ร่างพระราชบัญญัติการธนาคาร

ร่างพระราชบัญญัติการธนาคาร

ข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์

ข้อสังเกต

มาตรา

ข้อความ

๓๕

เมื่อรัฐมนตรีเห็นว่าในบรรดาธนาคารที่ประกอบธุรกิจอยู่ในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ มีธนาคารที่มีชื่อหรือคำแสดงชื่อคล้ายกันสองธนาคารหรือมากกว่า ก็ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ธนาคารที่ตั้งขึ้นหลัง จัดการเปลี่ยนชื่อหรือคำแสดงชื่อนั้นเสีย

๑. ธนาคารที่จะต้องเปลี่ยนชื่อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการพิมพ์เช็ค และกระดาษเขียนจดหมาย ฯลฯ ขึ้นใหม่

๑. มาตรานี้จะตัดทั้งเสีย คือปล่อยให้เลยตามเลยก็ได้ สุดแล้วแต่นโยบาย แต่ถ้าจะคงบัญญัติไว้ ก็ยังอาจผ่อนเวลาการเปลี่ยนชื่อให้ได้ เพื่อให้มีโอกาสได้ใช้เช็ค ฯลฯ ที่พิมพ์ไว้แล้วนั้นให้หมดไปเสียก่อน หรือในที่สุดจะไม่ผ่อนเวลาให้ก็เห็นว่าทำได้โดยไม่เสียหาย เพราะมีตัวอย่างที่เคยทำมาแล้ว เช่นเมื่อธนาคารสยามกัมมาจลเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์เป็นต้น

   

๒. ธนาคารที่ได้ตั้งมานานจนเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ไม่ควรจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ เพราะอาจเสียหายด้วยคนจะไม่รู้จัก

๒. ธนาคารที่อาจต้องเปลี่ยนชื่อนับว่าเป็นธนาคารใหม่ แม้จะต้องเปลี่ยนชื่อก็ไม่น่าเสียหาย ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารเก่ากว่ามาก มีการติดต่อไปถึงเมืองต่างประเทศด้วย ก็ได้เคยเปลี่ยนชื่อมาแล้ว

ธนาคารที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรจะต้องกันเงินไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบห้าต่อปีจากกำไรสุทธิ เพื่อตั้งเป็นเงินสำรอง และจะต้องไม่แจกกำไรแก่ผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล เงินรางวัล หรือเงินอื่นใด ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนสูงกว่าร้อยละสิบห้าของทุนที่ชำระแล้ว ทั้งนี้เว้นไว้แต่และจนกว่าเงินสำรองที่กล่าวจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบของทุนที่ชำระแล้ว

๑. บทบัญญัตินี้บังคับได้แต่เฉพาะธนาคารไทย ส่วนธนาคารที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมบังคับไม่ได้ ธนาคารไทยจึ่งจะเสียเปรียบธนาคารต่างประเทศ

๑. มาตรานี้บังคับแต่เฉพาะธนาคารไทยจริง แต่ต้องระลึกว่าเมืองต่างประเทศโดยมากก็มีกฎหมายบังคับธนาคารของเขาเหมือนกัน ธนาคารต่างประเทศที่มาตั้งสาขาในเมืองไทย ก็อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายประเทศของเขา ไม่ใช่ไม่มีอะไรบังคับเสียเลย

อนึ่งที่ว่าธนาคารไทยจะเสียเปรียบธนาคารต่างประเทศนั้น ย่อมเป็นความเข้าใจผิดโดยแท้ บทบัญญัติมาตรานี้เพียงแต่จำกัดผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นในธนาคารจะได้รับ มีได้จำกัดการหากินของธนาคารไทยให้ต้องเสียเปรียบธนาคารต่างประเทศ ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึงมีเพียงว่าจะควรหรือไม่ที่จะจำกัดผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น (ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย) ไว้ชั่วคราว เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นคนส่วนมาก

   

๒ การธนาคารเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง เมื่อธุรกิจอย่างอื่นๆ มิได้ถูกควบคุม ก็ไม่ควรควบคุมการธนาคาร อนึ่งขณะนี้ก็มีพระราชบัญญัติควบคุมเครดิตบังคับอยู่

๒. ธุรกิจอย่างอื่นมิได้ถูกควบคุมเช่นเดียวกับการธนาคารได้ถูกควบคุมเช่นเดียวกับการธนาคารนั้นถูกแล้ว ทั้งนี้เพราะธนาคารประกอบธุรกิจด้วยเงินของบุคคลอื่น แต่การประกอบธุรกิจอื่นๆ ใช้เงินของผู้ประกอบธุรกิจนั้นเอง

