ไม่เต็มด้านค่อนเยื้องเบื้องอุดร |
ที่รั้วค่ายไม้ไผ่เสี้ยมปลายปัก | ประตูยักอย่างใหม่ไม่เหมือนก่อน |
ทำนองข้างอย่างยี่ปุ่นใช้เปนคอน | ไก่จับนอนมีหนังสือชื่อพลับพลา |
ว่า “ค่ายหลวงเมืองกาญจนบุรี” | เขียนเช่นนี้ตัวเรียงเฉียงไปขวา |
ผูกเปนลายคล้ายจีนอักขรา | ตรงเข้ามาเสาธงอยู่ตรงกลาง |
เชิงเสาปักชักกระโจมที่แตรเป่า | ตัดทางอ้อมค้อมเข้าทั้งสองข้าง |
รั้วไม้รวกเปนพนักปักริมทาง | คล้ายกับอย่างสวนหญ้าท่าทำนอง |
ริมรั้วค่ายซ้ายขวาข้างหน้านั้น | เรือนยี่ปุ่นตรงกันปลูกไว้สอง |
สำหรับหมู่มหาดเล็กประจำซอง | พระเจ้าน้องเธอที่แอดดิกง |
ข้างซ้ายมีที่เล่นละคอนฝรั่ง | มีม่านหลังเหี่ยวเหี่ยวเปนป่ารหง |
ปะรำรอบรั้วค่ายวางรายวง | ที่ทหารรักษาองค์ได้อยู่พัก |
ตำรวจแสงหอกดาบนาฬิกา | ปะรำใบพฤกษาวางรายปัก |
ห้องเครื่องตั้งหลังออกไปไม่ไกลนัก | หนทางชักรั้วล้อมเดินอ้อมวง |
ท้องพระโรงฝ่ายหน้ามีห้าห้อง | กั้นฉากทองยี่ปุ่นปักเปนรูปหงส์ |
เชิงเสาลายผ้ากั้นช่างบรรจง | ห้องเล็กคงสองข้างตามตำรา |
ที่หลังฉากเฉลียงในเถ้าแก่นั่ง | ข้างเบื้องหลังไม้ลำทำเปนฝา |
ต่อเข้าไปตรงนี้มีหลังคา | เปนประทุนเข้ามาชนมุขใน |
หลังใหญ่นี้สี่ห้องเปนสองชั้น | มุขกระสันด้านหน้าหลังคาใหญ่ |
เปนชั้นเดียวพื้นแล่นถึงหลังใน | มีเฉลียงรอบไปทั้งสี่ทิศ |
ด้านหุ้มกลองสองข้างนั้นกั้นฝา | เฉลียงหลังมุขหน้าไม่ป้องปิด |
เปนเสาโถงโปร่งชักมุ่ลี่ชิด | ผูกม่านติดไว้กับเสาเข้าท่วงที |
ฝาข้างนอกนั้นใช้ไม้ลำตั้ง | แทนผนังเวียงชิดสนิทถี่ |
ประจันห้องฉากทองล้วนของดี | ห้อยมุ่ลี่ลูกปัดถัดเพดาน |
ห้องล่างปันกันเปนที่เสวยเช้า | แดดไม่เข้าไปได้ดูไพศาล |
เฉลียงใต้ไปอิกทีมีทวาร | ไม่มีบานอัฒจันท์ชั้นชไมย |
ที่ชั้นนั้นกั้นห้องเสมอเฉลียง | ห้องเล็กเคียงริมผนังข้างด้านใต้ |
อิกสองห้องตรงกลางทิ้งว่างไว้ | ห้องเหนือใช้ทั้งเฉลียงเตียงประทม |
ถัดเข้าไปห้องไว้พระภูษา | เครื่องยี่ปุ่นนานาหาสะสม |
ชั้วกระจกฉากมู่ลี่มีอุดม | โคมขวดตั้งโต๊ะพรมประดับประดา |
ต้นไม้ดัดอัฒจันท์ทุกคั่นตั้ง | ไม้ฝรั่งเรียงรันพรรณพฤกษา |
ทั้งกล้วยไม้ใส่กระเช้าแขวนชายคา | บ้างติดค่าคบไม้ให้เกี่ยวพัน |
เรือนข้างในไว้ระยะจังหวะปลูก | กะให้ถูกตามตำหรับไม่สับคั่น |
ที่ตรงหลังพระที่นั่งออกไปนั้น | สนามหญ้าใหญ่ครันเขียวขจี |
พระตำหนักตโกนาดูน่ารัก | ช่างเล็กนักน่าเอ็นดูกระจู๋กระจี๋ |
แต่โดยยาวเก้าศอกข้างด้านรี | ด้านกว้างนี้ห้าศอกคืบสืบได้ชัด |
เลือกไม้ลำทำฝาหาย่อมย่อม | ให้เล็กพร้อมไปทุกอย่างไม่ขวางขัด |
