บันทึกเรื่อง การค้าในระหว่างสงคราม

สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายไทย กระทรวงการคลัง

๖ ธันวาคม ๒๔๘๓

ขอประทานเสนอ

(๑) ตามที่ได้มีประสงค์ให้รวบรวมสถิติขึ้น พิจารณาว่าการค้าได้รับความกระทบกระเทือนประการใดบ้างจากการมีสงครามนั้น บัดนี้ได้รวบรวมสถิติบางอย่างที่นับว่าเป็นสำคัญขึ้นแล้ว จึ่งขอประทานเสนอบัญชีสถิติต่าง ๆ รวม ๑๔ แผ่น กับบันทึกคำอธิบายสังเขป ๑ ฉบับ แนบมาท้ายนี้แล้ว

(๒) สถิติที่ได้เสนอมานี้แสดงให้เห็นถนัดว่าในระหว่างที่การอุตสาหกรรมเกี่ยวแก่การทำสงครามในเมืองต่างประเทศกำลังดำเนินไปเต็มกำลัง ประเทศไทยที่เป็นผู้ค้าวัตถุดิบก็ได้รับผลดีเป็นอันมาก.

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

(ลงพระนาม) วิวัฒน

----------------------------

(๑) การค้าของประเทศที่ผลิตวัตถุดิบโดยปกติ มีความเป็นไปดั่งต่อไปนี้ คือ เมื่อการผลิตและการค้าในประเทศอุตสาหกรรมตกอับ สินค้าขาออกของประเทศผลิตวัตถุดิบจะมีราคาตกต่ำและปริมาณอาจลดลง แต่ส่วนราคาสิ่งหัตถกรรมที่นำเข้ามาจะลดต่ำลงไม่เท่าทันกัน และในทางตรงข้าม เมื่อการผลิตและการค้าในประเทศอุตสาหกรรมรุ่งเรือง ประเทศผลิตวัตถุดิบจะขายสินค้าได้ราคาดีขึ้น และแม้สิ่งหัตถกรรมที่นำเข้ามาจะมีราคาเพิ่มขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นไม่เท่าทันราคาสินค้าขาออก

ในเวลานี้การอุตสาหกรรมเกี่ยวแก่การทำสงครามกำลังดำเนินไปเต็มกำลัง ประเทศผลิตวัตถุดิบก็น่าจะได้รับผลดีคล้ายกับเวลาที่การผลิตและการค้าของประเทศอุตสาหกรรมกำลังรุ่งเรือง ต่อไปนี้จึ่งจะพิเคราะห์สถิติการค้าของประเทศไทย ว่าได้เป็นไปตามทฤษฎีนี้เพียงไร

(๒) สินค้าขาออก

(ก) ข้าวมีราคาตกต่ำเป็นลำดับมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ จนถึงเวลาที่เกิดสงครามขึ้น ต่อจากนั้นมาราคากลับเพิ่มขึ้นรวดเร็ว

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท
๒๔๘๐ ๔.๑๐
๒๔๘๑ ๓.๗๖
๒๔๘๒ เมษายน – มิถุนายน ๓.๒๖
๒๔๘๒ กรกฎาคม – กันยายน ๓.๒๖
๒๔๘๒ ตุลาคม – ธันวาคม ๓.๕๕
๒๔๘๒ มกราคม – มีนาคม ๔.๑๓
๒๔๘๓ เมษายน – มิถุนายน ๔.๑๗

อนึ่ง เมื่อเทียบราคาในระวาง ๓ เดือนต้นของ พ.ศ. ๒๔๘๓ กับของ พ.ศ. ๒๔๘๒ ราคาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๘ ส่วนปริมาณที่จำหน่ายใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็สูงกว่าปีก่อน ๆ เว้นไว้แต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งเป็นปีสูงสุด รายละเอียดแจ้งใน ใบแนบ ๑ และ ๒

(ข) ยางราคาตกต่ำเป็นลำดับมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ แต่เมื่อใกล้จะเกิดสงครามได้กลับเพิ่มขึ้น และเมื่อเกิดสงครามแล้วได้เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นลำดับ