พระราชบัญญัติควบคุมเครดิตนั้นมีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากพระราชบัญญัตินี้ ทั้งเป็นกฎหมายซึ่งใช้เฉพาะในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น

 

   

๓. ธนาคารต่าง ๆ ย่อมมีทุนที่ชำระแล้วมากน้อยกว่ากัน ธนาคารใดมีทุนที่ชำระแล้วเป็นจำนวนน้อย ก็จะสะสมเงินสำรองได้ถึง ๖๐ % โดยเร็ว จึ่งจะได้เปรียบธนาคารที่มีทุนที่ชำระแล้วเป็นจำนวนมาก

๓. ข้อเสนอข้อนี้ก็เป็นความจริง แต่การได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เพราะเหตุที่มีทุนมากน้อยกว่ากันนั้นย่อมเป็นของธรรมดาและมีอยู่มากมายหลายทาง ไม่เห็นมีทางจะแก้ไขได้

๑๐

ให้ทุกธนาคารดำรงไว้ซึ่งเงินสดคงเหลือไม่ว่าในเวลาใดๆ เป็นจำนวนอย่างน้อยเท่ากับร้อยละยี่สิบห้าของเงินฝาก เงินสดคงเหลือที่กล่าวนี้ต้องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ที่เหลือจากนั้นต้องเป็นธนบัตรหรือบัตรธนาคารหรือเหรียญกษาปณ์

ขอให้แก้ถ้อยคำให้ชัดขึ้นว่า เงินที่ต้องฝากธนาคารแห่งประเทศไทยกึ่งหนึ่งนั้น หมายความว่ากึ่งหนึ่งนั้น หมายความว่ากึ่งหนึ่งของอะไร

 

เป็นเพียงปัญหาถ้อยคำ ควรพิจารณาเมื่อตรวจแก้ร่างในคณะกรรมการกฤษฎีกา

๑๑

ห้ามมิให้ธนาคารใดกระทำการต่อไปนี้

ไม่ควรห้ามการรับหุ้นของธนาคารเป็นประกัน เพราะหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ย่อมรับเป็นประกันได้แล้ว ไฉนจึ่งจะรับหุ้นของธนาคารซึ่งอาจมีฐานะดีกว่านั้นไม่ได้

บทบัญญัติข้อนี้มีอยู่ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๘๐ มิใช่เป็นบทบัญญัติขึ้นใหม่

 

 

(ช) รับหุ้นของธนาคารอื่นเป็นประกัน

 

การรับหุ้นของธนาคารใดเป็นประกันเงินให้กู้ยืมนั้นสมมติว่าหุ้นเหล่านั้นหลุดเป็นของธนาคารที่ให้กู้ยืมและหุ้นเหล่านั้นขายให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ ผลย่อมคล้ายกับการลดเงินทุนของธนาคารทั้งปวง คือลดเงินทุนของระบบการธนาคารทั้งอัน

 

(ซ) จ่ายเงินให้ลูกค้าคนใดคนหนึ่งกู้ยืมโดยทางตรงหรือทางอ้อม เป็นจำนวนสูงกว่าร้อยละสามสิบสามของทุนที่ชำระแล้วของธนาคาร เว้นไว้แต่จะมีพันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินคลังเป็นประกัน

บทบัญญัตินี้เป็นการจำกัดการหากินของธนาคารมากเกินไป ธนาคารซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วงเป็นจำนวนน้อยจะเสียเปรียบธนาคารซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วเป็นจำนวนมาก และโดยที่ธนาคารต่างประเทศมักมีทุนเป็นจำนวนมาก ธนาคารไทยจึงจะเสียเปรียบธนาคารต่างประเทศในการทำมาหากิน

ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จึ่งมีข้อเสนอดั่งต่อไปนี้

๑. ขอให้ตัดบทบัญญัตินี้ออกเลย

๒. หรือถ้าจะคงมีบทบัญญัตินี้ไว้ขอให้แก้ไขเพิ่มเติมดั่งต่อไปนี้

(ก) ขอเพิ่มเติมข้อยกเว้นขึ้นอีกประการหนึ่ง คือนอกจากพันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินคลัง ขอให้เพิ่มเติมเงินกู้ที่รัฐบาลรับประกัน

(ข) ขอให้ขยายหลักเกณฑ์ คือ แทนที่จะเอาทุนที่ชำระแล้วเป็นเกณฑ์อย่างเดียว ขอให้เอาทุนที่ชำระแล้วบวกกับเงินสำรองเป็นเกณฑ์

