- ปฐมบท
- คำอภิวันทนาการ (ในการพิมพ์ครั้งที่สาม)
- คำนำของผู้เขียน
- บทที่ ๑
- บทที่ ๒
- บทที่ ๓
- บทที่ ๔
- บทที่ ๕
- บทที่ ๖
- บทที่ ๗
- บทที่ ๘
- บทที่ ๙
- บทที่ ๑๐
- บทที่ ๑๑
- บทที่ ๑๒
- บทที่ ๑๓
- บทที่ ๑๔
- บทที่ ๑๕
- บทที่ ๑๖
- บทที่ ๑๗
- บทที่ ๑๘
- บทที่ ๑๙
- บทที่ ๒๐
- บทที่ ๒๑
- บทที่ ๒๒
- บทที่ ๒๓
- บทที่ ๒๔
- บทที่ ๒๕
- บทที่ ๒๖
- บทที่ ๒๗
- บทที่ ๒๘
- บทที่ ๒๙
- บทที่ ๓๐
- บทที่ ๓๑
- บทที่ ๓๒
- บทที่ ๓๓
- บทที่ ๓๔
คำนำของผู้เขียน
นักสังเกตความเป็นไปของโลกต้องเป็นผู้ที่ได้ผละออกมาห่างแล้วจากโลก งานอาชีพ งานสังคม ความแตกร้าว ความวิตก ความป่วยไข้ และความทุกข์อื่นได้เหนี่ยวน้าวจิตของผู้ข้องอยู่ในโลกมิให้มองเห็นสภาพการณ์ได้โดยทุกด้าน ปัจจุบันข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนท่าน แต่เมื่อถูกขังอยู่ในแดนหก ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ออกมาห่างแล้วจากโลก และบังเอิญมีระยะเวลาหนึ่งที่ทัศนะของข้าพเจ้าได้แจ่มกระจ่างขึ้น ซึ่งได้ช่วยให้เห็นถนัดว่าโลกกำลังเคลื่อนมาในวิถีที่ข้าพเจ้าชี้ไว้ใน “ความฝันของนักอุดมคติ” ความฝันเหล่านี้เดี๋ยวนี้กำลังกลายเป็นความจริงก็เพราะ UNESCO (องค์การศึกษาโลก) ได้ตั้งขึ้นสำเร็จแล้ว
ข้าพเจ้าเขียนเพื่อชี้แนวโลกอนาคตแก่นิสิตและคนหนุ่มทั่วไป แต่ข้าพเจ้ากลับได้รับความนิยมจากนักวรรณคดีและนักศึกษาอาวุโส อุปสรรคขวางหน้าระหว่างหนังสือนี้กับคนหนุ่มก็คือความรักชาติอย่างก้าวร้าว (Aggressive Patriotism) กับความแคบและสั้นของสายตาที่มองดูโลก สิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่นักศึกษาชั้นอาวุโสต้องร่วมมือแก้อุปสรรคเพื่อช่วยให้สยามได้เจริญเร็ว ตามนโยบายของ UNESCO พระสยามเทวาธิราชทรงฝากงานนี้ไว้แก่ผู้อ่านความฝันของนักอุดมคติทุกท่าน
นิมิตรมงคล