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม บาท
๒๔๗๙ ๐.๖๑
๒๔๘๐ ๐.๖๐
๒๔๘๑ ๐.๕๓
๒๔๘๒ เมษายน – มิถุนายน ๐.๖๒
๒๔๘๒ กรกฎาคม – กันยายน ๐.๖๓
๒๔๘๒ ตุลาคม – ธันวาคม ๐.๗๖
๒๔๘๒ มกราคม – มีนาคม ๐.๘๖
๒๔๘๓ เมษายน – มิถุนายน ๐.๙๑

อนึ่ง ถ้าเทียบราคาใน ๓ เดือนต้นของ พ.ศ. ๒๔๘๓ กับของ พ.ศ. ๒๔๘๒ราคาได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๔๗ ส่วนปริมาณที่จำหน่ายใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็สูงกว่าปีก่อน ๆ เว้นไว้แต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ รายละเอียดแจ้งใน ใบแบบ ๓ และ ๔

(ค) ดีบุกราคาลดต่ำลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ แต่กลับเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้จะเกิดสงคราม เมื่อเกิดสงครามแล้วได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับมา

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท
๒๔๘๐ ๑๐๑.๙๖
๒๔๘๑ ๙๐.๘๐
๒๔๘๒ เมษายน – มิถุนายน ๑๐๑.๗๓
๒๔๘๒ กรกฎาคม – กันยายน ๑๐๔.๔๗
๒๔๘๒ ตุลาคม – ธันวาคม ๑๐๙.๖๐
๒๔๘๒ มกราคม – มีนาคม ๑๐๒.๖๙
๒๔๘๓ เมษายน – มิถุนายน ๑๑๘.๕๖

อนึ่ง ถ้าเทียบราคาใน ๓ เดือนต้นของ พ.ศ. ๒๔๘๓ กับของ พ.ศ. ๒๔๘๒ สูงกว่าในปีก่อน ๆ ถอยหลังไปหลายปี รายละเอียดแจ้งใน ใบแนบ ๕ และ ๖

(๓) ตลาดสินค้าขาออก

(ก) ข้าว ในรอบ ๑๒ เดือนแรกแห่งสงคราม (กันยายน ๒๔๘๒-สิงหาคม ๒๔๘๓) การซื้อข้าวไทยปรากฏดั่งนี้

๑. จักรภพอังกฤษซื้อเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกไม่น้อย

๒. จีนและญี่ปุ่นซื้อเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน (แต่สำหรับญี่ปุ่นน่าจะลดลงในไม่ช้า เพราะต่อไปคงซื้อข้าวอินโดจีนมาก)

๓. เยอรมันนีไม่ได้ซื้อเลย และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่ถูกเยอรมันยึดก็เลิกซื้อตั้งแต่เมื่อถูกยึดแล้ว

๔. ประเทศอื่น ๆ นับว่าไม่มีเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดแจ้งใน ใบแนบ ๗ และ ๘

(ข) ยางและดีบุก ส่งไปจักรภพอังกฤษตามเดิม ไม่มีเปลี่ยนแปลง

จึ่งเป็นอันว่าจักรภพอังกฤษเป็นลูกค้าดีที่สุดของไทยอยู่ตามเดิม ทั้งข้าวที่เคยขายไปยุโรปและบัดนี้ขายไปไม่ได้นั้นจักรภพอังกฤษก็ได้ซื้อไว้เป็นส่วนมาก

(๔) สินค้าขาเข้า

ราคาถัวเฉลี่ยแห่งของที่นำเข้า (เฉพาะประเภทที่มีสถิติทั้งราคาและปริมาณ) เพิ่มสูงขึ้นบ้างตั้งแต่เกิดสงครามแล้ว

ระยะเวลา ราคาถั่วเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม บาท
๒๔๘๒ เมษายน – มิถุนายน ๐.๒๔
๒๔๘๒ กรกฎาคม – กันยายน ๐.๒๑
๒๔๘๒ ตุลาคม – ธันวาคม ๐.๒๘
๒๔๘๒ มกราคม – มีนาคม ๐.๓๓
๒๔๘๓ เมษายน – มิถุนายน ๐.๓๗