(ค) ขอให้ถือเกณฑ์อย่างอื่น เช่น เอาเงินฝากเป็นเกณฑ์แทนเงินทุนที่ชำระแล้ว

(ง) ขอให้จำแนกประเภทบุคคลที่กู้ยืม คือถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจึงให้อยู่ในบทบังคับข้อนี้ แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลกขอให้ได้ยกเว้นจากบทบังคับนี้

บทบัญญัตินี้เป็นการจำกัดการหากินของธนาคารจริง และอาจมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันจริงดั่งที่อ้าง ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึ่งมีว่า จะควรจำกัดการหากินของธนาคาร เพื่อประโยชน์ของผู้ฝากเงินและเพื่อระบบการธนาคารทั่วไปหรือไม่

ถ้าเห็นควรจำกัดประโยชน์ของคนส่วนน้อย (คือผู้ถือหุ้น) เพื่อประโยชน์ของคนส่วนมากแล้ว ก็ไม่ควรตัดบทบัญญัติข้อนี้ออก

ถ้าจะคงมีบทบัญญัตินี้ไว้ แต่จะแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเป็นทางหย่อนให้แก่ธนาคารบ้าง ก็เป็นทางที่อาจทำได้

๑๒

ห้ามมิให้ธนาคารใดจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าอัตราต่อไปนี้

(ก) เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ต้องไม่สูงกว่าอัตราซึ่งเมื่อเทียบกับอัตรามาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับช่วงซื้อลด ก็ต่ำกว่าอัตรามาตรฐานนั้นร้อยละสาม

(ข) เงินฝากซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาไม่เกินหกเดือน ต้องไม่สูงกว่าอัตราซึ่งเมื่อเทียบกับอัตรามาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับช่วงซื้อลด ก็ต่ำกว่าอัตรามาตรฐานนั้นร้อยละสองกึ่ง

(ค) เงินฝากซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน ต้องไม่สูงกว่าอัตราซึ่งเมื่อเทียบกับอัตรามาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับช่วงซื้อลด ก็ต่ำกว่าอัตรามาตรฐานนั้นร้อยละสอง

๑. ขอให้เขียนให้ชัดว่า หมายความเฉพาะเงินฝากของผู้เคยค้า (customer) ไม่หมายความถึงเงินพิเศษอย่างอื่นเช่น provident fund หรือเงินที่พนักงานของธนาคารเองฝาก

๑. ข้อนี้ถูกต้องแล้ว และเพราะเป็นเรื่องถ้อยคำ ควรพิจารณาในชั้นกรรมการกฤษฎีกา

   

๒. บางธนาคารเสนอว่าบทบัญญัตินี้มีความยืดหยุ่นน้อยไป ยกตัวอย่างเช่นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (มาตรา ๑๒ [ก]) จะคำนวณได้ดั่งต่อไปนี้ คือ อัตรามาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับช่วงซื้อลดขณะนี้ร้อยละ ๔ ต่อปี ฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทนี้ได้ไม่สูงกว่าร้อยละ ๑ ต่อปีเท่านั้น และตราบใดที่อัตรามาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เปลี่ยนแปลง ธนาคารพาณิชย์ก็จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทนี้เกินกว่าร้อยละ ๑ ต่อปีไม่ได้ ฉะนั้นบทบัญญัตินี้จึ่งขาดความยืดหยุ่นไป ควรให้ธนาคารพาณิชย์มีทางที่จะจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่านี้ได้บ้าง

๒. บทบัญญัตินี้ไม่มีข้อทักท้วงในหลักการ ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึ่งมีเพียงว่า

(ก) การจำกัดอัตราดอกเบี้ยนั้นจะจำกัดโดยวิธี (๑) จำกัดตามอัตรามาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ (๒) จำกัดโดยกฎกระทรวง

ข้าพเจ้าเห็นว่าการจำกัดด้วยกฎกระทรวงนั้น ย่อมไม่ตรงตามหลักการ เพราะอัตราของธนาคารกลางเท่านั้นที่ควรเป็นอัตราแม่บท แต่ส่วนที่ธนาคารต่างๆ ใคร่จะให้มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นอีกนั้นไม่น่าจะขัดข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างให้ได้

   

๓. เพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ดั่งกล่าวในข้อ ๒. ข้างบนนี้ บางธนาคารจึ่งเสนอว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

 