ส่วนสูงต่ำทำรูปกระทัดรัด | เช็ดหน้าตัดส่วนลงวงน้อยน้อย |
เปนสองชั้นกั้นฝามาแต่ครึ่ง | อิกด้านหนึ่งเปนเฉลียงรเบียงห้อย |
ฉากยี่ปุ่นฝาประจันกั้นเรียบร้อย | ที่เฉลียงเสาลอยมีพนัก |
ที่ด้านหน้าย่อออกมาเปนชาน | แขวนเหลี่ยมบานหนึ่งตรงขื่อชื่อตำหนัก |
บันไดขึ้นสองชั้นมีคั่นพัก | ชั้นล่างเตี้ยตึกตักเจียนต้องมุด |
กั้นฝารอบขอบมิดไม่เปิดโถง | ห้องสรงโอ่งน่าเอ็นดูเปนที่สุด |
ข้าหลวงโตเกินขนาดชาติมนุษย์ | เหมือนหนุมานนอนคุดเต็มศาสา |
ที่เขตรขอบรอบนั้นขยันยิ่ง | มีลูกลิงอยู่บนหลักเล็กนักหนา |
เต่าบนหลังตั้งกูบเช่นคชา | รับสั่งว่าเข้าแบบประเพณี |
เสด็จมาเมื่อยังทรงพระเยาว์ | ก็มาทรงเล่นเต่ากูบที่นี่ |
ตัวหนึ่งไข่ออกมาได้ขยันดี | รูปรีรีเหมือนไข่ไก่ไม่สู้โต |
เป็ดไก่ขังไว้ตรงใต้ถุน | ยังเจ้าห่านพานจะวุ่นกวนโทโส |
ได้ยินเสียงกันไม่ได้ให้พาโล | ชวนกันโห่หนวกหูไม่รู้วาย |
ตุ่นอ้นปนอยู่กรงเดียวกัน | มีฝาคั่นฟันเหียนหุบไม่หาย |
ทูลหม่อมใหญ่ทรงหยอดอย่างมากมาย | ทั้งสบายแลสนุกทุกเวลา |
ที่ติดกันนั้นตำหนักป่าเวฬุ | ชื่อฉลุฉลากเห็นเส้นเลขา |
กอเวฬุหลายหมู่เรียงกันมา | เปนพลับพลาสมเด็จเสด็จเนา |
พระตำหนักอุทุมพรตอนข้างใต้ | มเดื่อใหญ่หลายกำลำเท่าเสา |
ตั้งนามตามนามไม้เพราะไม่เบา | ได้เปนเค้าข้อกำหนดจดตำบล |
ตำหนักนี้ที่เสด็จที่บนประทับ | คู่กันกับตำหนักเหนือนั้นมีต้น |
ฆ้องกลองใหญ่อยู่บนเนินดูน่ายล | จึงเปนกลกะนามตามต้นไม้ |
ชื่อว่าดอนฆ้องกลองสนองเสนาะ | จัดจำเพาะสองหมู่ให้อยู่ใกล้ |
ท่านองค์เล็กยับยั้งดังจัดไว้ | เปนหลังใหญ่ทั้งสามงามพึงตา |
ยังแถวห่างหว่างจังหวะระยะนี้ | ตำหนักมีหลายหมู่ชื่ออยู่หน้า |
ช่องชงโคเคียงกันเปนหลั่นมา | ชื่อว่าโตแต่ก้อมล้อมด้วยรั้ว |
อ้อมซ้องแมวแถวนี้เปนที่สาม | แล้วเลี้ยวตามที่ไปชื่อไม่ชั่ว |
ตำหนักแถวไผ่รายใกล้ท้ายครัว |
เลี้ยวขึ้นมามีตัวหนังสือชัด |
ชื่อว่าตำหนักหลายไผ่เรียง | อยู่ใกล้เคียงต้นตะคายรายถัดถัด |
ยังเรือนแถวแนวนอกบอกบันทัด | ปลายเขตรข่อยเลือกคัดเปนท้าวนาง |
ไปอยู่นั่นชวนกันปลื้มลืมเก่าแก่ | ยอมรับแพ้เมื่อกระนั้นนึกห่างห่าง |
ยังครางร่นบ่นแซ่แต่หลงทาง | ด้วยรั้วขวางเดินไปไหนไม่คล่องใจ |
ตำหนักที่มีนามตามว่านั้น | จะเหมือนกันแต่สักหลังก็หาไม่ |
ยักโน่นหน่อยนี่นิดผิดกันไป | จะว่าให้ชัดเจนเห็นจะยาว |
หนึ่งแผนที่มิได้เห็นเส้นเลขา | ถึงพรรณาไปยังค่ำคำบอกกล่าว |
ก็คงไม่เข้าใจได้เรื่องราว | ว่าคร่าวคร่าวไปเล่นเห็นป่วยการ |