แต่ปริมาณแห่งของที่นำเข้าได้ลดลง ราคาสินค้าขาเข้าทั้งสิ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จึ่งไล่เลี่ยกันกับใน พ.ศ. ๒๔๘๑ หรืออีกนัยหนึ่งเหตุการณ์ได้เป็นไปตามทฤษฎี คือสินค้าขาเข้ามีราคาเพิ่มขึ้นไม่เท่าทันราคาสินค้าขาออก รายละเอียดแจ้งใน ใบแบบ ๙ และ ๑๐

(๕) ที่มาแห่งสินค้าขาเข้า

ในรอบ ๑๒ เดือนแรกแห่งสงคราม (ตุลาคม ๒๔๘๒--กันยายน ๒๔๘๓) มีสินค้าเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ ดั่งต่อไปนี้

๑. ราคาสินค้าเข้ามาจากจักรภพอังกฤษ นับว่าไม่มีเปลี่ยนแปลง

๒. ราคาสินค้าเข้ามาจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นบ้าง

๓. สินค้าเยอรมันหมดสิ้นไป

๔. ราคาสินค้าเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมาก

เวลานี้จักรภพอังกฤษยังคงขายสินค้าให้ประเทศไทยมากที่สุดตามเดิม และสหรัฐอเมริกาเลื่อนขึ้นเป็นที่สองรองลงมา รายละเอียดแจ้งใน ใบแนบ ๑๑ และ ๑๒

(๖) เพราะสินค้าขาออกทั้งสิ้นมีราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว และเพราะสินค้าขาเข้ามีราคารวมทั้งสิ้นเท่า ๆ เดิม ดุลย์แห่งการค้าใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าในปีก่อน ๆ หลายจำนวนปี

พ.ศ. ดุลย์แห่งการค้า บาท
๒๔๗๗ + ๗๐,๘๖๘,๑๔๙
๒๔๗๘ + ๔๙,๔๖๔,๒๗๖
๒๔๗๙ + ๗๔,๓๑๗,๕๐๕
๒๔๘๐ + ๕๗,๖๖๘,๓๒๓
๒๔๘๑ + ๔๗,๑๒๙,๘๐๓
๒๔๘๒ + ๘๕,๔๐๔,๓๖๓
๒๔๘๓ เมษายน-มิถุนายน + ๒๕,๒๒๑,๗๗๓

รายละเอียดแจ้งใน ใบแนบ ๑๐

อนึ่ง เมื่อสินค้าขาออกมีราคาสูงกว่าขาเข้ามากเช่นนี้ การรักษาค่าแห่งเงินบาทให้ยืนที่ก็ไม่มีความยากลำยาก คลังได้รับปอนด์ไว้เป็นจำนวนมากแลกเปลี่ยนกับธนบัตร (ใบแบบ ๑๓) ธนบัตรที่ออกจำหน่ายเวลานี้มีราคาสูงกว่าในเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น (ใบแนบ ๑๔)

(๗) สรุปความ

สถิติในใบแนบต่างๆ ท้ายนี้ แสดงว่า

(ก) ตั้งแต่เกิดสงครามแล้วถึงบัดนี้ สินค้าขาออกขายได้ราคาดีขึ้นมาก ปริมาณที่ส่งออกก็สูง ราคาสินค้าขาเข้าเพิ่มสูงขึ้นไม่เท่าทันกัน ประเทศไทยได้รับผลดีเนื่องจากที่ได้เกิดสงครามขึ้น แต่เมื่อเหตุการณ์ได้เป็นไปแล้ว ตามทฤษฎีที่กล่าวในข้อ (๑) จึงชวนให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสงครามแล้ว และระหว่างเวลาที่การอุตสาหกรรมเกี่ยวแก่สงครามกำลังต้องแปลงรูป เหตุการณ์ก็คงเป็นไปตามทฤษฎีที่กล่าวเหมือนกัน คือ จะเกิดความยุ่งยากในทางเศรษฐกิจเนื่องจากราคาสินค้าจะตกต่ำ

