๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง

ทรงพระกรุณาโปรดตั้งแต่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และข้าหลวงเดิมทั้งปวง ตามมีความชอบมากและน้อยโดยควรแก่ฐานานุศักดิ์

ตรัสเอาพระอักขรสุนทรเสมียนตราในกรมมหาดไทยชื่อสน ข้าหลวงเดิม ซึ่งมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปงานพระราชสงครามหลายครั้ง และทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณ มิได้มีความผิด เป็นเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ที่สมุหนายก

ตรัสเอาพระยาเพชรบูรณ์ ชื่อหม่อมปลี บุตรพระยากลาโหมคลองแกลบ มีความชอบได้ทำศึกสงครามด้วยพระองค์แต่ก่อนมามิได้คิดแก่ชีวิต โปรดให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม

ตรัสเอาหลวงอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ชื่อไม่ปรากฏ ได้ทำราชการสงครามหลายครั้ง มีความชอบ แลัวเป็นคนเก่ารู้ขนบธรรมเนียมในกรมพระนครบาล โปรดให้เป็นพระยายมราช

ตรัสเอาหม่อมปิ่น มีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินการสงครามหลายครั้ง ต้องศาสตราวุธข้าศึก แล้วสื่อสวนชวนนายทัพนายกองมาตีเอากรุงธนบุรีได้ มีความชอบมาก โปรดให้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ

ตรัสเอาพระยาธรรมาธิกรณ์ แผ่นดินกรุงธนบุรี ชื่อบุญรอด บุตรพระยามณเฑียรบาลกรุงเก่า ซึ่งมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปการสงคราม และสัตย์ซื่อรักใคร่ในพระองค์ รู้ขนบธรรมเนียมในกรมวัง จะยกไปกรมอื่นไม่ได้ โปรดเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์

ตรัสเอาพระยาพิพัฒนโกษา กรุงธนบุรี ชื่อสน เป็นเจ้าพระยาพระคลัง

ตรัสเอาพระยาตักโต โหรแผ่นดินกรุงธนบุรี ซึ่งได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปงานพระราชสงครามหลายครั้ง มีความสัตย์ซื่อสุจริตในพระองค์ มีความชอบ โปรดให้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช แล้วได้ตั้งตำแหน่งทุกขราษฎร์หัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือด้วยทั้งสิ้น

ตรัสเอาหลวงสรวิชิต ชื่อหน มีความชอบนำเอาข้อราชการในกรุงธนบุรีออกไปกราบทูลให้ทราบถึงด่านพระจารึก โปรดให้เป็นพระยาพิพัฒนโกษาภายหลังได้เป็นที่เจ้าพระยาพระคลัง

ตรัสเอานายบุนนาค บ้านแม่ลา ซึ่งเป็นต้นคิดปราบจลาจลในกรุงธนบุรีมีความชอบ เป็นเจ้าพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ภายหลังได้เป็นที่พลเทพให้หลวงชนะซึ่งร่วมคิดด้วยนายบุนนาค ช่วยปราบปรามการจลาจล มีความชอบเป็นพระยาสรรคบุรี ให้หลวงสุระ ซึ่งมีความชอบร่วมคิดด้วยหลวงชนะเป็นพระยาสีหราชเดโชไชย

ตรัสเอานายแสง ซึ่งมีความชอบได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือลับให้ทรงพระราชดำริรักษาพระองค์ เป็นพระยาทิพโกษา ตรัสเอานายหงษ์ เสมียน เป็นคนเก่า ซึ่งสัตย์ซื่อสุจริต รู้ขนบธรรมเนียมราชการใช้สอยได้ดังพระทัย เป็นพระยาพิพิธไอศูรย์ จางวางชาวที่ พระราชทานเกดจุ้ยให้เป็นภรรยา ตรัสเอาพระยาราชนิกูล ซึ่งมีความสวามิภักดิ์ในพระองค์ เป็นพระยามหาอำมาตย์ ให้ขุนไชยเสนีข้าหลวงเดิม เป็นพระยาราชนิกูล ให้พันพุฒอนุราช เป็นพระยาราชสุภาวดีให้นายเสมียนพูล ข้าหลวงเดิม เป็นพระยาประชาชีพ ให้นายบุญจัน บ้านถลุงเหล็ก ข้าหลวงเดิม เป็นพระยากำแพง ให้พระยาอินทรอรรคราช ปลัดเก่าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระยาราชวังเมือง ให้พระยาเจ่งรามัญ เป็นพระยามหาโยธา ว่ากองมอญทั้งสิ้น ให้ขุนโลกทีปเป็นพระยาโหราธิบดี ให้กาไชยโยคเป็นขุนโลกทีป

ตรัสเอาหลวงพิเรนทร์ ซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมมา ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินงานพระราชสงครามหลายครั้ง เป็นพระยาท้ายน้ำ ตรัสเอาหลวงภักดีภูธรซึ่งมีความชอบเป็นนายทัพนายกอง ต้องศาสตราวุธข้าศึก เป็นพระยารามกำแหง ตรัสเอาหลวงภักดีสงครามซึ่งมีความชอบสวามิภักดิ์ โดยเสด็จพระราชดำเนินงานพระราชสงครามทุกครั้ง เป็นพระยาพิไชยรณฤทธิ์ ตรัสเอาหลวงสัจจา ซึ่งมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปงานพระราชสงคราม มิได้ย่อท้อแก่ข้าศึก เป็นพระยาวิชิตณรงค์ ตรัสเอาหลวงพิไชยณรงค์ ซึ่งเป็นคนสัตย์ซื่อสุจริตในพระองค์เป็นพระยาพิไชยสงคราม