ขอรวมความตามตำหนักทั้งหลายนี้ | ล้วนแต่ยี่ปุ่นสิ้นถิ่นสถาน |
ฝาไม้รวกเสื่อลาดดาดเพดาน | มุ่ลี่ม่านฉากพับสลับบัง |
มีห้องน้ำทำไว้ให้ทุกแห่ง | เครื่องตกแต่งจนตุ่มใส่น้ำตั้ง |
กลัวจะร้อนผ่อนหาพุ่มไม้บัง | เหมือนเรือนตั้งอยู่ในสวนชวนสบาย |
ริมหนทางวางรั้วไม้รวกกั้น | เปนทางเลี้ยวลดหลั่นไปทั้งค่าย |
ถนนราบปราบรื่นแล้วโรยทราย | เดินสบายเปื้อนเปรอะเปนไม่มี |
ที่ข้างเหนือพระที่นั่งตั้งพลับพลา | ไม่มีฝาตั้งนามไว้ตามที่ |
โดยสำเหนืยกเรียกว่าดอยหมูพี | ใช้เปนที่เสวยค่ำทำเครื่องอาน |
หน้าตำหนักท่านองค์เล็กเตาเหล็กตั้ง | มีแคร่นั่งปัดกวาดสอาดสอ้าน |
ทั้งฟืนตองกองพอหม้อเชิงกราน | ของสดซึ่งจะทำการก็แขวนไว้ |
ไร่ผักกาดดาษดาหน้าตำหนัก | ปลูกใหม่นักเหี่ยวไปใช้ไม่ได้ |
กระหล่ำปลีสดดีได้ลองใช้ | ตั้งเครื่องในวันนี้ดูมีรส |
สวนไม้ดอกต่อออกไปอิกหน่อย | ยี่สุ่นยี่ส้อยต่างสีก็มีหมด |
โกรต๋นลายหลายชนิดดูบิดคด | ต้นโมกดัดกิ่งชดช่อดอกพัว |
เปนสวนที่มีอะไรแล้วไม่ว่า | สุดจะร่ำพรรณาไปให้ทั่ว |
รอบจังหวัดกรงสัตว์มีหลายตัว | อยู่กลางรั้วร่มไม้ใบปกบัง |
กรงนกแก้วนกเขาเข้าเปนคู่ | ตั้งอยู่ที่ชลาหน้าพระที่นั่ง |
กรงเนื้อทรายกับกระต่ายแต่ลำพัง | นกยูงขังกรงใหญ่ไว้ชมเชย |
ยังเป็ดไก่ในใต้ถุนทุกตำหนัก | เอามากักไว้นักหนาเจ้าข้าเอ๋ย |
เสียงแก๊กก๊ากก้องไปไม่หยุดเลย | พลัดออกมาเดินเฉยอยู่ก็มี |
เวลาค่ำโคมลานแลไสว | โคมหิ้วใช้ด้วยบ้างที่ต่างสี |
โคมกระดาษกลาดดื่นดวงอัคคี | ยามราตรีก็สว่างคล้ายกลางวัน |
มีแคร่นั่งทั้งชิงช้าตามหน้าตำหนัก | ทำเยื้องยักหลายอย่างต่างต่างคั่น |
ปูเสื่อหวายรายเก้าอี้มีต่างกัน | ทั้งยาวสั้นเล็กใหญ่ใช้ตามควร |
บางทีมีร่มยี่ปุ่นกั้ง | ปักบังแดดไว้ที่ในสวน |
ประตูค่ายฝ่ายเหนือนิยมยวน | กั้นฉนวนข้างในลงสรงคงคา |
ฉายดินฟั่นคั่นบันไดไม้ไผ่สกัด | ตีเรือกตัดทางตรงลงถึงท่า |
ที่ในลำนทีมีพลับพลา |
ปะรำรอบขอบฝาใบตาลราย |
ที่ในน้ำซ้ำขึงลวดข่ายกั้น | สำหรับกันฝูงสัตว์สิ้นทั้งหลาย |
ในวารีมิให้มีมาใกล้กลาย | เปนน้ำทรายเพียงสเอวอาบเย็นจริง |
พระยาเพ็ชรบุรีที่นายด้าน | ได้ทำการดูทั่วไปทุกสิ่ง |
ยี่สิบวันมีเวลาน่าประวิง | เร็วอย่างยิ่งทำเสร็จสำเร็จการ |
วันนี้แสงทินกรนั้นร้อนกล้า | ตกเวลาบ่ายลงสรงสนาน |
ตกค่ำมียิเกกลายคลายรำคาญ | ล้วนตลกเสียงสท้านสเทื้อนไป |
ทรงเมื่อยเหนื่อยมาแต่วานนี้ | โปรดให้มีหาได้ทอดพระเนตรไม่ |
ทูลหม่อมกับเจ้านายข้างฝ่ายใน | เสด็จไปทอดพระเนตรจนยามนาน ฯ |