(ข) ราคาสินค้าเข้าออกและราคาธนบัตรออกจำหน่ายเป็นปรอทอันหนึ่งสำหรับวัดความสมบูรณ์ของประชาชน สินค้าเข้าออกในเวลานี้มีราคาสูงกว่าในปีที่แล้ว ๆ มาหลายปี ธนบัตรออกจำหน่ายมีราคาสูงกว่าในปีใดทั้งสิ้น เชื่อได้ว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ราษฎรมั่งคั่งสมบูรณ์มาก

(ค) จักรภพอังกฤษยังเป็นลูกค้าดีที่สุดของไทยตามเดิม ในระหว่างสงครามนี้ยังได้ซื้อข้าวเพิ่มมากขึ้นอีก จึงเป็นพยานว่าที่กระทรวงการคลังได้คงผูกโยงเงินบาทไว้กับสเตอร์ลิงก์ตามเดิมนั้น เป็นนโยบายที่ถูกต้องแล้ว เพราะเมื่อเงินบาทมีค่ายืนที่เทียบกับสเตอร์ลิงก์ การส่งสินค้าออกไปจำหน่ายก็ย่อมได้อาศัยหลักที่มั่นคง จึงได้ดำเนินไปได้โดยสะดวกเป็นผลดี.

สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายไทย กระทรวงการคลัง

๖ ธันวาคม ๒๔๘๓

----------------------------

บัญชีสถิติ

ใบแนบ รายการ
๑. ปริมาณและราคาข้าวที่ส่งออก (รายปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒)
๒. ปริมาณและราคาข้าวที่ส่งออก (ราย ๓ เดือน พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๓)
๓. ปริมาณและราคายางที่ส่งออก (รายปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒)
๔. ปริมาณและราคายางที่ส่งออก (ราย ๓ เดือน พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๓)
๕. ปริมาณและราคาดีบุกที่ส่งออก (รายปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒)
๖. ปริมาณและราคาดีบุกที่ส่งออก (ราย ๓ เดือน พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๓)
๗. ปริมาณข้าวส่งไปประเทศต่าง ๆ บางประเทศ
๘. เทียบปริมาณข้าวที่ส่งไปประเทศต่าง ๆ บางประเทศ
๙. ปริมาณราคาและราคาถัวเฉลี่ยแห่งสินค้าขาเข้าบางประเภท
๑๐. ราคาสินค้าขาเข้า ขาออก และดุลย์แห่งการค้า
๑๑. ราคาสินค้าขาเข้าจากประเทศต่าง ๆ
๑๒. เทียบราคาสินค้าขาเข้าจากประเทศต่าง ๆ
๑๓. การรับและจ่ายปอนด์สเตอร์ลิงก์
๑๔. ราคาธนบัตรออกจำหน่าย

----------------------------

ใบแนบ 1

ปริมาณและราคาข้าวที่ส่งออก

พ.ศ. ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ
  หาบ บาท บาท
2477 33,701,125 98,437,397 2.92
2478 25,029,766 90,835,622 3.63
2479 25,978,445 95,944,444 3.69
2480 18,370,251 75,342,512 4.10
2481 25,913,981 97,419,341 3.76
2482 31,499,125 111,572,926 3.54

เทียบราคาข้าวถัวเฉลี่ยทุกปี พ.ศ. 2477 = 100

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท รายการเทียบ
2477 2.92 100
2478 3.63 124
2479 3.69 126
2480 4.10 140
2481 3.76 129
2482 3.54 121
2483 เม.ย. - มิ.ย. 4.17 143

----------------------------

ใบแนบ 2

ปริมาณและราคาข้าวที่ส่งออก

เดือน พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ
หาบ บาท บาท หาบ บาท บาท
เม.ย. - มิ.ย. 8,241,761 26,860,226 3.26 7,539,065 31,406,742 4.17
ก.ค. - ก.ย. 7,392,973 24,083,047 3.26 8,102,775 36,810,820 4.54
ต.ค. - ธ.ค. 8,382,021 29,763,292 3.55 5,030,689 30,306,210 6.02
ม.ค. - มี.ค. 7,482,370 30,866,361 4.13      
รวม 31,499,125 111,572,926 3.54      

