ระบบเงินตรา

√√√ เมื่อพิจารณาจากแง่แห่งการภายในสังคม ระบบการเงินจะต้องทำหน้าที่ได้ถึงสามประการ คือ เงินนั้นจะต้องใช้เพื่อแสดงค่าแห่งของทั้งปวงได้ ประการที่สอง เงินจะต้องทำหน้าที่เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีลักษณะอันทำให้บุคคลยอมรับแลกเปลี่ยนกับของและบริการในการประกอบธุรกิจ และประการสุดท้าย จะต้องใช้เป็นคลังแห่งค่าได้ด้วย

⋆⋆⋆

√√√ ถ้าจะเพียงแต่ประกาศในราชกิจจา กำหนดว่าเท่านั้นๆบาทเท่ากับ ๑ ปอนด์ เสถียรภาพภายนอกจะเกิดขึ้นก็หาได้ไม่ การเสถียรกรณ์เงินตราหมายความว่า เจ้าหน้าที่เงินตราต้องพร้อมที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศที่เงินบาทผูกโยงอยู่ด้วย และต้องซื้อหรือขายทันทีเมื่อมีผู้เสนอขายหรือเสนอซื้อ สมมติว่าได้ตกลงจะดำรงค่าของเงินบาทให้อยู่ในอัตราเท่านั้นๆ บาทต่อ ๑ ปอนด์ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะต้องซื้อหรือขายปอนด์ในอัตราที่กล่าวนั้นทันทีเมื่อมีผู้เสนอขายหรือเสนอซื้อ การที่ต้องซื้อหรือขายทันทีเช่นนี้ก็นำไปสู่ปัญหาเรื่องทุนสำรอง เมื่อจะให้ธนาคารสามารถซื้อหรือขายสเตอร์ลิงก์ได้ทันทีในอัตราตายตัว ธนาคารก็จะต้องมีปัจจัยไว้สำหรับปฏิบัติการนั้น คือ จะต้องมีทุนสำรองเป็นปอนด์สเตอร์ลิงก์ และ/หรือ ทองคำ และทุนสำรองนั้นจะต้องพอเพียงแก่อุปสงค์ในปอนด์สเตอร์ลิงก์ด้วย เมื่อสิ่งอื่น ๆ คงที่อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง อุปสงค์ในปอนด์สเตอร์ลิงก์จะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ย่อมจะแล้วแต่ปริมาณของเงิน (เงินตราและเครดิต) ที่ออกใช้หมุนเวียนอยู่ เงินยิ่งมีมากทุนสำรองก็ยิ่งจะต้องมีมากเช่นกัน

⋆⋆⋆

√√√ ข้อแตกต่างในระหว่างระบบ พ.ศ. ๒๔๗๑ กับระบบชั่วคราวนั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่การใช้ทุนสำรอง กล่าวคือ ระบบ พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้นใช้ทุนสำรอง (ทองคำและเงินต่างประเทศ) เพื่อประโยชน์สองประการคือ [๑] เพื่อรักษาค่าของบาทให้ยืนที่เมื่อเทียบกับสเตอร์ลิงก์ และ [๒] เพื่อควบคุมการออกธนบัตรให้เป็นระเบียบดั่งนี้ แต่ระบบชั่วคราวนั้นใช้ทุนสำรองเพื่อประโยชน์แต่อย่างเดียว คือเพื่อควบคุมการออกธนบัตรให้เป็นระเบียบเท่านั้น

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