๑๓

ให้ทุกธนาคารประกาศรายการตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งฉบับ แสดงรายการย่อแห่งหนี้สินและสินทรัพย์ที่มีอยู่ ในวันทำงานวันสุดท้ายของเดือนหนึ่งๆ หรือในวันอื่นใดในเดือนหนึ่งๆ ตามแต่รัฐมนตรีจะได้ให้ความยินยอม การประกาศนั้นให้กระทำในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนรุ่งขึ้น

เมื่อได้ประกาศแล้วให้ทุกธนาคารเสนอประกาศที่ตัดจากหนังสือพิมพ์มายังรัฐมนตรีหนึ่งฉบับ

ถ้าต้องประกาศหนังสือพิมพ์ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ขอให้แก้เป็นว่า ให้ปิดประกาศเปิดเผย ณ ที่ทำการของธนาคาร

ค่าใช้จ่ายในการลงหนังสือพิมพ์ขณะนี้อยู่ข้างจะแพงบ้าง แต่ก็คงเป็นการชั่วคราวในระหว่างเวลาขาดแคลนกระดาษเท่านั้น การให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ย่อมเป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งจะช่วยทำให้ธนาคารประกอบธุรกิจด้วยความระมัดระวังบ้าง จึงยังไม่น่าจะทิ้งหลักการที่ให้ประกาศในหนังสือพิมพ์นั้นเสีย เพราะการประกาศก็เพียงเดือนละครั้งเท่านั้น

แต่ถ้าจะผ่อนผันให้ชั่วคราวระหว่างของแพงก็อาจทำได้โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติให้รัฐมนตรีผ่อนผันชั่วคราวได้

๑๖

ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้มีการตรวจสอบสมุดและบัญชีของธนาคารใดๆ ได้ไม่ว่าในวันใด เฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสำรวจการดำเนินงานของธนาคารโดยทั่วๆ ไป และเพื่อตีราคาสินทรัพย์ของธนาคาร

เพื่อความประสงค์แห่งมาตรานี้ รัฐมนตรีจะตั้งให้บุคคลใดๆเป็นผู้ทำการตรวจสอบก็ได้

๑. ขอให้เขียนให้ชัดว่าวันที่ที่จะมีการตรวจสอบนั้นต้องเป็นวันทำการ ไม่ใช่วันหยุด

๑. ถูกต้องแล้วแก้ไขให้ได้

   

๒. ขอแก้ถ้อยคำในวรรคท้ายที่ว่า “รัฐมนตรีจะตั้งให้บุคคลใดๆ เป็นผู้ทำการตรวจสอบก็ได้” นั้น เป็นว่า “ให้รัฐมนตรีตั้งผู้ทำการตรวจสอบได้”

๒. เป็นการแก้ถ้อยคำเท่านั้น ไม่ขัดข้อง

๑๗

เมื่อได้รับรายงานการตรวจสอบตามความในมาตรา ๑๖ แล้ว และรัฐมนตรีเห็นว่าฐานะหรือการดำเนินงานโดยทั่ว ๆ ไปของธนาคารอยู่ในลักษณะอันจะทำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชน รัฐมนตรีจะสั่งให้มีการประชุมวิสามัญเพื่อตั้งกรรมการใหม่ก็ได้ หรือจะเพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

ในกรณีที่มีการเพิกถอนการอนุญาต รัฐมนตรีจะใช้วิธีการที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๑ ถึงมาตรา ๒๗ ก็ได้

บทบัญญัติที่ให้รัฐมนตรีสั่งให้มีการประชุมวิสามัญเพื่อตั้งกรรมการใหม่นั้นขอตัดออก เพราะเห็นว่าเป็นการภายในของธนาคาร

ไม่ขัดข้อง

๒๖

ค่าใช้จ่ายโดยไม่เกินสมควรในการดำเนินการควบคุมและจัดการ ตลอดจนเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าบำเหน็จกรรมการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคนงาน ให้คิดจากสินทรัพย์ของธนาคารที่ถูกควบคุมนั้น

ขอให้มีการจำกัดจำนวนเงินที่ธนาคารจะต้องเสีย

จะจำกัดให้ตายตัวลงไปย่อมทำได้ยาก จึ่งได้จำกัดด้วยคำว่า “ไม่เกินสมควร” การตีความว่าอะไรสมควรนั้นก็จะต้องหาหลัก เช่นถ้าคิดค่าใช้จ่ายเพียงอัตราเท่าที่กองหมายกระทรวงยุติธรรมคิด ก็ควรถือว่าไม่เกินสมควร

ปัญหาจึ่งอยู่ที่ถ้อยคำที่จะใช้ ซึ่งควรพิจารณาในคณะกรรมการกฤษฎีกา.

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