เทียบราคาข้าวถัวเฉลี่ยทุกระยะ 3 เดือน

ระยะเวลา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท รายการเทียบ
เม.ย. - มิ.ย. 2482 3.26 100
ก.ค. - ก.ย. 2482 3.26 100
ต.ค. - ธ.ค. 2482 3.55 109
ม.ค. - มี.ค. 2482 4.13 127
เม.ย. - มิ.ย. 2483 4.17 128
ก.ค. - ก.ย. 2483 4.54 139
ต.ค. - ธ.ค. 2483 6.02 185
ม.ค. - มี.ค. 2483    

----------------------------

ใบแนบ 3

ปริมาณและราคายางที่ส่งออก

พ.ศ. ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม
  กิโลกรัม บาท บาท
2477 23,203,416 9,305,834 0.40
2478 31,224,346 13,218,945 0.42
2479 38.307,952 23,512,844 0.61
2480 37,796,303 22,660,408 0.60
2481 47,394,658 25,123,109 0.53
2482 41,592,666 30,070,203 0.72

เทียบราคายางถัวเฉลี่ยทุกปี พ.ศ. 2477 = 100

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม บาท รายการเทียบ
2477 0.40 100
2478 0.42 105
2479 0.61 152
2480 0.60 150
2481 0.53 132
2482 0.72 180
2483 เม.ย.-มิ.ย. 0.91 227

----------------------------

ใบแนบ 4

ปริมาณและราคายางที่ส่งออก

เดือน พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
  ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม
  กิโลกรัม บาท บาท กิโลกรัม บาท บาท
เม.ย. - มิ.ย. 7,362,792 4,549,546 0.62 6,664,445 6,066,156 0.91
ก.ค. - ก.ย. 15,210,961 9,605,357 0.63 12,190,121 10,529,682 0.86
ต.ค. - ธ.ค. 5,233,054 3,989,243 0.76 10,981,911 9,760,362 0.89
ม.ค. - มี.ค. 13,785,859 11,926,057 0.86      
รวม 41,592,666 30,070,203 0.72      

เทียบราคายางถัวเฉลี่ยทุกระยะ 3 เดือน

ระยะเวลา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม บาท รายการเทียบ
เม.ย. - มิ.ย. 2482 0.62 100
ก.ค. - ก.ย. 2482 0.63 102
ต.ค. - ธ.ค. 2482 0.76 123
ม.ค. - มี.ค. 2482 0.86 139
เม.ย. - มิ.ย. 2483 0.91 147
ก.ค. - ก.ย. 2483 0.86 139
ต.ค. - ธ.ค. 2483 0.89 144
ม.ค. -มี.ค. 2483    

----------------------------

ใบแนบ 5

ปริมาณและราคาดีบุกที่ส่งออก

พ.ศ. ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ
  หาบ บาท บาท
2477 255,246 26,346,610 103.22
2478 237,578 23,375,205 98.39
2479 307,683 29,809,389 96.88
2480 368,083 37,528,223 101.96
2481 339,362 30,813,762 90.80
2482 383,433 41,331,321 107.79

เทียบราคาดีบุกถัวเฉลี่ยทุกปี พ.ศ. 2477 = 100

พ.ศ. ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท รายการเทียบ
2477 103.22 100
2478 98.39 95
2479 96.88 94
2480 101.96 99
2481 90.80 88
2482 107.79 104
2483 เม.ย.-มิ.ย. 118.56 115

----------------------------

ใบแนบ 6

ปริมาณและราคาดีบุกที่ส่งออก

เดือน พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ
  กิโลกรัม บาท บาท กิโลกรัม บาท บาท
เม.ย. - มิ.ย. 55,547.53 5,650,883 101.73 100,313.08 11,893,183 118.56
ก.ค. - ก.ย. 108,828.03 11,369,676 104.47 89,930.83 10,837,271 120.51
ต.ค. - ธ.ค. 121,813.18 13,350,976 109.60 117,782.60 14,676,441 124.61
ม.ค. - มี.ค. 97,254.28 10,959,834 112.69      
รวม 383,443.02 41,331,369 107.79      

เทียบราคาดีบุกถัวเฉลี่ยทุกระยะ 3 เดือน

ระยะเวลา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ หาบ บาท รายการเทียบ
เม.ย. - มิ.ย. 2482 101.73 100
ก.ค. - ก.ย. 2482 104.47 103
ต.ค. - ธ.ค. 2482 109.60 108
ม.ค. - มี.ค. 2482 112.69 111
เม.ย. - มิ.ย. 2483 118.56 117
ก.ค. - ก.ย. 2483 120.51 118
ต.ค. - ธ.ค. 2483 124.61 122
ม.ค. -มี.ค. 2483    

