หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔

[๑]วันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๔๔ ฤกษ์ยกประตูซึ่งมีมณฑปพระราชวัง ๔ ด้านเป็นประตูด้านริมน้ำตะวันตก ๕ สะกัดเหนือ ๔ ตะวันออกใต้ ๔ ใต้ (รวม) ๑๗ ประตู

ประตูด้านริมน้ำ นับใต้ไปเหนือ

ประตูดิน ที่ ๑ กรมตำรวจใหญ่ซ้าย

พระพิเรนทรเทพทำ

อนงคลีลา ๑

 

ประตูฉนวน กรมตำรวจใหญ่ขวา

พระพิเรนทร (?อินทร) เทพ ที่ ๒

ยาตรากษัตรี ๑

ประตูที่ ๓ พระอินทราทิตย์

กรมสนมซ้ายทำ

ศรีสุนทรทวาร ๑

ประตูที่ ๔ กรมตำรวจนอกซ้าย

หลวงอินทรเดชะทำ

ไพศาลสมบัติ ๑

ประตูที่ ๕ กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง

พระพิพิธเดชะ

รัตนพิศาล ๑

ประตูด้านสะกัดเหนือน้ำ นับแต่ตะวันตกไปตะวันออก

ประตูมุมข้างเหนือที่ ๑ ทวารเทเวศร[๒]

ประตูถัดมาที่ ๒ วิเศษชัยศรี ๑

หลวงรักษมณเฑียร ข้าหลวงกรมพระราชวังบวรทำ

ประตูที่ ๓ มณีนพรัตน ๑

ประตูที่ ๔ สวัสดิโสภา ๑

หลวงบำเรอภักดิ์ ข้าหลวงกรมพระราชวังบวรทำ

ประตูด้านตะวันออก นับข้างเหนือลงไปใต้น้ำ

ประตูด้านตะวันออกที่ ๑ นับลงไปข้างใต้

พระรามพิชัย ล้อมวังซ้ายทำ

เทวาพิทักษ์ ๑

ประตูที่ ๒ ลงไป พระพิเดชสงคราม

ล้อมวังขวาทำ

ศักดิ์ชัยสิทธิ์ ๑

ประตูที่ ๓ ลงไป กรมอาสาวิเศษขวาทำ

พระเสนานนท์

วิจิตรบรรจง ๑

ประตูที่ ๔ ลงไป กรมสนมขวา

พระอินทราทิตย์ทำ

อลงการ์รัตน์[๓]

 

ประตูด้านสะกัดใต้น้ำ นับแต่ตะวันออกมาตะวันตก

ด้านใต้ที่ ๑ หมื่นอัคเนศร

หมื่นศรสำแดง เกณฑ์หัดทำ

สวัสดิสัญจร ๑

ประตูที่ ๒ หลวงสุริยภักดี

สนมซ้ายทำ

สุนทรทิศา

ประตูที่ ๓ ริมศรีสำราญ

หลวงพรหมบริรักษ์ สนมขวาทำ

เทวาภิรม[๔]

ประตูที่ ๔ กรมทหารในขวา

หมื่นจงใจรักษ์

อุดมสุรารักษ์

วันจันทร์แรม ๖ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศก เพลาเช้าโมง ๑ บาท ๑ ฤกษ์ยกประตูมีมณฑปพระราชวังชั้นใน ๓ ด้าน ด้านสะกัดเหนือ ๕ ตะวันออก ๒ ใต้ ๓ (รวม) ๑๐ ประตูในนี้

ประตูด้านสะกัดเหนือ นับตะวันตกไปตะวันออก

ประตูที่ ๓ เป็นสองชั้น

ชั้นนอก กรมกลาโหม ๑

สุบรรณบริบาล[๕]

ชั้นใน พระมหามนตรี ๑

ประตูที่ ๓ (?๒) เป็นสองชั้น

ชั้นนอก กรมมหาดไทย ๑

พิมานชัยศรี ๒

ชั้นใน พระมหาเทพ ๑

ประตูที่ ๓

 

หลวงภูเบนทรสิงหนาท

ดุสดีศาสดา[๖]

หลวงนเรนทรชาติสังหาร

ประตูด้านตะวันออก นับเหนือลงไปใต้

ขุนสุเรนทรวิชิต

ทำที่ ๑ อินทรลีลาศ (อินทรา?)

ขุนอภัยเสนา

หลวงราชโยธาเทพ

ที่ ๒ ราชสำราญ

ประตูด้านใต้ นับตะวันออกไปตะวันตก

พระราชวรินทร์

ที่ ๑ อีสาณทักษิณ[๗]

ชาวเครื่องพระอภิรมย์ราชยาน

ที่ ๒ วารินขณรา (?) ๑

ขุนภักดีอาษา

ที่ ๓ กัลยาวดี ๑

ขุนโยธาภักดี



[๑] สำเนาหมายรับสั่งฉบับนี้คัดมาจากสาส์นสมเด็จฉบับวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นสาส์นของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูล สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “เกล้ากระหม่อมพบร่างหมายรับสั่งเรื่องยกประตูพระราชวังสถาน อ่านใจคอรู้สึกอย่างไรทูลไม่ถูก แต่เป็นชิ้นเอกอุในทางโบราณคดีนั้นเป็นแน่ จึงคัดมาถวาย”

เรื่องประตูพระราชวังในรัชกาลที่ ๑ นี้หนังสือตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา ราชบัณฑิตยสภา รวบรวมเล่าไว้ว่า “ประตูพระราชวัง” เมื่อรัชกาลที่ ๑ นั้น ทำเป็นประตูยอดด้วยเครื่องไม้ ถึงรัชกาลที่ ๓ เห็นจะชำรุด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้รื้อทำใหม่ ทำเป็นประตูก่ออิฐถือปูน เปลี่ยนรูปทรงเป็นซุ้มฝรั่ง ตามแบบประตูพระราชวังหลวงที่พระนครศรีอยุธยา

อนึ่ง สถานที่สร้างพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรฯ นั้นมีหลักฐานขัดแย้งกัน คือ เอกสารบางฉบับว่า ครั้งสมัยกรุงธนบุรี ที่แปลงนี้เป็น บ้านพระยาราชาเศรษฐีจีน แต่บางฉบับเป็นบ้านพระยาราชาเศรษฐีญวน

ปัญหานี้พึงดูข้อเฉลย ที่ภาคผนวก เลขที่ ๒ เรื่องที่ดินแปลงที่สร้างพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล หน้า ๑๑๑

[๒] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า วิมานเทเวศร์

[๓] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า อนงคารักษ์

[๔] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า เทวาภิรมย์

[๕] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า สุวรรณบริบาล

[๖] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า ดุสิตศาสดา และสดุดีศาสดา

[๗] ทำเนียบนามภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เรียกว่า พิศาลทักษิณ

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