ตรัสเอาหม่อมบุนนาค บุตรพระยาจ่าแสนยากรครั้งกรุงเก่า มิได้คิดเข้ามาทำราชการหายศบรรดาศักดิ์ พึ่งแต่พระเดชพระคุณให้ใช้สอย ได้ตามเสด็จไปการพระราชสงครามทุกครั้ง มีความชอบตั้งให้เป็นพระยาอุทัยธรรม ภายหลังได้เป็นที่สมุหพระกลาโหม ตรัสเอาหม่อมบุญมา บุตรพระยาจ่าแสนยากร พี่หม่อมบุนนาค แต่ต่างมารดาเป็นพระยาตะเกิง ภายหลังก็ได้เป็นที่สมุหพระกลาโหม

หลวงกลางเป็นคนสวามิภักดิ์ในพระองค์มาช้านานมีความชอบ ได้เป็นพระยาราชสงคราม ตรัสเอาขุนป้องพลขันธ์ เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี นายอยู่ ช่างทอง เป็นพระยาศรีไกรลาศ ตรัสเอาขุนกลาง ผู้มีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปงานพระราชสงคราม ต่อรบด้วยข้าศึกเป็นหลายครั้ง แล้วมีความสัตย์ซื่อมาก เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ ตรัสเอาขุนจุ้ยเป็นข้าหลวงเดิมมาช้านาน เป็นพระยาอนุชิตราชา ให้ขุนยกกระบัตร ซึ่งมีความชอบ ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปงานพระราชสงคราม เป็นพระยารักษมณเฑียร ให้หลวงอินทร์ เป็นพระยาเพ็ชรพิไชย ให้หมื่นชำนิ เป็นพระยาศรีสุริยพาห ให้พระราชประสิทธิ์ ชื่อกุน เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ภายหลังได้เป็นที่สมุหนายก ให้นายบุญจัน เป็นพระยาวิชิตภักดี จางวางพระคลังในซ้าย ให้หลวงพลเผ่นทะยาน เป็นพระยาพิพิธเดชะ ให้นายปานเสมียน เป็นพระเทพวรชุน ให้นายทองกอง เป็นพระสมบัติธิบาล ให้นายทองสุข เป็นพระเสนาภิมุข ให้นายทองดี เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ ภายหลังได้เป็นที่ธรรมา ให้หมื่นศรีเสนา เป็นจมื่นไวยวรนาถ ให้หลวงรามเป็นพระกำแหง ให้หมื่นไชยเสนี เป็นหลวงราชนิกูล ให้นายสาเสมียน เป็นพระราชรองเมือง ให้นายสุดใจ เป็นพระพิเรนทรเทพ ให้นายบุญเมือง เป็นพระมหาเทพ ให้หมื่นสนิท เป็นพระมหามนตรี ให้หลวงวัง เป็นพระจันทราทิตย์ ให้หลวงพิไชย เป็นพระยาจ่าแสน ให้ขุนสิทธิรักษ์ เป็นหลวงเทพสมบัติ ให้หมื่นสนิทเป็นหลวงราชวงศา ให้รองจ่าเป็นหลวงอินทรมนตรี ให้นายสุด เป็นหมื่นทิพยรักษา ให้นายส้ม เป็นหมื่นราชาบาล ให้นายมูลเป็นหมื่นราชามาตย์

ครั้นทรงตั้งขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรุงเสร็จแล้ว ทรงตั้งผู้มีความชอบออกไปเป็นพระยาพระหลวงครองหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงทุก ๆ เมือง ให้พระพิมายมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปการพระราชสงครามได้สู้รบแก่ข้าศึกหลายครั้ง และมีความสวามิภักดิ์ในพระองค์เป็นพระยานครราชสีมา ให้หลวงนรา ซึ่งมีความชอบเป็นคนสัตย์ซื่อและเข้มแข็งการสงคราม เป็นพระยาพิษณุโลก ให้พระวิเชียร เป็นพระยาสุโขทัย ให้หลวงพลพูน เป็นพระยาเพชรบุรี ให้หลวงพิทักษเสน่หา เป็นพระนนทบุรี ให้หลวงสิทธิสงคราม เป็นพระยาปราจีนบุรี ให้หลวงเมือง เป็นพระวิไชย ให้นายแสงเป็นพระยาสมุทรสงคราม ภายหลังได้เป็นที่สมุหพระกลาโหม ให้พระศรีสงครามเป็นพระพรหมบูรินทร์ ให้ขุนศรีภักดี เป็นพระอินทรบูรี ให้พระไชยบาดาล เป็นพระยาอ่างทอง ให้หลวงไชยณรงค์ เป็นพระนครสวรรค์ ให้ขุนวิเศษ เป็นพระชัยนาท ให้หมื่นวิเศษ เป็นพระกาญจนบุรี ให้หลวงณรงค์ เป็นพระอุทัยธานี ให้หลวงเทียม เป็นพระนครชัยศรี ให้ขุนแพ่ง เป็นพระไชยบาดาล ให้ขุนเทพอาญา เป็นพระเพชรบูรณ์ ให้หลวงปลัดเมืองพิมาย เป็นพระพิมาย ให้หลวงนาเป็นพระยาพิจิตร ให้ขุนด่าน เป็นพระสวรรคโลก ให้พระยาราชบุรี เลื่อนเป็นเจ้าพระยาราชบุรี ให้นายสังมีความสามิภักดิ์ในพระองค์ได้คุมพวกช่วยรบเจ้ารามลักษณ์ ด้วยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ เมื่อยังดำรงที่พระยาสุริยอภัยอยู่นั้นมีความชอบ ตั้งเป็นพระยาเทพสุดาวดี เจ้ากรม

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