----------------------------

ใบแนบ 7

ปริมาณข้าวส่งไปประเทศต่าง ๆ บางประเทศ

ประเทศ 12 เดือนนับแต่กันยายน ถึง สิงหาคม หมายเหตุ
2480-81 2481-82 2482-83
  หาบ หาบ หาบ  
อังกฤษ 316,176 508,460 1,376,015  
รัฐมลายูอังกฤษ 487,558 832,402 796,989  
ลังกา 885,840 1,399,581 1,139,322  
ฮ่องกง 5,739,710 4,331,290 5,537,070  
อินเดีย 48,100 353,906 816,320  
ปีนัง 135,707 124,962 46,044  
สิงคโปร์ 10,499,704 11,627,103 11,699,722  
อาฟริกาใต้ 255,322 344,500 340,540  
ที่อื่น ๆ ในจักรภพ 101,371 158,198 145,348  
1. รวมจักรภพบริติช 18,469,488 19,680,402 21,897,370  
2. เบลเยี่ยม 506,705 749,432 432,420 ไม่มีข้าวส่งไปในเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนดส์อีก หลังจากที่เยอรมันนีเข้ายึดแล้ว
3. เยอรมันนี 322,120 1,752,467 -
4. เนเธอร์แลนดส์ 795,404 1,257,239 742,638
5. เนเธอร์แลนดส์อินดีส 200,252 349,103 265,583  
6. ญี่ปุ่น 496,267 391,335 4,304,031  
7. แมนจูเรีย 225,854 186,012 326,496  
8. จีน 65,272 183,680 1,546,706  
9. คิวบา 1,378,988 918,760 1,088,660  
10. เปรู 236,361 190,101 137,521  
11. เวเนซูเอลา 124,266 142,240 216,173  
12. โคลัมเบีย - - 49,629  
13. คอสตารีคา 8,467 - 8,467  
14. สหรัฐอเมริกา 3,558 11,751 18,270  
15. ฟิลิปปินส์ - 576,652 451,820  

----------------------------

ใบแนบ 8

เทียบปริมาณข้าวที่ส่งไปประเทศต่างๆ บางประเทศ

กันยายน 2480 - สิงหาคม 2481 = 100

ประเทศ 12 เดือนนับแต่กันยายน ถึง สิงหาคม หมายเหตุ
2480-81 2481-82 2482-83
อังกฤษ 100 161 435  
รัฐมลายูอังกฤษ 100 171 163  
ลังกา 100 158 129  
ฮ่องกง 100 75 96  
อินเดีย 100 736 1,697  
ปีนัง 100 92 34  
สิงคโปร์ 100 111 111  
อาฟริกาใต้ 100 135 133  
ที่อื่น ๆ ในจักรภพ 100 156 143  
1. รวมจักรภพบริติช 100 107 119  
2. เบลเยี่ยม 100 148 85 ไม่มีข้าวส่งไปในเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนดส์อีก หลังจากที่เยอรมันนีเข้ายึดแล้ว
3. เยอรมันนี 100 544 -
4. เนเธอร์แลนดส์ 100 158 93
5. เนเธอร์แลนดส์อินดีส 100 174 133  
6. ญี่ปุ่น 100 79 867  
7. แมนจูเรีย 100 82 145  
8. จีน 100 281 2,370  
9. คิวบา 100 67 79  
10. เปรู 100 80 58  
11. เวเนซูเอลา 100 114 174  
12. โคลัมเบีย - - -  
13. คอสตารีคา 100 - 100  
14. สหรัฐอเมริกา 100 330 513  
15. ฟิลิปปินส์ - - -  

