วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ น

๒๔/๘๕

ตำหนักปลายเนิน คลองเตย

วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๕

กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท

กราบทูล

๑) ที่เขาว่าเรื่องเลขสากลลงหนังสือพิมพ์นั้น ได้ตรวจแล้ว คำประกาศที่เขาลงดูไม่รู้สึก “ซีเรียด” ว่าได้เปิดโอกาสให้ใช้เลขสากลแทนเลขไทยมา บัดนี้ปรากฏว่าใช้กันแพร่หลาย สมควรกำหนดให้ใช้เป็นประจำได้แล้ว จึงกำหนดลง ประกาศลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน

๒) รู้สึกตัวว่าเรานี้ลืมนั้นแก่กล้า เป็นบาทของความหลง ฝ่าพระบาทก็ตรัสทักว่าอายุเกือบ ๘๐ แล้ว แต่องค์สร้อยพูดปลอบใจดี ว่า “หลงแต่ไม่เลอะ” จัดว่าเป็น “พูด” ควรจะได้แต้ม

บรรเลง

๓) อ้ายซิบตายแล้วเมื่อวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน ที่ชายใหม่เอา “อ้ายหนู” (แล้วเลื่อนเป็น “คุณหนู”) ไปเลี้ยง ก็เพราะเป็นลูกอ้ายซิบ เธอชอบอ้ายซิบมาก

๔) ความจำของคนเรานี่ชอบกล ไม่ใช่จะจำไว้ได้แต่ที่ดี ที่เลวก็จำได้ต้องว่า “เสือก” จะถวายตัวอย่างที่อย่างเลว

“อิทํ รูปํ ปฏิปูเชติ ตสฺส ธมฺมุณหิสฺส ภิกฺขุโน
สีขเร เถโร จ นามสฺส มยฺหํ อาจาริยโกวโร
สิทฺธิลีลํ สิทฺธิวินยํ สิทฺธิลาโภ อริยมคฺคํ”

จำได้เท่านั้น

๕) พวกช่างนั้นเคยเขียนอะไรก็เขียนไปตามที่เคยเขียน ไม่คิดว่านั้นมีความหมาย เช่นรูป “อรุณ” ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นตราองค์อุรุพงษ์ และเจ้าของก็ไม่ได้ต้องการเลย

๖) ความคิดของคนเราก็เป็นไปต่างๆ กัน เช่นชื่อเซ็นย่อของเกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมถือเอาแต่ตัวหนังสือเป็นหลัก หางตัวสะกดจะยาวไปเท่าไรก็ชั่ง แต่ช่างลางคนเขาถือเอาหางตัวสะกดรวมเข้ากับตัวหนังสือด้วย ทำให้ให้ได้ผลผิดกันที่แบ่งสูญกลาง

๗) ทำหนังสือเวร ได้กราบทูลไว้ว่าจะให้เป็นวันพุธ แต่คราวนี้พลาดไปเพราะประมาทเท่านั้น ต่อไปตั้งใจจะให้เป็นวันพุธเสมอ

๘) พระคู่สวดถามว่า “มนุสฺโสสิ” มีคนว่าถามทำไม ก็เห็นอยู่แล้วข้อนั้นบ่งให้เห็นว่า ที่เรียก “มนุษย์” นั้นหมายความว่าเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้ผิดรู้ชอบแล้ว ไม่ใช่คนเฉย ๆ.

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