----------------------------

ใบแนบ 9

ปริมาณ ราคา และราคาถัวเฉลี่ย แห่งสินค้าขาเข้าบางประเภท

เดือน พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
  ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม ปริมาณ ราคา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม
  กิโลกรัม บาท บาท กิโลกรัม บาท บาท
เม.ย. - มิ.ย. 62,385,720 14,916,873 0.24 42,860,641 15,940,980 0.37
ก.ค. - ก.ย. 66,884,827 14,326,318 0.21 59,139,547 16,588,253 0.30
ต.ค. - ธ.ค. 63,337,633 17,761,235 0.28      
ม.ค. - มี.ค. 59,063,130 19,586,368 0.33      
รวม 251,671,310 66,590,794 0.26      

หมายเหตุ สถิติของศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้าบางประเภทเก็บเป็นน้ำหนักหรือจำนวนหรือปริมาตร ฯลฯ และราคา แต่บางประเภทเก็บเป็นราคาแต่อย่างเดียว จึงไม่มีทางทราบปริมาณทั้งสิ้นแห่งสินค้าขาเข้า ตัวเลขในตารางข้างบนนี้แสดงปริมาณแห่งสินค้าขาเข้าเฉพาะบางประเภทที่มีสถิติเป็นน้ำหนักหรือเป็นจำนวนซึ่งคำนวณขึ้นเป็นน้ำหนักได้.

เทียบราคาและปริมาณถัวเฉลี่ย เมษายน-มิฤนายน 2482 = 100

ระยะเวลา ราคาถัวเฉลี่ยต่อ ๑ กิโลกรัม รายการเทียบ ปริมาณ รายการเทียบ
  บาท   กิโลกรัม    
เม.ย. - มิ.ย. 2482 0.24 100 62,385,720 100
ก.ค. - ก.ย. 2482 0.21 87 66,884,827 107
ต.ค. - ธ.ค. 2482 0.28 117 63,337,633 102
ม.ค. - มี.ค. 2482 0.33 137 59,063,130 95
เม.ย. - มิ.ย. 2483 0.37 154 42,860,641 69
ก.ค. - ก.ย. 2483 0.30 125 55,139,547 88

----------------------------

ใบแนบ 10

ราคาสินค้าขาเข้าขาออกและดุลย์แห่งการค้า

หมายเหตุ ราคาสินค้าขาออกใน ๒๔๘๑ ไม่รวมราคาเหรียญบาทที่รัฐบาลส่งออกไป

ราคาสินค้าขาเข้าใน ๒๔๘๒ ไม่รวมราคาทองคำที่รัฐบาลนำเข้ามา

พ.ศ. ราคาสินค้าขาเข้า ราคาสินค้าขาออก ดุลย์แห่งการค้า หมายเหตุ
  บาท บาท บาท  
2477 101,726,721 172,594,870 +70,868,149  
2478 108,754,047 158,218,323 +49,464,276  
2479 110,043,648 184,361,153 +74,317,505  
2480 111,824,481 169,492,804 +57,668,323  
2481 129,630,731 176,760,534 +47,129,803  
2482 129,619,582 215,023,945 +85,404,363  

ราคาสินค้าขาเข้าขาออกและดุลย์แห่งการค้า

หมายเหตุ ไม่รวมทองคำที่นำเข้ามาจากอังกฤษ

เดือน พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
  ราคาสินค้าขาเข้า ราคาสินค้าขาออก ดุลย์แห่งการค้า ราคาสินค้าขาเข้า ราคาสินค้าขาออก ดุลย์แห่งการค้า
  บาท บาท บาท บาท บาท บาท
เม.ย. - มิ.ย. 31,307,773 44,446,805 +13,139,032 34,656,116 59,877,889 +25,221,773
ก.ค. - ก.ย. 26,650,512 52,196,233 +25,545,721 40,877,979 66,519,181 +25,611,202
ต.ค. - ธ.ค. 30,474,432 56,205,453 +25,731,021 49,398,159 64,689,481 +15,291,322
ม.ค. - มี.ค. 41,186,865 62,175,454 +20,988,589      
รวม 129,619,582 215,023,945 +85,404,363      

หมายเหตุ พ.ศ. 2482 เป็นปีที่ดุลย์แห่งการค้าสูงกว่าในปีใด ๆ ทั้งสิ้น

----------------------------

ใบแนบ 11

ราคาสินค้าขาเข้าจากประเทศต่าง ๆ (เฉพาะท่ากรุงเทพฯ)

หมายเหตุ ไม่รวมทองคำที่นำเข้ามาจากอังกฤษ

ประเทศที่ส่งสินค้า พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2484
เมย.-มิย. ก.ค.-กย. ตค.-ธค. มค.-มี.ค. เมย.-มิย. ก.ค.-กย. ตค.-ธค. มค.-มีค.
  บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
เบลเยี่ยม 666,197 345,480 154,530 128,115 394,031 137,935 11,970 75,805
จีน 1,317,781 1,083,116 1,514,730 2,675,895 1,676,751 2,427,076 3,329,085 2,102,001
เยอรมันนี 2,456,766 2,902,927 753,370 29,590 18,958 9,419 6,216 14,388
ญี่ปุ่น และเกาหลี 3,778,484 3,823,568 4,344,714 6,356,686 6,675,589 6,274,393 7,800,133 10,399,564
เนเธอร์แลนด์และจักรภพ 2,162,990 1,526,773 3,953,016 2,422,530 2,087,680 1,621,666 2,042,324 995,676
อังกฤษและจักรภพบริติช 12,433,479 9,893,175 12,256,229 17,630,603 12,855,798 13,400,080 16,592,576 113,119,401
สหรัฐอเมริกา 1,608,230 1,341,273 2,078,294 5,323,929 3,922,344 10,609,662 13,709,642 7,725,271
ที่อื่น ๆ 2,915,421 2,619,790 2,300,438 2,925,546 2,520,927 1,552,182 1,483,107 1,053,789
รวมทั้งสิ้น 27,339,348 23,536,102 27,355,321 37,492,894 30,152,078 36,032,413 44,975,053 35,485,895

----------------------------

ใบแนบ 12

เทียบราคาสินค้าขาเข้าจากประเทศต่าง ๆ (เฉพาะทางกรุงเทพ ฯ)

ประเทศที่มาของสินค้า ราคาสินค้าขาเข้าเทียบเป็นส่วนร้อยของราคาสินค้าขาเข้าทั้งสิ้น
พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2483
เมย.-มิย. กค.-กย. ตค.-ธค. มค.-มีค. เมย.-มิย. กค.-กย. เมย.-มิย.
  ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
อังกฤษ 45 42 45 47 43 37
เยอรมันนี 9 12 3 0.08 0.06 0.02
ญี่ปุ่นและเกาหลี 14 16 16 17 22 17
สหรัฐอเมริกา 6 6 8 11 13 29
รวม 4 ประเทศ 74 76 72 78 78 83

----------------------------

ใบแนบ 13

คลังรับและจ่ายปอนด์สเตอร์ลิงก์

ระยะเวลา คลังรับจากธนาคาร คลังจ่ายให้ธนาคาร

+ รับมากกว่าจ่าย

- จ่ายมากกว่ารับ

หมายเหตุ
  ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์  
เม.ย. - มิ.ย. 2482 328,000 - + 328,000  
ก.ค. - ก.ย. 2482 827,000 - + 827,000  
ต.ค. - ธ.ค. 2482 295,000 - + 295,000  
ม.ค. - มิ.ย. 2482 1,425,000 - + 1,425,000  
เม.ย. - มิ.ย. 2483 1,445,000 - + 1,445,000  
ก.ค. - ก.ย. 2483 1,151,000 - + 1,151,000  
ต.ค. - ธ.ค. 2483 170,000 - + 170,000  
ม.ค. - มี.ค. 2483 330,000 - + 330,000  
รวม 5,971,000   + 5,971,000  

----------------------------

ใบแนบ 14

ราคาธนบัตรออกจำหน่าย

เดือน ปี ราคา รายการเทียบ
  บาท  
มีนาคม 2481 150,032,498 100
เมษายน 2482 151,132,498 101
มิถุนายน 2482 151,132,498 101
กันยายน 2482 163,232,498 109
ธันวาคม 2482 176,567,502 118
มีนาคม 2482 192,425,722 128
เมษายน 2483 192,425,722 128
มิถุนายน 2483 203,975,722 136
กันยายน 2483 223,775,722 149
ธันวาคม 2483 234,775,722 156
มีนาคม 2483 238,955,722 159

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